วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562
"เพื่อไทย" แถลงยื่น กกต. เอาผิดบอร์ดพลังประชารัฐ ถือหุ้นสื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่พรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค พร้อมด้วยนายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรค ร่วมแถลงกรณีการถือหุ้นสื่อของนายชาญวิทย์ วิภูศิริ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ
นายปลอดประสพ กล่าวว่า พรรคได้มอบหมายให้ตนไปร้องนายชาญวิทย์ทั้งในสถานะส่วนตัว และในฐานะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งการร้องเรียนนี้อาจทำให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ อีกทั้งการที่นายชาญวิทย์เป็นกรรมการบริหารพรรคนั้น อาจส่งผลต่อพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งตนจะยื่นร้องต่อกกต.ให้ดำเนินการเลือกตั้งใหม่ และให้กกต.พิจารณากรณีถือหุ้นสื่อหาก กกต.เห็นว่ามีความผิดจริง จะให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชารัฐ โดยตนได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายพรรคไปยื่นเรื่องต่อ กกต. ในวันที่ 1 พ.ค.เวลา 10.00 น.
ด้านนายชูศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีข้อพิสูจน์แล้วคือ 1.ขณะรับสมัครรับเลือกตั้งนั้นนายชาญวิทย์เป็นเจ้าของและถือหุ้นในบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสื่อทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และพ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 42 (3) ดังนั้น นายชาญวิทย์ถือเป็นบุคคลเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย และ 2.บุคคลใดที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารพรรค ซึ่งนายชาญวิทย์ในฐานะกรรมการบริหารพรรคจะต้องเซ็นรับรองด้วย แสดงว่ากรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น รับรู้ และส่งผู้สมัครโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ถือว่ากรรมการบริหารพรรคกระทำผิดกฎหมายเสียเอง ด้วยเหตุนี้กรรมการบริหารพรรคจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายด้วย
ดังนั้น หาก กกต.วินิจฉัยว่ามีความผิด กกต.มีอำนาจที่จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคได้ โดยระหว่างนั้น กกต.จะต้องเพิกถอนสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลนั้นเป็นการชั่วคราว และหากผู้สมัครมีโอกาสได้รับเลือกตั้ง หรือมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ต้องระงับการประกาศผลการเลือกตั้งและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่.
"สุดารัตน์" นำเพื่อไทย หารือสมาคมส่งเสริมมิตรภาพจีน
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
เมื่อวานนี้ (29 เม.ย.) หน่อยและคณะได้ให้การต้อนรับ ท่าน Chen Yuan นายกสมาคมส่งเสริมมิตรภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน และในฐานะประธาน Silk-Road Planning Research Center (SRPRC) พร้อมด้วยท่าน Xin Qi อุปนายกสมาคมฯ ซึ่งได้ให้เกียรติเดินทางมาเยี่ยมพรรคเพื่อไทย โดยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและปรึกษาหารือกันในหลายประเด็น
พรรคเพื่อไทย มีความสัมพันธ์กับสมาคมส่งเสริมมิตรภาพสาธารณรัฐประชาชนจีนมายาวนานเป็นเวลากว่า 17 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งพรรคไทยรักไทย โดยเฉพาะความสำคัญในการที่จะรักษาสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับจีน
ได้พูดถึงประเด็นโครงการเชื่อมต่อรถไฟระหว่างจีนกับไทยตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้วในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในประเทศไทย ที่ทางรัฐบาลจีนในขณะนั้นได้ให้คำแนะนำในการศึกษาปัญหา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนไทย ทั้งการวางระบบการขนส่ง และการวางระบบชลประทาน แต่น่าเสียดายว่าในเวลาต่อมา การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย ทำให้ไม่สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง จนเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมาเรายังต้องนำนโยบายเมื่อสมัย 10 กว่าปีที่แล้วมานำเสนอใหม่ เพราะปัญหายังไม่ได้ถูกแก้ไขใดๆเลย โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก
เมื่อปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ยังได้ชวนหน่อย ให้เดินทางไปเยือนสมาคมส่งเสริมมิตรภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ปักกิ่ง ตามคำเชิญของทางสมาคม ซึ่งได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและยืนยันที่จะให้ความร่วมมือต่อกันในหลายมิติ
ครั้งนั้นเราได้หารือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาครัฐและเอกชนของจีน หลังยอดนักท่องเที่ยวจีนลดลง เนื่องจากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ต และวิกฤติจากการแถลงข่าวของผู้นำบางคนในรัฐบาลนี้
หน่อยและคณะย้ำว่าเราจะมุ่งสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย และได้แสดงความตั้งใจที่จะยกเลิกวีซ่า สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน พร้อมทั้งจะเร่งขจัดอุปสรรคทุกทาง เพื่อดึงเม็ดเงินกระจายไปสู่พี่น้องในท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยวค่ะ
ขอบคุณสำหรับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ไทยและจีนจะเดินหน้าในความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองชาติอย่างเต็มที่ต่อไปค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562
"สุดารัตน์" เตือนประชาธิปไตยไทยต้องสง่างาม-ไม่ใช่ที่ชุบตัวเผด็จการ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24มีนาคม ที่ผ่านมา คือความหวังของคนไทยที่รักและเชื่อมั่น ในระบอบประชาธิปไตย
เป็นการเลือกตั้งที่คนไทยเกือบทั้งประเทศ รอคอยมานานร่วม 5 ปี
พวกเราตั้งความหวังไว้สูง ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะนำพา “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ที่ยั่งยืนกลับคืนสู่บ้านเมืองของเราได้
หลังการเลือกตั้ง เราคาดหวังจะมีรัฐบาลพลเรือน ผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นที่ยอมรับของคนไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ยอมรับต่อประชาคมโลก จึงทำให้เราอดทน ยอมอยู่ภายใต้การปกครองที่เราไม่ต้องการมานานเกือบ 5 ปี
บัดนี้การเลือกตั้งที่เรารอคอย ได้ผ่านพ้นไปกว่า 1เดือนแล้ว คนไทยทุกคนรับรู้และสัมผัสได้ ว่าความพึงพอใจในสิ่งที่เราอดทนรอคอยด้วยความหวังนั้น เราได้ความสุขคืนกลับมามากน้อยแค่ไหน..?
พล.อ.ประยุทธ์ คือผู้ที่ตัดสินใจกระทำรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ สถาปนาคสช.ขึ้นมาเป็นองค์กรหลัก แต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กำกับดูแลประเทศชาติให้เดินมาในทิศทางนี้ ได้เคยทบทวนในสิ่งที่ตัวเองกระทำ และประเมินหรือไม่ว่า ประชาชนไทยได้รับความสุขกลับคืนตามที่ คสช.เคยสัญญาไว้ คุ้มค่ากับที่รอคอยมา 5ปีหรือไม่?
การคืนความสุขให้กับคนไทย หัวหน้าคสช.ควรกระทำอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีร่องรอยของเจตนารมณ์อื่นแอบแฝงให้ผิดสังเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อครหาในเรื่อง “การสืบทอดอำนาจ”
หากพลเอกประยุทธ์ ไม่นำตัวเองลงมาเป็นคู่แข่งขัน หรือเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง และดำรงตนในสถานะคนกลางที่ยอมเสียสละ มีความจริงใจในการคืนประชาธิปไตย มีความเป็นกลางที่เที่ยงธรรมโดยไม่ยอมให้มี Conflict of Interest เกิดขึ้น ย่อมจะทำให้เงื่อนไขความไม่เข้าใจ รวมถึงข้อสงสัยในความไม่ชอบมาพากลต่างๆ ลดลงไปได้มาก
คงไม่มีการแข่งขันแบบ Fair Gameใดๆในโลก ที่การแข่งขันผ่านพ้นไปเดือนกว่าแล้ว รู้คะแนนกันหมดแล้ว แต่ก็ยังสรุปวิธีนับคะแนนไม่ได้ ทั้งคู่แข่งขัน-กองเชียร์-คนดู หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสิน ทุกฝ่ายล้วนมีความงง และสับสนในกติกาที่เขียนไว้อย่างสลับซับซ้อนด้วยกันทั้งสิ้น
โชคดีที่ในความสลับซับซ้อน ยังมีนักวิชาการและพรรคการเมืองหลายพรรค ที่ตีโจทย์วิธีการคำนวณได้แตก และตรงตามตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญ “ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” จึงสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความให้ยุ่งยาก ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้อง ว่าจะหยิบเอามาใช้หรือไม่?
