วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"ทวี" ค้านรัฐ ขายที่ดินให้ต่างชาติ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีราชชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้


“ขายที่ดินให้ต่างชาติ” รัฐสร้างความสุขให้เศรษฐีบนความทุกข์ของประชาชน
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ กฎกระทรวงเรื่องให้สิทธิต่างชาติศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ถือครองที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ โดยต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท อย่างน้อย 3 ปี กลายเป็นที่ฮือฮาอีกครั้งสำหรับมติ ครม.ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ถูกตราหน้าจากสังคมว่าเป็น “กฎหมายขายชาติ” ขณะที่สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำในการเป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินมากที่สุด การกระจุกตัวของโฉนดที่ดิน (นายทุนกักตุนที่ดิน) ข้อมูลจากกรมที่ดินพบว่า ที่ดินที่ผู้ครอบครองเกิน 50 ไร่มีเพียง 44,931 คน ถ้าคิดประเทศไทยมี 66 ล้านคน คนที่มีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ ถือว่ากระจุกตัวอยู่กับคนเพียง 0.06 %
ข้อมูลความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างการถือครองที่ดินที่ถ่างเพิ่มขึ้น คนเพียง 1 % ของประเทศ ถือครองที่ดินมากถึง 22,522,047 ล้านไร่ หรือมากกว่าพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออกรวมกัน ขณะที่ร้อยละ 20 ของกลุ่มที่ถือครองที่ดินน้อยที่สุด กลับถือครองที่ดินเพียงแค่ 232,790 ไร่ (ข้อมูลจากงานวิจัย ‘รวยกระจุก จนกระจาย: ความเหลื่อมล้ำกับการปฏิรูปภาษีที่ดิน’ ของ รศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล) และ บุคคลที่ถือครองที่ดินมากที่สุดมีที่ดิน 631,263 ไร่ หรือเกือบใกล้เคียงพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตสองจังหวัดต่อกัน ขณะที่ผู้ถือครองเล็กที่สุดมีเพียงแค่ 1 ตารางวาเท่านั้น (ข้อมูลจากงานวิจัย ‘รวยกระจุก จนกระจาย: ความเหลื่อมล้ำกับการปฏิรูปภาษีที่ดิน’ ของ รศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล)
• ที่ดินร้อยละ 70 ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือใช้ประโยชน์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ มีจำนวนมากประเมินเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 127,000 ล้าน บาทต่อปี (มูลนิธิสถาบันที่ดินฯ, 2544)
มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 ให้แก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน รวมทั้งเห็นชอบ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เศรษฐีต่างชาติอยู่อาศัยในประเทศ ไทยได้ในระยะยาว และสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ทั้งถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดเกินกว่า 49% ถือครองกรรมสิทธิ์ในโครงการบ้านจัดสรรได้และขยายสิทธิ์การเช่าระยะยาว ต่ออายุได้ถึง 99 ปี แอบอ้างว่าเพื่อเป้าหมายดึงเม็ดเงินเข้า ประเทศ 1 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2565
ต่อมา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวซึ่งระบุว่า สาระสำคัญของกฎกระทรวง ต่างชาติที่ซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ ต้องเป็นกลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใด ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี ประเภทการลงทุน เช่น ใน พันธบัตรรัฐบาลไทย การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมเป็นที่ดินภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร


นโยบายขายที่ดินให้ต่างชาติช่างย้อนแย้งกับประชาชนที่ไร้ความมั่นคงในที่ดิน ซึ่งใน ปี 2561 ครัวเรือนในภาคการเกษตร จำนวน 5 ล้านครัวเรือน ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินของตนเอง จำนวน 40% (ทะเบียนเกษตรกร พ.ศ.2561)