หากจะเลือกวิธีอื่น ที่จะทำให้ขั้วในการจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนไป แต่ก็เสี่ยงกับการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประเด็นนี้ถือเป็น “ทาง 2 แพร่ง” ด่านสำคัญที่จะพิสูจน์ความ “เป็นกลาง” และจะกำหนดต้นทุนความเชื่อมั่นของสังคม ต่อองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
ด่านความเชื่อมั่นต่อไป ที่จะตามมาคือ สว.250คน ที่มีหน้าที่อันสำคัญยิ่ง คือการได้สิทธิ์ในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีถึง 2สมัย กลับมีกระบวนการคัดเลือกที่เป็นความลับสุดยอด ที่ประชาชนไทยทั้งประเทศรู้แค่เพียง คสช.เป็นผู้เลือกฯ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานคัดเลือก ส่วนคณะกรรมการฯ, กระบวนการคัดสรร, ตัวบุคคลที่เป็นแคนดิเดตและข้อมูลอื่น เป็นความลับที่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์รับทราบ
สิ่งที่เรารู้อีกอย่างเกี่ยวกับการเลือก ส.ว.ก็คือ มีการเบิกงบประมาณจากภาษีของประชาชนทุกคน ไปใช้เป็นเงินมากกว่า 1,300 ล้านบาท แต่ประชาชนกลับมีส่วนร่วมแค่เพียงคอยร่วมลุ้นว่า ส.ว.250 คนที่ได้รับการคัดเลือกแบบลับๆมา จะมีสัก1คนหรือไม่? ที่จะกล้าแสดงความคิดเห็นว่า ตนเองไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา..?
ประชาธิปไตยที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย ในสายตาของประชาคมโลกได้นั้น ต้องเป็นประชาธิปไตยอันสง่างาม ที่ทำให้ประชาชนไทยและคนชาติอื่นในโลก มีความเชื่อมั่นว่าอำนาจอธิปไตยที่ได้มานั้น มีที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง
หากกระบวนการต่างๆ ทั้งในเรื่องข้อกฎหมาย, การคัดสรร, กติกา, คณะกรรมการฯ และความชอบธรรมในการเลือกตั้ง ผิดเพี้ยนไปจากหลักการ ทำให้ประเทศไทยไม่ได้ประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับคืนมา
เท่ากับว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำให้ดูเหมือนมีการ “คืนความสุข” ให้ประชาชน และการที่ประชาชนออกไปหย่อนบัตรลงคะแนน เปรียบเสมือนการช่วยชุบตัวให้เผด็จการดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเท่านั้น
เห็นด้วยที่จะเดินหน้าประเทศไทย เห็นด้วยที่ประเทศไทยต้องไปต่อ แต่ขอไปต่อตาม “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โดยที่ไม่มีโซ่ตรวนแห่งการสืบทอดอำนาจเผด็จการแอบผูกล่ามเอาไว้
คนไทยทนรอคืนความสุขกันมา 5 ปี ขอโอกาสเพียงเท่านี้ พอจะมีสิทธิ์ได้มั้ยคะ..?
"อนุสรณ์" สอน "ประยุทธ์" ให้ขยันแก้ปัญหา อย่าขยันแต่สืบทอดอำนาจ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด คณะทำงานสื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อินเดีย อินโดนีเซีย จัดเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากกว่าไทยหลายเท่าตัว อินเดีย 800 ล้านคน อินโดนีเซีย 200 ล้านคน ใช้เวลาวันเดียวรู้ผลการเลือกตั้ง แต่ของไทยผ่านการเลือกตั้งมาเดือนกว่า ยังไม่เห็นหน้าตารัฐบาล วันนี้ทุกข์ของพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศหนักมาก ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาหนี้สินภาคเกษตร หนี้ครัวเรือนสูง รอว่าเมื่อไหร่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. จะมีมาตรการยกระดับราคาสินค้าเกษตร ตอนนี้รัฐบาลทำอะไรอยู่หรือมัวแต่คิดการเมืองวางแผนจะตั้งรัฐบาลทั้งที่พรรคตัวเองมาที่ 2 กลับคิดแต่จะแย่งจัดตั้งรัฐบาลจากพรรคอันดับ 1 อย่างพรรคเพื่อไทย ก่อนเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ขึงขัง ทำท่าเหมือนจะเอาจริงเอาจัง พอหลังเลือกตั้งเหมือนหนังคนละม้วน ต้นทุนภาระค่าครองชีพของประชาชนพุ่งสูงขึ้นมาก ขึ้นทุกอย่าง ตั้งแต่ค่ารถเมล์ ค่าเดินทาง ค่าไฟ หรือแม้แต่ราคาน้ำมันที่พุงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4 เดือน ทำให้ราคานำมันเบนซิน พุ่งขึ้นเกือบลิตรละ 5 บาท โรงเรียนก็กำลังจะเปิดเทอม รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องอย่างไร ตอนยังไม่เลือกตั้งออกนโยบายจะลดแลกแจกแถม พอหลังเลือกตั้งมาหักหลังประชาชนหรือถือเป็นการซ้ำเติมประชาชนหรือไม่ ให้ขยันแก้ปัญหา อย่ามัวขยันคิดแต่สืบทอดอำนาจ ประชาชนเบื่อหน่าย
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562
"เพื่อไทย" ยื่น กกต. สอบผู้สมัคร ส.ส.พลังประชารัฐ ขัดรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย.62 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายณรงค์ รุ่งธนวงศ์ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและสถิติ กองอำนวยการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากตรวจพบว่าผู้ถูกร้องเป็นเจ้าของและผู้ถือหุ้นบริษัทที่จดทะเบียนประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชน
การกระทำดังกล่าวจึงอาจขัดรัฐธรรมนูญ ม.98 (3) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 42 (3) ที่ห้ามไม่ให้บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จึงขอให้ กกต.ใช้อำนาจตรวจสอบและวินิจฉัย หากพบว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้าม ก็ขอให้ยกเลิกการเลือกตั้งในเขตดังกล่าว และสั่งให้ดําเนินการเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งให้ดำเนินคดีตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 151 ด้วย
นายณรงค์กล่าวต่อว่าทางพรรคเพื่อไทย กำลังสืบค้นข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบและวินิจฉัยลักษณะต้องห้ามหรือการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและผิดกฎหมาย โดยขณะนี้มีข้อมูลอยู่พอสมควร ซึ่งกำลังทยอยตรวจสอบและยื่นต่อ กกต.ต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562
‘สุดารัตน์’ ห่วงคนเป็นซึมเศร้า ปิ๊งไอเดียลดภาษีบริษัทสร้างเสริมสุขภาพจิต
อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแนะภาครัฐเพิ่มบุคลากรด้านจิตวิทยาในทุกองค์กร ปรับมุมมองให้คนทั่วไปเข้าถึงนักจิตวิทยาได้ง่ายขึ้น ปิ๊งไอเดีย ลดภาษีบริษัทที่มีกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพจิต ใช้ Big Data วิเคราะห์พฤติกรรมป้องกันอาการซึมเศร้า
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ร่วมงานเสวนา ‘อยู่อย่างไรในโลกซึมเศร้า How to live in Depression Wolrd’ กล่าวว่า สมัยก่อนที่ตนทำงานกระทรวงสาธารณสุข คนส่วนใหญ่อายที่จะบอกว่าเป็นโรคทางจิตเวช หรือคนรอบข้างที่ไม่ได้เป็นก็จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของคนที่จิตใจอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง หรือบอกให้ปลงไปตามความเชื่อศาสนาพุทธ ทั้งที่ความจิตแล้วอาการป่วยแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา เคยมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้แล้วสุดท้ายลองเปิดใจรักษาพบแพทย์และกินยา ก็ทำให้อาการดีขึ้น ทำให้คนในครอบครัวเข้าใจโรคนี้และเปิดใจในการรักษาโรคทางจิตเวชมากขึ้น ทั้งนี้ตนมองว่าแนวทางป้องกันคือ ภาครัฐต้องทำงานเชิงรุก เนื่องจากครอบครัวในทุกวันนี้เริ่มสื่อสารกันน้อยลง ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ชีวิตลำบากมากขึ้นต้องทำมาหากิน เวลาในการสื่อสารกับคนในครอบครัวก็น้อยลง รัฐจึงต้องเปลี่ยนทัศนคติในสังคม เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้คนไม่รู้สึกตัวการรับคำปรึกษาทางจิตเวช เช่น ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย หรือในที่ทำงาน ต้องมีกิจกรรมที่ให้คำปรึกษาในเรื่องของจิต เป็นเหมือนทำกิจกรรมให้เด็กได้ค้นหาปมในหัวใจ ไม่รู้สึกหวาดกลัวหรือเป็นเรื่องน่าอาย และมีการเผยแพร่ในช่องทางของโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าไปสู่โซนอันตรายทางจิตเวช และถ้าทุกคนสุขภาพจิตดี คิดบวก สังคมก็จะน่าอยู่ สร้างผลิตผลและผลิตภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า เด็กอายุต่ำว่า 18 ปีควรมีสิทธิที่จะเข้าพบแพทย์ได้ด้วยตัวเอง แต่เรื่องของการแจ้งผลการรักษาจะต้องให้ครอบครัวมาด้วยเพื่อเตรียมรับมือกับการรักษาหรือตัดสินใจเข้ารับการรักษา ขณะที่สาขาวิชาจิตวิทยาควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากขึ้น ให้เด็กสนใจเพื่อเข้ามาเรียนเพื่อเพิ่มบุคลากรไปอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น เมื่อมีบุคลากรมากขึ้นจะยิ่งช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็จะลดลง และลดภาระของแพทย์ในการรักษาคนไข้อีกด้วย นอกจากนี้อาจมีการเพิ่มคอสอบรมอาจารย์แนะแนว หรือฝ่ายบุคคลในบริษัทให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถให้คำปรึกษาได้ อาจจะเป็นรูปแบบที่รัฐจะลดภาษีหรือสนับสนุนบริษัทที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพจิต
ขณะที่คุณหญิงสุดารัตน์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เทคโนโลยีทำให้เรารู้ทุกอย่าง แต่เราอยู่กับหน้าจอนานๆ สื่อสารกับมนุษย์น้อยลง จิตใจจึงต้องแข็งแรงมากขึ้น ทุกองค์กรตั้งแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หนรือที่ทำงาน ก็ต้องช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า นอกจากนี้เทคโนโลยีที่มีการเก็บข้อมูลของการใช้จ่ายของหรือใช้ชีวิตของประชาชน ถ้านำข้อมูลเหล่านี้มาแชร์กันเป็น Big Data ที่สามารถนำมาให้นักจิตวิทยาวิเคราะห์และประเมิณอาการทางจิตจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า แต่ไม่ล้วงข้อมูลจนกระทบกับความเป็นส่วนตัว จะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์จาก 4.0 ได้เต็มที่
คุณหญิงสุดารัตน์ ยังกล่าวว่า สุขภาพจิตที่แข็งแรงต้องไปควบคู่กับสุขภาพกายที่แข็งแรง แต่ต้องไปตามกระแสสังคมที่สังคมยอมรับไม่ใช่การบังคับ เช่น ตอนที่ตนมีนโยบายเต้นแอโรบิกที่ทำให้เกิดกระแสออกกำลังกายในสังคม เพราะก่อนหน้านี้คนไทยไม่ชอบออกกำลังกาย แต่กลายเป็นกระแสที่ทุกหมู่บ้านหันมาสนใจ ซึ่งทำไม่ยากหากรัฐบาลโปรโมทและวางแผนสนับสนุนสร้างกระแสในสังคมเต็มที่ ดังนั้นการทำให้คนหันมาสนใจสุขภาพจิตก็เป็นเรื่องไม่ยากเหมือนกัน
อาจารย์ แพทย์หญิง ติรยา เลิศหัตถศิลป์ จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า คนที่มีอาการซึมเศร้าอาจจะมีอาการเหวี่ยงวีนง่ายขึ้น พูดอะไรก็จะเสียใจหรือน้อยใจง่ายขึ้น เหมือนเอาแว่นตาดำมาใส่ทำให้รู้สึกโลกเป็นสีเทา แต่ไม่ใช่ความผิดของเขา เป็นเรื่องของการทำงานในสมอง แต่คนรอบข้างต้องไม่เปลี่ยนไป ไม่เกรงใจจนไม่เหมือนเดิม แต่ต้องเข้าใจว่าช่วงนี้ที่อาการเปลี่ยนไปเพราะเป็นอาการของโรค ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้แค่ต้องการกำลังใจ ต้องการคนอยู่ข้างๆ ก็พอแล้ว
อาจารย์ชลาลัย แต้ศิลปสาธิต นักจิตวิทยาและอาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา กล่าวว่า คนไข้กลุ่มนี้กลัว special treatment การปฏิบัติที่เปลี่ยนไป หรือการปฏิบัติที่พิเศษทำให้เหมือนอยู่ในสปอตไลท์ แล้วจะยิ่งโดนโจมตีมากขึ้น อีกทั้งคนไข้ยังไม่กล้าพูดหรือบอกคนในครอบครัว หรือกลัวคนในครอบครัวเสียใจ ซึ่งการแก้ปัญหาข้อคือง่ายมากคือการเปิดใจพูดคุยกันในครอบครัว แต่ไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ถ้าเป็นฉันฉันจะไปวัด ไปออกกำลังกาย แต่ต้องเปลี่ยนจากการเปรียบเทียบเป็นความเข้าใจ
สุดท้ายอาจารย์ทั้ง 2 คนฝากคุณหญิงสุดารัตน์ หากมีโอกาสเข้าทำงานบริหารในด้านสาธารณสุขส่งเสริมความแข็งแรงในสถาบันครอบครัว และเพิ่มสวัสดิการการรักษาโรคทางจิตเวชเข้าไปในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เช่น ยา หรือการรักษาอาการบางอย่างยังไม่ได้รวมอยู่ในสวัสดิการการรักษา ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวตอบว่า หากได้รับโอกาสเข้าไปบริหารบ้านเมือง ฝ่าฟันการนับคะแนนเข้าไปได้จะส่งเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้เป็นวาระสำคัญ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ร่วมงานเสวนา ‘อยู่อย่างไรในโลกซึมเศร้า How to live in Depression Wolrd’ กล่าวว่า สมัยก่อนที่ตนทำงานกระทรวงสาธารณสุข คนส่วนใหญ่อายที่จะบอกว่าเป็นโรคทางจิตเวช หรือคนรอบข้างที่ไม่ได้เป็นก็จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของคนที่จิตใจอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง หรือบอกให้ปลงไปตามความเชื่อศาสนาพุทธ ทั้งที่ความจิตแล้วอาการป่วยแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา เคยมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้แล้วสุดท้ายลองเปิดใจรักษาพบแพทย์และกินยา ก็ทำให้อาการดีขึ้น ทำให้คนในครอบครัวเข้าใจโรคนี้และเปิดใจในการรักษาโรคทางจิตเวชมากขึ้น ทั้งนี้ตนมองว่าแนวทางป้องกันคือ ภาครัฐต้องทำงานเชิงรุก เนื่องจากครอบครัวในทุกวันนี้เริ่มสื่อสารกันน้อยลง ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ชีวิตลำบากมากขึ้นต้องทำมาหากิน เวลาในการสื่อสารกับคนในครอบครัวก็น้อยลง รัฐจึงต้องเปลี่ยนทัศนคติในสังคม เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้คนไม่รู้สึกตัวการรับคำปรึกษาทางจิตเวช เช่น ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย หรือในที่ทำงาน ต้องมีกิจกรรมที่ให้คำปรึกษาในเรื่องของจิต เป็นเหมือนทำกิจกรรมให้เด็กได้ค้นหาปมในหัวใจ ไม่รู้สึกหวาดกลัวหรือเป็นเรื่องน่าอาย และมีการเผยแพร่ในช่องทางของโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าไปสู่โซนอันตรายทางจิตเวช และถ้าทุกคนสุขภาพจิตดี คิดบวก สังคมก็จะน่าอยู่ สร้างผลิตผลและผลิตภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า เด็กอายุต่ำว่า 18 ปีควรมีสิทธิที่จะเข้าพบแพทย์ได้ด้วยตัวเอง แต่เรื่องของการแจ้งผลการรักษาจะต้องให้ครอบครัวมาด้วยเพื่อเตรียมรับมือกับการรักษาหรือตัดสินใจเข้ารับการรักษา ขณะที่สาขาวิชาจิตวิทยาควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากขึ้น ให้เด็กสนใจเพื่อเข้ามาเรียนเพื่อเพิ่มบุคลากรไปอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น เมื่อมีบุคลากรมากขึ้นจะยิ่งช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็จะลดลง และลดภาระของแพทย์ในการรักษาคนไข้อีกด้วย นอกจากนี้อาจมีการเพิ่มคอสอบรมอาจารย์แนะแนว หรือฝ่ายบุคคลในบริษัทให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถให้คำปรึกษาได้ อาจจะเป็นรูปแบบที่รัฐจะลดภาษีหรือสนับสนุนบริษัทที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพจิต
ขณะที่คุณหญิงสุดารัตน์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เทคโนโลยีทำให้เรารู้ทุกอย่าง แต่เราอยู่กับหน้าจอนานๆ สื่อสารกับมนุษย์น้อยลง จิตใจจึงต้องแข็งแรงมากขึ้น ทุกองค์กรตั้งแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หนรือที่ทำงาน ก็ต้องช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า นอกจากนี้เทคโนโลยีที่มีการเก็บข้อมูลของการใช้จ่ายของหรือใช้ชีวิตของประชาชน ถ้านำข้อมูลเหล่านี้มาแชร์กันเป็น Big Data ที่สามารถนำมาให้นักจิตวิทยาวิเคราะห์และประเมิณอาการทางจิตจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า แต่ไม่ล้วงข้อมูลจนกระทบกับความเป็นส่วนตัว จะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์จาก 4.0 ได้เต็มที่
คุณหญิงสุดารัตน์ ยังกล่าวว่า สุขภาพจิตที่แข็งแรงต้องไปควบคู่กับสุขภาพกายที่แข็งแรง แต่ต้องไปตามกระแสสังคมที่สังคมยอมรับไม่ใช่การบังคับ เช่น ตอนที่ตนมีนโยบายเต้นแอโรบิกที่ทำให้เกิดกระแสออกกำลังกายในสังคม เพราะก่อนหน้านี้คนไทยไม่ชอบออกกำลังกาย แต่กลายเป็นกระแสที่ทุกหมู่บ้านหันมาสนใจ ซึ่งทำไม่ยากหากรัฐบาลโปรโมทและวางแผนสนับสนุนสร้างกระแสในสังคมเต็มที่ ดังนั้นการทำให้คนหันมาสนใจสุขภาพจิตก็เป็นเรื่องไม่ยากเหมือนกัน
อาจารย์ แพทย์หญิง ติรยา เลิศหัตถศิลป์ จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า คนที่มีอาการซึมเศร้าอาจจะมีอาการเหวี่ยงวีนง่ายขึ้น พูดอะไรก็จะเสียใจหรือน้อยใจง่ายขึ้น เหมือนเอาแว่นตาดำมาใส่ทำให้รู้สึกโลกเป็นสีเทา แต่ไม่ใช่ความผิดของเขา เป็นเรื่องของการทำงานในสมอง แต่คนรอบข้างต้องไม่เปลี่ยนไป ไม่เกรงใจจนไม่เหมือนเดิม แต่ต้องเข้าใจว่าช่วงนี้ที่อาการเปลี่ยนไปเพราะเป็นอาการของโรค ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้แค่ต้องการกำลังใจ ต้องการคนอยู่ข้างๆ ก็พอแล้ว
อาจารย์ชลาลัย แต้ศิลปสาธิต นักจิตวิทยาและอาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา กล่าวว่า คนไข้กลุ่มนี้กลัว special treatment การปฏิบัติที่เปลี่ยนไป หรือการปฏิบัติที่พิเศษทำให้เหมือนอยู่ในสปอตไลท์ แล้วจะยิ่งโดนโจมตีมากขึ้น อีกทั้งคนไข้ยังไม่กล้าพูดหรือบอกคนในครอบครัว หรือกลัวคนในครอบครัวเสียใจ ซึ่งการแก้ปัญหาข้อคือง่ายมากคือการเปิดใจพูดคุยกันในครอบครัว แต่ไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ถ้าเป็นฉันฉันจะไปวัด ไปออกกำลังกาย แต่ต้องเปลี่ยนจากการเปรียบเทียบเป็นความเข้าใจ
สุดท้ายอาจารย์ทั้ง 2 คนฝากคุณหญิงสุดารัตน์ หากมีโอกาสเข้าทำงานบริหารในด้านสาธารณสุขส่งเสริมความแข็งแรงในสถาบันครอบครัว และเพิ่มสวัสดิการการรักษาโรคทางจิตเวชเข้าไปในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เช่น ยา หรือการรักษาอาการบางอย่างยังไม่ได้รวมอยู่ในสวัสดิการการรักษา ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวตอบว่า หากได้รับโอกาสเข้าไปบริหารบ้านเมือง ฝ่าฟันการนับคะแนนเข้าไปได้จะส่งเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้เป็นวาระสำคัญ
วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562
"ลดาวัลลิ์" เผย ทูต EU เข้าพบพรรคเพื่อไทย
รองปลัดด้านกิจการการเมือง EU และทูต EU เข้าพบหารือ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย “ยิงคำถามสำคัญ ทำไมกติกาตาม รธน. จึงยุ่งยากต่อการปฏิบัติ”
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 13.30 น. พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและคณะประกอบด้วย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง, นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี, นายโภคิณ พลกุล, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ, ดร.ภูวินิดา คุนผลิน, นางลดาวัลลิ์ วงศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเทพฤทธิ์ สีน้ำเงิน รองโฆษกพรรค ให้การต้อนรับ Mr.Jean-Christophe Belliard รองปลัดด้านกิจการการเมืองของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นนักการทูตที่มีความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี พร้อมด้วย Mr.Pirkka Tapiola เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและคณะ ได้เข้าพบหารือและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย พร้อมกับตั้งคำถามสำคัญว่า ทำไมกติกาตามรัฐธรรมนูญจึงมีความยุ่งยากในทางปฏิบัติเช่นนี้
ซึ่งแกนนำพรรคเพื่อไทยก็ได้อธิบายความเป็นจริงให้ทราบถึงว่า ทั้งกฎ กติกา และผู้ดูแลกติกาต่างๆนั้นล้วนแล้วแต่มาจาก คสช. แต่พรรคเพื่อไทย ก็ได้ทำทุกอย่างเพื่อไปสู่การเลือกตั้ง แม้ว่าจะไม่เสรี ไม่เป็นธรรรมอย่างที่ควรจะเป็น แต่ก็คาดหวังว่าเสียงของประชาชนจะเป็นที่ยอมรับและเป็นทางออกของประเทศ โดยยึดถือตามหลักประชาธิปไตย ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเอง ก็ไม่ค่อยสบายใจนักที่ผลการเลือกตั้ง ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในสายตาของคนไทย ที่มองว่าการประกาศผลการเลือกตั้งล่าช้า การคำนวณคะแนนจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อก็ยังสับสน หรือแม้แต่จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่ประกาศมาสองครั้ง ก็ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัย ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้เชื่อว่าต่างประเทศคงรับรู้รับทราบเป็นอย่างดี พรรคเพื่อไทยอยากเห็นประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เสรี ยุติธรรม และเคารพเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระดับสากล
สุดท้ายนางลดาวัลลิ์ กล่าวว่า คสช, รัฐบาลและกกต.ต้องดำเนินการนับคะแนนการเลือกตั้งและคำนวณจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งไม่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติและก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อสหภาพยุโรปและประเทศต่างๆทั่วโลก