• คนรายได้น้อยในชุมชนแออัด 633,000 คน เข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ
• การกระจุกของที่ดินไทยอย่างไม่เป็นธรรม เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ประเทศไทยติดอันดับโลกเรื่องความเหลื่อมล้ำ
รายงานของThe Credit Suisse Global Wealth Report 2018 ระบุคนไทยเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นถือครองความมั่นคั่งหรือมีทรัพย์สินรวม 66.9 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ เท่ากับว่าคนไทยจำนวน 95 เปอร์เซ็นต์ถือครองทรัพย์สินเพียงร้อยละ 33.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ
เป็นตัวเลขที่สะท้อนว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เรียงลำดับ 4 อันดับ คือ
อันดับ 1 คือ ไทย ประชากร 1 เปอร์เซ็นต์ มีทรัพย์สินรวม 66.9 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ
อันดับ 2 คือ รัสเซีย ประชากร 1 เปอร์เซ็นต์ มีทรัพย์สินรวม 57.1 เปอร์เซ็นต์ ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ
อันดับ 3 ได้แก่ ตุรกี ประชากร 1 เปอร์เซ็นต์ มีทรัพย์สินรวม 54.1 เปอร์เซ็นต์ ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ
อันดับ 4 ได้แก่ อินเดีย ประชากร 1 เปอร์เซ็นต์ มีทรัพย์สินรวม 51.5 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ
รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ฯ ประสบความล้มเหลวและล้มละลายในการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะไม่สามารถจัดให้มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม นโยบายขายที่ดินให้ต่างชาติที่รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ฯพุดขึ้นมาใหม่จึงเป็นเรื่องเศร้าที่รัฐสร้างความสุขให้เศรษฐีบนความทุกข์ของประชาชน

"มูลนิธิไทยคม-ศิริราช" จัดงาน เดิน-วิ่ง-ปั่น เฉลิมพระเกียรติ

The Politica - (30 ตุลาคม 2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา มูลนิธิไทยคม ร่วมกับ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จัดโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ” เป็นการรวมพลังขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นดั่งแสงนำใจของประชาชนไทยและทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทยในการรักษาสุขภาพและการออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังเป็นการร่วมกันจัดกิจกรรมเชิงรุกสู่ชุมชนเพื่อป้องกันและสร้างความตระหนักรู้ถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง ณ บริเวณท้องสนามหลวง เขตพระนคร กรุงเทพฯ




ในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1,880 คน ต่อประชากรจานวนหนึ่งแสนคน หรือร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเพศหญิงและอันดับสามในเพศชาย รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง นอกจากนั้น โรคนี้ยังมีอัตราความพิการสูง การศึกษาในประเทศไทยพบว่าในผู้ป่วย 100 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะเสียชีวิตร้อยละ 5 และพิการร้อยละ 70 ซึ่งนอกจากความพิการทางกายแล้ว ยังมีผลทาให้ความจาเสื่อมในภายหลังอีกด้วย โดยร้อยละ 80 ของภาวะดังกล่าวจะเกิดในประเทศกาลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ดังนั้น จะเห็นว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ประเทศกาลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะพบโรคนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าประชาชนขาดความรู้ด้านการป้องกันหรือรักษาอย่างถูกวิธี






ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกสู่ชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงอาการและแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดอาการและการป้องกันโรค ในชื่อโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งเป็นการรวมพลังของเขตสุขภาพ 13 เขต และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ การให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และการออกกาลังกายเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ “แผ่นดินไทย ไร้สโตรค” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเป็น ดั่งแสงนาใจของประชาชนไทย และทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทยในการรักษาสุขภาพ และการออกกาลังกาย ทรงมีพระเมตตาแผ่ไพศาลแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ และเชื้อชาติ พระราชทาน รถต้นแบบรักษาอัมพาตเคลื่อนที่สาหรับนาไปใช้ประโยชน์ และเป็นรากฐานในการให้บริการไปทั่วประเทศดังประจักษ์ชัด