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 13.30 น. พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและคณะประกอบด้วย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง, นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี, นายโภคิณ พลกุล, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ, ดร.ภูวินิดา คุนผลิน, นางลดาวัลลิ์ วงศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเทพฤทธิ์ สีน้ำเงิน รองโฆษกพรรค ให้การต้อนรับ Mr.Jean-Christophe Belliard รองปลัดด้านกิจการการเมืองของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นนักการทูตที่มีความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี พร้อมด้วย Mr.Pirkka Tapiola เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและคณะ ได้เข้าพบหารือและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย พร้อมกับตั้งคำถามสำคัญว่า ทำไมกติกาตามรัฐธรรมนูญจึงมีความยุ่งยากในทางปฏิบัติเช่นนี้
ซึ่งแกนนำพรรคเพื่อไทยก็ได้อธิบายความเป็นจริงให้ทราบถึงว่า ทั้งกฎ กติกา และผู้ดูแลกติกาต่างๆนั้นล้วนแล้วแต่มาจาก คสช. แต่พรรคเพื่อไทย ก็ได้ทำทุกอย่างเพื่อไปสู่การเลือกตั้ง แม้ว่าจะไม่เสรี ไม่เป็นธรรรมอย่างที่ควรจะเป็น แต่ก็คาดหวังว่าเสียงของประชาชนจะเป็นที่ยอมรับและเป็นทางออกของประเทศ โดยยึดถือตามหลักประชาธิปไตย ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเอง ก็ไม่ค่อยสบายใจนักที่ผลการเลือกตั้ง ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในสายตาของคนไทย ที่มองว่าการประกาศผลการเลือกตั้งล่าช้า การคำนวณคะแนนจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อก็ยังสับสน หรือแม้แต่จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่ประกาศมาสองครั้ง ก็ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัย ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้เชื่อว่าต่างประเทศคงรับรู้รับทราบเป็นอย่างดี พรรคเพื่อไทยอยากเห็นประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เสรี ยุติธรรม และเคารพเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระดับสากล
สุดท้ายนางลดาวัลลิ์ กล่าวว่า คสช, รัฐบาลและกกต.ต้องดำเนินการนับคะแนนการเลือกตั้งและคำนวณจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งไม่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติและก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อสหภาพยุโรปและประเทศต่างๆทั่วโลก
วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562
"เพื่อไทย" ยื่น กกต. ยกเลิก ส.ว.สรรหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นเรื่องร้องเรียนขอให้ยกเลิกคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ที่ไม่เป็นตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา269(1) ระบุว่าให้สรรหา ส.ว. โดย คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง ซึ่งจะต้องแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ซึ่งได้แต่งตั้ง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง มาเป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ส.ว. โดยคณะกรรมการชุดนี้เต็มไปด้วยผู้ที่อยู่ใน คสช. ผู้ที่อยู่ในรัฐบาล จึงขาดความเป็นกลางทางการเมืองอย่างชัดเจน
"เพื่อไทย" ร้อง กกต. สอบบัตรเลือกตั้งหาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย กรุงเทพมหานคร เขต 13 บางกะปิ-วังทองหลาง (แขวงพลับพลา) เดินทางมาร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ศูนย์ราชการฯ เนื่องจากมีหลักฐานพบว่ามีบัตรเลือกตั้งหายไปกว่า 180ใบ ในหน่วยเลือกตั้งที่เขตบางกะปิ
นายตรีรัตน์ กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์ของพรรคพบว่าบัตรเลือกตั้งหายไปในหน่วยที่ 13 ของเขตเลือกตั้งที่ 13 ซึ่งวันนี้ ได้นำเอกสารหลักฐานของจำนวนบัตรเลือกตั้งมายื่นต่อ กกต. ด้วย ซึ่งจากหลักฐานที่พบ มีบัตรเลือกตั้งจำนวน 860 ใบ ถูกใช้ลงคะแนน 594 ใบ เหลือ 266 ใบ แต่ในเอกสารเหลือเพียงแค่ 86 ใบ ทำให้มีบัตรหาย 180 ใบ จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าบัตรหายไปได้อย่างไรถึง 180 ใบ จึงได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่บัตรเลือกตั้งถูกนำออกไปข้างนอก จึงอยากให้กกต. ตรวจสอบรวมถึงชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้นและให้เปิดเผยผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทุกหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งหากมีการกระทำผิดจริงในเขตนี้จะต้องไม่ใช่แค่หน่วยเดียวที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่แต่ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งเขต
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562
"เพื่อไทย" แนะประชาชนจับตา การเมืองช่วงนี้ไม่ปกติ
"ลดาวัลลิ์" ชี้ความไม่ปกติทางการเมือง สะท้อนฝ่ายสืบทอดอำนาจจ้องขัดขวางฝ่ายประชาธิปไตยตั้งรัฐบาล สงสัยสะกดคำว่า "สปิริตและมารยาททางการเมือง" ไม่เป็น
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เมื่อถอดรหัสความไม่ปกติทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 อาทิ การดูด ส.ส. , การใช้อำนาจรัฐข่มขู่ คุกคาม ฝ่ายตรงข้าม ,การนับคะแนนที่เหมือนจงใจให้ผิดพลาด , การคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ , การตั้งข้อหาหัวหน้าและเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ล่าสุดกรณี ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ยื่น กกต.ยุบพรรคตัวเอง ฯลฯ สะท้อนถึงการขัดขวางพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยไม่ให้เข้าไปบริหารและพลิกฟื้นประเทศหลังอยู่ในระบอบเผด็จการเกือบ 5 ปี
นางลดาวัลลิ์ กล่าวอีกว่า ความพยายามดังกล่าวยิ่งเด่นชัดหลังการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อรวมคะแนนป๊อปปูลาร์โหวต ของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยพบว่ามีมากกว่าพรรคฝ่ายสืบทอดอำนาจอย่างเทียบกันไม่ติด แม้ฝ่ายจะสืบทอดอำนาจจะมั่นใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีไซน์มาเพื่อพวกตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานเสียงหรือความต้องการของประชาชนทั้งประเทศได้ ตัวเลขที่ออกมาบอกอย่างชัดเจนว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการสืบทอดอำนาจและต้องการการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยโดยไม่ต้องตีความอะไรให้ยุ่งยาก
"ทางออกที่จะนำพาประเทศออกจากปัญหาดังกล่าวได้นั้น อย่างที่เคยบอกไว้หลายครั้งแล้วนั่นคือฝ่ายสืบทอดอำนาจต้องยอมรับความจริงที่ผ่านกระบวนเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา นอกเสียจากว่าจะสะกดคำว่า สปิริตและมารยาททางการเมืองไม่เป็น" นางลดาวัลลิ์ กล่าวในตอนท้าย
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เมื่อถอดรหัสความไม่ปกติทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 อาทิ การดูด ส.ส. , การใช้อำนาจรัฐข่มขู่ คุกคาม ฝ่ายตรงข้าม ,การนับคะแนนที่เหมือนจงใจให้ผิดพลาด , การคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ , การตั้งข้อหาหัวหน้าและเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ล่าสุดกรณี ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ยื่น กกต.ยุบพรรคตัวเอง ฯลฯ สะท้อนถึงการขัดขวางพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยไม่ให้เข้าไปบริหารและพลิกฟื้นประเทศหลังอยู่ในระบอบเผด็จการเกือบ 5 ปี
นางลดาวัลลิ์ กล่าวอีกว่า ความพยายามดังกล่าวยิ่งเด่นชัดหลังการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อรวมคะแนนป๊อปปูลาร์โหวต ของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยพบว่ามีมากกว่าพรรคฝ่ายสืบทอดอำนาจอย่างเทียบกันไม่ติด แม้ฝ่ายจะสืบทอดอำนาจจะมั่นใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีไซน์มาเพื่อพวกตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานเสียงหรือความต้องการของประชาชนทั้งประเทศได้ ตัวเลขที่ออกมาบอกอย่างชัดเจนว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการสืบทอดอำนาจและต้องการการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยโดยไม่ต้องตีความอะไรให้ยุ่งยาก
"ทางออกที่จะนำพาประเทศออกจากปัญหาดังกล่าวได้นั้น อย่างที่เคยบอกไว้หลายครั้งแล้วนั่นคือฝ่ายสืบทอดอำนาจต้องยอมรับความจริงที่ผ่านกระบวนเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา นอกเสียจากว่าจะสะกดคำว่า สปิริตและมารยาททางการเมืองไม่เป็น" นางลดาวัลลิ์ กล่าวในตอนท้าย
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562
"ภูมิธรรม" ค้านแนวคิดรัฐบาลแห่งชาติ ชี้ทางตัน-เดินถอยหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการ พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
“วาทกรรม เรื่อง…รัฐบาลแห่งชาติ”
สถานการณ์การเมืองในสังคมไทย กำลังอยู่บนเส้นทางที่ถูกทำให้เข้าใจว่าเรากำลังจะก้าวไปสู่ทางตัน
ในขณะที่การเลือกตั้ง…อันเป็นวิถีทางที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้ฝากความหวังและแสดงออกเพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ของตนกลับไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เพราะการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ การเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่มาราธอนมากครั้งหนึ่ง จนถึงวันนี้ลุล่วงมากว่า 3 สัปดาห์ กกต.ยังไม่สามารถสรุปวิธีคำนวณ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อได้ ทั้งๆที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 91และพรป.เลือกตั้ง มาตรา128ได้ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ถึงวิธีการคำนวณจำนวนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ
ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่นักกฎหมาย ฝ่ายผู้มีอำนาจและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรทำเป็นไม่เข้าใจหรือละเลยที่จะพิจารณาก็คือ “ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย ลายลักษณ์อักษร” ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่า การได้มาซึ่งระบบส.ส.บัญชีรายชื่อจะได้มาอย่างไร พร้อมทั้งมีการกำหนดวิธีการได้มา ด้วยการคำนวณเป็นขั้นตอนในวรรคต่างๆ ทั้งมาตรา9 ของรัฐธรรมนูญและวรรคต่างๆของมาตรา 128 ของพรป.เลือกตั้ง หาก กกต. ปฎิบัติอย่างตรงไปตรงมาและตีความตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กระบวนการและกลไกต่าง ๆ ก็จะเดินไปตามครรลอง ไม่มีปัญหาใดๆมาให้เราครุ่นคิด เรื่อง “ทางตัน” แต่อย่างใด
หากเราพิจารณาด้วยดุลยพินิจ จะเห็นว่าทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ กติกาของัฐธรรมนูญ และกระบวนการเลือกตั้งทั้งปวง ล้วนจงใจ ออกแบบมาให้เกิดความยุ่งยาก และมีปัญหามาตั้งแต่ต้นทาง อันนำมาสู่ปัญหาทั้งปวงที่ไม่รู้จบ ความจงใจในการเบียดขับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พวกพ้องตน การแสดงออกด้วยความละเลยเมินเฉยในการรับฟังเสียงและเหตุผลของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งพรรคการเมือง นักวิชาการ สถาบันการศึกษา องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยต่าง ๆ กำลังส่งสัญญาณที่ชวนให้เกิดความคลางแคลงใจว่า กกต. มีเป้าหมายหรือนัยยะซ่อนเร้นอย่างใด หรือไม่ และผลกระทบที่จะตามมาต่อประเทศจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคมไปอีกยาวนานเพียงใด
เมื่อหลายฝ่ายส่งสารเกี่ยวกับ วาทกรรม “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อหวังว่าจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาของ “ทางตัน” นี้ผมอยากให้ทุกฝ่ายพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบเพราะการเดินทางบนเส้นทางประชาธิปไตย แม้จะพบปัญหาอุปสรรคใด ๆ ก็ยังมีทางออกเสมอ
ผมเชื่อว่า ประชาธิปไตยโดยตัวของมันเอง มีทางออกและให้ทางเลือกที่ชวนให้เราใช้ความคิด ปัญญาร่วมตัดสินใจเสมอ …ถ้าเพียงแต่ บุคคล/คณะบุคคล/องค์กรอิสระและหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ ต่างมีความตระหนักและมุ่งมั่นทำทุกขั้นตอน กระบวนการอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้ใด หรือพยายามเอาใจผู้มีอำนาจในปัจจุบัน…
ถ้าการกระทำทั้งปวงมุ่งสร้างความชัดเจน ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มิใช่พยายามตะแบงหรือพยายามหาทางออกที่นอกกฎเกณฑ์และความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ การเบี่ยงเบนประเด็นโดยไม่รับฟังความคิดเห็นยิ่งจะเป็นช่องทางที่นำไปสู่ทางตัน กลับไปเดินถอยหลังในสถานการณ์เช่นในอดีต ประเทศขาดประชาธิปไตยที่แท้จริง เกิดวงจรที่ทุกกลไกย่ำอยู่กับที่ เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว โอกาสใหม่และความก้าวหน้าของประชาชนติดตันอยู่กับหนทางที่ปิดล็อก
ผมจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่มีความพยายามจะทำให้เกิด “ทางตัน” ทั้งปวง และพยายามจะเสนอทางออกเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ”โดยคิดว่าจะให้สังคมยอมรับเป็นทางเลือกที่จำเป็นของสังคมไทย…ทั้งที่ยังไม่ได้เห็นความพยายามใด ๆ ที่จะทำให้ทางออกเกิดขึ้นตามเงื่อนไขและกลไกประชาธิปไตย
“กกต. และผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งปวงต้องทำงานอย่างโปร่งใส ยึดถือความถูกต้องและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แล้วประเทศจะมีทางออก”
“รีบประกาศผลการเลือกตั้ง อย่างตรงไปตรงมา และเที่ยงธรรม โดยเร็ว……ประเทศไทยยังมีทางออก และระบอบประชาธิปไตย ยังเป็นความหวังที่สร้างทางออกร่วมกันอย่างเป็นจริง”
ภูมิธรรม เวชยชัย
เลขาธิการ พรรคเพื่อไทย
16 เมษายน 2562
“วาทกรรม เรื่อง…รัฐบาลแห่งชาติ”
สถานการณ์การเมืองในสังคมไทย กำลังอยู่บนเส้นทางที่ถูกทำให้เข้าใจว่าเรากำลังจะก้าวไปสู่ทางตัน