รวมทั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศตระหนักถึงความสาคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการดาเนินงานเชิงรุกในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้มีกิจกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการรักษาและลดภาระของปัญหาโรคเรื้อรัง โดยให้ประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย และทุกหมู่เหล่า มีโอกาสออกกาลังกายอย่างง่าย ๆ เช่น การเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน ซึ่งถ้าทาเป็นประจาจะทาให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรค โดยกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดอย่างเคร่งครัด DMHTT [Distancing (อยู่ห่างไว้) Mask wearing (ใส่มาส์กกัน) Hand washing (หมั่นล้างมือ) Testing (ตรวจให้ไว) ThaiChana (ใช้ไทยชนะ และหมอชนะ) ] และให้ความร่วมมือปฏิบัติตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)













ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ถ้วยพระราชทาน รางวัลสนับสนุนจากภาครัฐ และของที่ระลึก ประกอบด้วย 1.) ถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ชนะเลิศ” ด้านจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรมออกกาลังกายเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต 2.) ถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี “ชนะเลิศ” ด้านการจัดกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรมให้ความรู้โรคโรคหลอดเลือดสมอง 3.) โล่รางวัลเกียรติยศ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จานวน 3 รางวัล คือ รางวัลขนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 4.) โล่รางวัลเกียรติยศ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จานวน 5 รางวัล คือ รางวัลขนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 รางวัลชมเชย อันดับ 1 และรางวัลชมเชย อันดับ 2 และ 5.) โล่รางวัลเกียรติยศ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จานวน 22 รางวัล คือ เมืองกีฬา 16 จังหวัด จำนวน 6 รางวัล จังหวัดอื่น ๆ 61 จังหวัด จำนวน 10 รางวัล Over All ชาย และ Over All หญิง จำนวน 6 รางวัล นอกจากนี้ ยังมี 6.) บุคคลทั่วไปที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับเสื้อกีฬา และเหรียญที่ระลึก

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

“ประชาชาติ” หนุนใช้เทคโนโลยี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ


ผู้สื่อข่าวรายงานจาก พรรคประชาชาติ ว่า นายฐาคณิษฐ์ พรทองประเสริฐ รองเลขาธิการพรรคประชาชาติ ในฐานะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโต ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่นานาประเทศให้ความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ซึ่งทั่วโลกตั้งเป้าที่จะทำให้ได้ภายในปี 2573 ทั้งนี้ ไทยเอง ควรพัฒนาโมเดลการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี ให้เป็นวาระแห่งชาติที่จะพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย มีการพัฒนาต่อยอดโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 


นายฐาคณิษฐ์ พรทองประเสริฐ ระบุว่า “ปัจจุบันแนวโน้มในอนาคตจะเปลี่ยนไปทั้งเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงกลุ่มแรงงานที่มีแนวโน้มจำนวนลดลง การเตรียมรับมือเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องพยายามผลักดันเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เน้นที่ใช้ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว” 


“ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องคน องค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยี รวมถึงเงินทุนสำหรับการพัฒนาต่อยอดและสำหรับการเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งในปีหน้า สามารถมีนโยบายที่จะสนับสนุนได้ อนาคตทิศทางประเทศเดินหน้าต่อไปได้ครับ” นายฐาคณิษฐ์ กล่าว

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

“ประชาชาติ” หารือ “เชฟทองเลียบ-วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร” ส่งเสริมผู้ประกอบการร้านอาหารไทย-ต้มยำมาเลเซีย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากอาคารอำนวยการ วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร กรุงเทพฯ ว่า เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และ เลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายมนตรี บุญจรัส รองโฆษกพรรคประชาชาติ ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม และ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย, นางสาวธนัญญรัชช์ เศรษฐาธิรัชฎ์ ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคประชาชาติ เดินทางมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการขับเคลื่อนโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ร้านต้มยำในประเทศมาเลเซีย กับ เชฟทองเลียบ พุกทอง นายกสมาคมเดอะเชฟ ประเทศไทย โดยมี นางเบญจวรรณ ปกป้อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร และ นายอุกฤษฏ์ วัชระพิริยะกุล รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ได้มีการประชุมออนไลน์กับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ร้านต้มยำในประเทศมาเลเซียด้วย 


นอกจากนี้ นางเบญจวรรณ ปกป้อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ยังได้แนะนำอาหารและเครื่องดื่มจากครัวพระนคร วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร โดยไฮไลต์เป็น เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำมะกรูดคั้นสด ผสมน้ำผึ้ง ผัดไทกุ้งสด ส้มตำไทย ตำปูปลาร้า และน้ำรากบัว





















วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"เผ่าภูมิ" เปิด 10 จุดต่าง ทำไม “เขตธุรกิจใหม่” เพื่อไทย เหนือกว่า “EEC”


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงข้อแตกต่างที่ทำให้นโยบาย “เขตธุรกิจใหม่ 4 ภาค” ของพรรคเพื่อไทย เหนือกว่า อีอีซี (EEC) 10 ข้อ โดยมีเนื้อหาดังนี้

1. อีอีซี แก้ปัญหาด้วยปลายเหตุด้วยสิทธิประโยชน์มาล่อใจ “เขตธุรกิจใหม่” เข้าไปแก้ไขต้นตอ ทั้งด้านกฎหมายที่เป็นอุปสรรค (โดยการสร้างกฎหมายธุรกิจชุดใหม่) สร้างสิทธิประโยชน์ชุดใหม่ และสร้างระบบนิเวศน์ใหม่ทั้งระบบ

2. กฎหมายพิเศษในอีอีซี คือกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิประโยชน์ แต่ใน “เขตธุรกิจใหม่” จะมีแพคเกจกฎหมายธุรกิจชุดใหม่ที่ครอบคลุมทุกด้าน เช่น ใบอนุญาต ที่ดินทำกิน การผูกขาดและการแข่งขันทางการค้า การนำเข้าส่งออก แรงงาน วีซ่า ภาษี สิทธิประโยชน์ ธุรกรรมการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา ระบบยุติธรรม เป็นต้น

3. อีอีซี สนับสนุนทุนใหญ่ อุตสาหกรรมหนักไม่กี่ด้าน เพิ่มการผูกขาด แต่ “เขตธุรกิจใหม่” สนับสนุน เปิดโอกาส และเป็นเขตบ่มเพาะทุนย่อยและ SMEs ให้แข่งขันกับทุนใหญ่ได้ เขตธุรกิจใหม่ผนวกกับกฎหมายธุรกิจชุดใหม่ จะเป็นกลไกที่เข้าต่อสู้กับปัญหาทุนผูกขาด ผ่านระบบใบอนุญาตชนิดพิเศษ

4. อีอีซี ขาดสิทธิประโยชน์ด้านการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ แต่ “เขตธุรกิจใหม่” มีกฎหมายที่สนับสนุนและรับรอง เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) และบล็อกเชนของไทย เพื่อธุรกรรมที่ไร้รอยต่อ ค่าใช้จ่ายเข้าใกล้ศูนย์


5. อีอีซี คือจิกซอว์ไม่ครบวงจร แต่ใน “เขตธุรกิจใหม่” ระบบนิเวศน์ที่ครบวงจรจะเป็นฐานให้ภาคเอกชน ทั้งสาธารณูปโภค ทั้งพื้นฐานและด้านดิจิทัล โลจิสติกส์ การเชื่อมมหาวิทยาลัย การผลิตคน และการจับคู่คนกับงาน ผ่านเพลตฟอร์มกลาง รวมทั้งระบบธนาคารและการค้ำประกันสินเชื่อที่ถูกออกแบบโดยเฉพาะ

6. อีอีซี ไม่แก้ปัญหาเรื่องตลาดในประเทศที่เล็ก และปัญหาไทยไม่เชื่อมโลก แต่ “เขตธุรกิจใหม่” สร้างตลาดใหม่ด้วยสนธิสัญญาการค้าและข้อตกลงทางการค้าการลงทุนพิเศษ ที่เป็นทางลัดให้ไทยเชื่อมโลก แก้ไขปัญหาตลาดในประเทศที่เล็ก ด้วยการเชื่อมโลกให้กว้าง