ในขณะที่การเลือกตั้ง…อันเป็นวิถีทางที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้ฝากความหวังและแสดงออกเพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ของตนกลับไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เพราะการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ การเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่มาราธอนมากครั้งหนึ่ง จนถึงวันนี้ลุล่วงมากว่า 3 สัปดาห์ กกต.ยังไม่สามารถสรุปวิธีคำนวณ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อได้ ทั้งๆที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 91และพรป.เลือกตั้ง มาตรา128ได้ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ถึงวิธีการคำนวณจำนวนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ
ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่นักกฎหมาย ฝ่ายผู้มีอำนาจและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรทำเป็นไม่เข้าใจหรือละเลยที่จะพิจารณาก็คือ “ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย ลายลักษณ์อักษร” ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่า การได้มาซึ่งระบบส.ส.บัญชีรายชื่อจะได้มาอย่างไร พร้อมทั้งมีการกำหนดวิธีการได้มา ด้วยการคำนวณเป็นขั้นตอนในวรรคต่างๆ ทั้งมาตรา9 ของรัฐธรรมนูญและวรรคต่างๆของมาตรา 128 ของพรป.เลือกตั้ง หาก กกต. ปฎิบัติอย่างตรงไปตรงมาและตีความตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กระบวนการและกลไกต่าง ๆ ก็จะเดินไปตามครรลอง ไม่มีปัญหาใดๆมาให้เราครุ่นคิด เรื่อง “ทางตัน” แต่อย่างใด
หากเราพิจารณาด้วยดุลยพินิจ จะเห็นว่าทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ กติกาของัฐธรรมนูญ และกระบวนการเลือกตั้งทั้งปวง ล้วนจงใจ ออกแบบมาให้เกิดความยุ่งยาก และมีปัญหามาตั้งแต่ต้นทาง อันนำมาสู่ปัญหาทั้งปวงที่ไม่รู้จบ ความจงใจในการเบียดขับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พวกพ้องตน การแสดงออกด้วยความละเลยเมินเฉยในการรับฟังเสียงและเหตุผลของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งพรรคการเมือง นักวิชาการ สถาบันการศึกษา องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยต่าง ๆ กำลังส่งสัญญาณที่ชวนให้เกิดความคลางแคลงใจว่า กกต. มีเป้าหมายหรือนัยยะซ่อนเร้นอย่างใด หรือไม่ และผลกระทบที่จะตามมาต่อประเทศจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคมไปอีกยาวนานเพียงใด
เมื่อหลายฝ่ายส่งสารเกี่ยวกับ วาทกรรม “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อหวังว่าจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาของ “ทางตัน” นี้ผมอยากให้ทุกฝ่ายพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบเพราะการเดินทางบนเส้นทางประชาธิปไตย แม้จะพบปัญหาอุปสรรคใด ๆ ก็ยังมีทางออกเสมอ
ผมเชื่อว่า ประชาธิปไตยโดยตัวของมันเอง มีทางออกและให้ทางเลือกที่ชวนให้เราใช้ความคิด ปัญญาร่วมตัดสินใจเสมอ …ถ้าเพียงแต่ บุคคล/คณะบุคคล/องค์กรอิสระและหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ ต่างมีความตระหนักและมุ่งมั่นทำทุกขั้นตอน กระบวนการอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้ใด หรือพยายามเอาใจผู้มีอำนาจในปัจจุบัน…
ถ้าการกระทำทั้งปวงมุ่งสร้างความชัดเจน ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มิใช่พยายามตะแบงหรือพยายามหาทางออกที่นอกกฎเกณฑ์และความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ การเบี่ยงเบนประเด็นโดยไม่รับฟังความคิดเห็นยิ่งจะเป็นช่องทางที่นำไปสู่ทางตัน กลับไปเดินถอยหลังในสถานการณ์เช่นในอดีต ประเทศขาดประชาธิปไตยที่แท้จริง เกิดวงจรที่ทุกกลไกย่ำอยู่กับที่ เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว โอกาสใหม่และความก้าวหน้าของประชาชนติดตันอยู่กับหนทางที่ปิดล็อก
ผมจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่มีความพยายามจะทำให้เกิด “ทางตัน” ทั้งปวง และพยายามจะเสนอทางออกเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ”โดยคิดว่าจะให้สังคมยอมรับเป็นทางเลือกที่จำเป็นของสังคมไทย…ทั้งที่ยังไม่ได้เห็นความพยายามใด ๆ ที่จะทำให้ทางออกเกิดขึ้นตามเงื่อนไขและกลไกประชาธิปไตย
“กกต. และผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งปวงต้องทำงานอย่างโปร่งใส ยึดถือความถูกต้องและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แล้วประเทศจะมีทางออก”
“รีบประกาศผลการเลือกตั้ง อย่างตรงไปตรงมา และเที่ยงธรรม โดยเร็ว……ประเทศไทยยังมีทางออก และระบอบประชาธิปไตย ยังเป็นความหวังที่สร้างทางออกร่วมกันอย่างเป็นจริง”
ภูมิธรรม เวชยชัย
เลขาธิการ พรรคเพื่อไทย
16 เมษายน 2562
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562
รองโฆษกเพื่อไทย ยืนยัน "คุณหญิงสุดารัตน์" ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค
รองโฆษกเพื่อไทย แจง “คุณหญิงสุดารัตน์” ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุมพรรค
นายชุมสาย ศรียาภัย รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562 มีการนัดประชุมกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เพื่อปรึกษาหารือเตรียมการประชุมใหญ่ในวันที่ 21 เมษายน 2562 และประเด็นการคำนวณ สส.บัญชีรายชื่อของ กกต.ที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งสาเหตุที่คุณหญิงสุดารัตน์ ไม่เข้าร่วมประชุม เพราะไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค ซึ่งไม่ได้มีความผิดปกติอะไรตามที่บางสื่อนำเสนอข่าว
“คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ภารกิจย่อมลดลงโดยลำดับเหลือเพียงการเลือกตั้งซ่อมที่อาจมีขึ้นในบางเขต ส่วนการฟ้องร้องก็เป็นภารกิจของฝ่ายกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามคุณหญิงสุดารัตน์ ได้ให้ความสนใจปรับปรุงงานด้านต่างๆของพรรคให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมนักการเมืองรุ่นใหม่ให้มีบทบาทในการร่วมพัฒนาพรรคให้เข้มแข็ง ก้าวหน้า เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและเทคโนโลยี” นายชุมสาย กล่าวในตอนท้าย
"ลดาวัลลิ์" ร่วมงานสานสัมพันธ์สองฝั่งโขง ไทย-ลาว
"ลดาวัลลิ์" ร่วมงานสานสัมพันธ์สองฝั่งโขง จรรโลงวัฒนธรรม ไทย-ลาว ประจำปี 2562 ณ จุดผ่อนปรนชายแดนบ้านแจ๋มป๋อง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ประกาศจะใช้วัฒนธรรมเชื่อมการค้าไทย-ลาวให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
12 เมษายน 2562 นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย ดร.พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ว่าที่ ส.ส. เขต 5 จังหวัดเชียงรายและ ดร.เทอดธนัท สีเขียว สมาชิกพรรคเพื่อไทย เดินทางไปร่วมงานสานสัมพันธ์สองฝั่งโขง จรรโลงวัฒนธรรม ไทย-ลาว ประจำปี 2562 ณ จุดผ่อนปรนชายแดนบ้านแจมป๋อง จัดโดยเทศบาลตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีนายสุจิตต์ สุชาติ นายอำเภอเวียงแก่นเป็นประธานเปิดงาน และมีนายอุดร อุ่นดารา ผู้แทนจาก เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มาร่วมงานพร้อมกับนำการฟ้อนรำของลาวมาแสดงในงานด้วย วัตถุประสงค์การจัดงานคือ
1. เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่มีความเชื่อมโยงกันของประชาชนทั้งสองประเทศ
2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยและลาวในพื้นที่ชายแดน ให้มีกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ต่อกัน
3. เพื่อส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยว ในพื้นที่อำเภอเวียงแก่นให้มีความพร้อมและเชื่อมโยงทางเศรรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านสู่ประชาคมอาเซียน
นางลดาวัลลิ์ กล่าวว่า ตนได้หารือกับนายสมพงษ์ เทพไหว นายกเทศมนตรีตำบลหล่ายงาว ทำให้ทราบข้อมูลสถานการณ์การค้าชายแดนมากมาย ซึ่งสามารถต่อยอดขยายไปสู่การส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนเพื่อให้มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งจะขยายไปสู่การส่งเสริมอาขีพเพื่อการส่งออกให้กับประชาชนในอำภอเวียงแก่นและทุกอำเภอติดชายแดนในจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดน่าน ซึ่งตนตั้งใจจะเข้ามาทำงานร่วมกับส.ส.ของพรรคตามแนวทางของพรรคเพื่อไทยโดยจะไม่ทิ้งประชาชนที่ให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ตนยังได้ไปร่วมงานสืบสานวัฒนธรรมไทลื้ออำเภอเวียงแก่น ในวันที่ 12 เมษายนนี้ด้วย
"ลดาวัลลิ์" ขอรัฐคืนประชาธิปไตย เป็นของขวัญวันสงกรานต์
"ลดาวัลลิ์" ขอข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐมอบของขวัญวันสงกรานต์แก่คนไทยคือเร่งแก้ไขเศรษฐกิจปากท้องและสร้างกติกาประชาธิปไตย
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวอวยพรวันสงกรานต์ ขอให้คนไทยทุกคนมีความสุขสมความปรารถนาในโอกาสปีใหม่ไทย ได้หยุดพักผ่อนต่อเนื่องหลายวัน คงได้ทำบุญกุศลร่วมกับสมาชิกในครอบครัว ได้รดน้ำขอพรบุพการีและผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อย่างน้อยก็ได้รับกำลังใจจากญาติพี่น้องที่มอบให้กันและกันโอกาสวันรวมญาติมิตร
นางลดาวัลลิ์ กล่าวอีกว่าขออารธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโปรดคุ้มครองให้ทุกท่านเดินทางด้วยความปลอดภัยในทุกเส้นทางปราศจากอุบัติเหตุ ที่มักจะเกิดขึ้นเสมอในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ และขอความร่วมมือท่านที่ดื่มแล้วเมาก็อย่าขับรถ เพื่อป้องกันความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและของผู้อื่นด้วย ส่วนการเล่นน้ำสงกรานต์ก็ขอให้เล่นอย่างสุภาพตามประเพณีไทย อย่าเล่นสนุกจนเกินเลย
นางลดาวัลลิ์ กล่าวในตอนท้ายว่าเมื่อทุกท่านได้ร่วมกิจกรรมที่ดีงามในวันสงกรานต์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงแล้วก็ขอให้นำกำลังใจที่สั่งสมในโอกาสนี้กลับมาทำงานตามหน้าที่ของแต่ละคนอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ขอให้ข้าราชการทุกหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองทุกคนมอบของขวัญวันปีใหม่ไทยให้คนไทยทุกคน ด้วยการเร่งดำเนินภารกิจช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องให้แก่พี่น้องประชาชน ได้อยู่ดีกินดีโดยเร็ว และที่สำคัญคือ ขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ทุกระดับในทุกองค์กร ทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามกติกาของกฏหมาย เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีให้แก่บ้านเมืองและเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ เพื่อจะได้เข้าใจในหลักการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และเป็นสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ
วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2562
"ภูมิธรรม-สุดารัตน์" เชื่อมิ่งขวัญ รักษาสัจจะ-ไม่ตระบัดสัตย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการ พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
อย่างที่ผมบอก..
ผมยังยืนยันว่า”พี่มิ่งขวัญ”
เป็นคนเคารพตัวเอง
และรักษาสัจจะวาจา...
ผมจึงไม่เคยเชื่อถือข่าวลือที่ลือกันว่าพรรค พปชร.กำลังจัดตั้งรัฐบาลโดยจะสามารถดึงพรรคการเมืองที่เคยบอกประชาชนว่าจะไม่สนับสนุนให้มีการสืบทอดอำนาจ ไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลได้
..ไม่เชื่อจริงๆ.
ภูมิธรรม เวชยชัย.
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
13 เม.ย. 62
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โพสต์ข้อความในเรื่องดังกล่าวว่า
เลือกตั้งครั้งนี้ อาจยังมีนักการเมืองรุ่นเก่า ที่ยังใช้มุขเดิม #ตระบัดสัตย์เพื่อชาติ มาอ้างเพื่อตนจะได้ผิดคำพูด ที่ให้ไว้ต่อพี่น้องประชาชน ก่อนลงคะแนนเลือกตั้ง
แต่หน่อยเชื่อว่า ไม่ใช่หัวหน้าพรรคการเมืองที่ชื่อ #มิ่งขวัญ แน่นอนค่ะ
นักการเมืองที่ดี จะเป็นฝ่ายค้าน หรือเป็นฝ่ายรัฐบาล ก็สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้
แต่ นักการเมืองที่ดีจะเสียสัจจะ ที่ให้ไว้กับพี่น้องประชาชน..ไม่ได้!!
ลูกผู้ชายชื่อ #มิ่งขวัญ เป็นนักการเมืองน้ำดี พูดคำไหนคำนั้น #สุดารัตน์การันตีค่ะ
เผด็จการฯที่พยายามสืบทอดอำนาจ ถือว่าแย่สำหรับประเทศชาติแล้ว
หน่อยว่า...คนที่ใจฝักไฝ่เผด็จการฯ แต่ใช้วาทะกรรมหลอกให้คนรักประชาธิปไตย ไปลงคะแนนให้ ถือว่าแย่กว่าเยอะค่ะ
เราต้องช่วยกัน #จดจำใบหน้านักการเมือง และทบทวนคำพูดที่พวกเขาให้ไว้ก่อนเลือกตั้งให้ดี
#ก่อนเลือกตั้งพูดอย่าง #ลงคะแนนเสร็จพูดอีกอย่าง อ้างนู่นนี่สารพัดเหตุผล จนบางคนทำท่าจะหลบลี้หนีความจริง ยอมที่จะเสียภาวะผู้นำ เพื่อปัดความรับผิดชอบไปเลย #แบบนี้ไม่ดีนะคะ
#เลือกตั้งยังมีอีกหลายครั้ง จะช้าจะเร็วขึ้นอยู่กับรัฐบาลหน้าว่าจะทำให้ประชาชนยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน
เราต้องจำไว้ให้แม่น ใครที่คิดจะทิ้งทวน “โกหกในครั้งนี้ แล้วไปแก้ตัวในครั้งหน้า” คิดว่า #คนไทยลืมง่าย ก็ลองดู
ประวัติศาสตร์ไทยไม่เคยยอมรับนักการเมืองที่ #ตระบัดสัตย์เพื่อชาติ และหน่อยเชื่อว่าประชาชนจะ
#บอยคอตนักการเมืองขี้โกหก
#บอยคอตนักการเมืองขี้โกหก
นักการเมืองเก่า ถ้าไม่รู้จักปรับตัว และยังตระบัดสัตย์ผิดคำพูดต่อพี่น้องประชาชนอยู่อีก #เลือกตั้งครั้งหน้าอาจสูญพันธุ์ ยิ่งกว่าครั้งนี้ค่ะ
"ยิ่งลักษณ์" อวยพรสงกรานต์ ขอทุกท่านมีความสุข
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
วันนี้เป็นวันสงกรานต์ อดไม่ได้ที่จะนึกถึงวันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยค่ะ เลยขอสวัสดีปีใหม่ไทยนะคะ ขอให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุขใจ และมีความเจริญรุ่งเรือง คิดสิ่งใดก็ขอให้ประสบความสำเร็จทุกประการนะคะ
ด้วยความรักและคิดถึงเสมอค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)