7. อีอีซี และส่วนต่อขยายของอีอีซี จำกัดอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ระเบียงภาคเหนือจำกัดที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อีสานจำกัดที่อุตสาหกรรมหมุนเวียน แต่ “เขตธุรกิจใหม่” เปิดกว้าง โดยเป็นพื้นที่พิเศษที่มีสภาวะแวดล้อมที่สามารถปลดปล่อยศักยภาพของประชาชนในทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด

8. อีอีซี เน้นมิติเดียว ดึงเงินต่างชาติเข้ามาลงทุน “เขตธุรกิจใหม่” เป็น Dual-track ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ดึงเงินนอกเข้าใน สร้างเงินในให้เฟื่องฟู

9. อีอีซี มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เพราะสร้างกฎหมายเพื่อควบคุม แต่ “เขตธุรกิจใหม่” ตั้งใจเข้าไปปลดล็อกทุกหมายที่เป็นอุปสรรค โดยยึดหลัก สิ่งใดที่กฎหมายไม่ได้ห้าม หมายถึงสิ่งนั้นทำได้

10. อีอีซี ขาดกลไกนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ในการดึงเงินต่างชาติ แต่ “เขตธุรกิจใหม่” ดึงเงินต่างชาติด้วยความพร้อมของโครงสร้างใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้น รวมถึงกลไกพิเศษที่จะสามารถ เปิดเขื่อนให้เงินต่างชาติไหลเข้าสู่ประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"ษัษฐรัมย์" ร่วมถกนโยบายประชาชาติ หนุน "รัฐสวัสดิการ" คือทางออก

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานพรรคประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ว่า รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ขับเคลื่อนเรื่องรัฐสวัสดิการว่าด้วยการต่อสู้เรื่องสวัสดิการแรงงาน เดินทางมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็น นโยบาย "การศึกษาเป็นสิทธิ : เรียนฟรีมีคุณภาพ ล้างหนี้ กยศ." (โดยแปลงหนี้เป็นทุน) ร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคประชาชาติ โดยมี นายวันมูหะมัตนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ และ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ได้มีสื่อมวลชนเดินทางมาร่วมสัมภาษณ์ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง และถ่ายทำสกู๊ปข่าวเพื่อนำไปเผยแพร่ด้วย โดยมีคณะกรรมการบริหารพรรค คณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง สมาชิกพรรค และกลุ่มนักศึกษา และคนรุ่นใหม่ของพรรค กว่า 30 คน เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย


รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ระบุว่า "เรียนมหาวิทยาลัยฟรี เท่าสิทธิราชการใช้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ส่วนการล้างหนี้ กยศ.ทำในหลายประเทศ มีทั้งทำให้แบบอัตโนมัติ ตลอดไปแบบนอร์เวย์ ทำแบบมีเงื่อนไข หรือทำแบบเฉพาะกิจ ก็มีได้".... "ตามข้อมูลตัวเลขที่พวกเราทำมามีตัวทวีคูณเศรษฐกิจมหาศาลสามารถเพิ่มรายได้ ของคนรุ่นใหม่ได้ 30 %  สำหรับการล้างหนี้ และเรียนฟรี ปกติคนเราต้องใช้ถึง 10 ปีในการเพิ่มรายได้นี้ มันจะลดหนี้ครัวเรือนและรักษาชีวิตความฝันไว้ได้"


"แต่เราไม่มีคนเริ่ม ไม่มีคนกล้าที่จะพูดเรื่องผิดปกติของสังคม ไม่มีคนแรก ต้องขอบคุณอาจารย์และเพื่อนๆ พรรคประชาชาติฐานเสียงอยู่ในจังหวัดยากจน ยากจนและถูกเลือกปฏิบัติ ผมหวังว่าพรรคประชาชาติ พรรคฝั่งประชาธิปไตย ที่ มี ส.ส.ไม่เยอะ มีฐานเสียงจากจังหวัดยากจน จะเป็นผู้นำให้พรรคการเมืองอื่นกล้าหาญทางนโยบายมากขึ้นครับ" รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ระบุ