วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

รัฐบาลลุยตั้งกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แก้ไฟใต้


นายกฯยิ่งลักษณ์แถลงผลการประชุมลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้
(29 เมษายน 2555) - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมและรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยระบุว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาภาคใต้ มี17กระทรวง66 หน่วยงาน แต่ยอมรับว่าการทำงานยังไม่เป็นเอกภาพ โดยต่อไปจะทำให้มีเอกภาพมากขึ้นและจะตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน โดยมอบให้พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ไปดำเนินการติดตาม

ส่วนงานที่ ศอบต. และ กอ.รมน. ดำเนินการจะให้มีการบูรณาการการทำงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการปราบปรามมากขึ้น โดยการตั้งจุดตรวจและการดูแลพื้นที่ในเมืองให้ตำรวจรับผิดชอบ ส่วนนอกเมืองให้ กอ.รมน. รับผิดชอบ ซึ่งการให้ตำรวจมาช่วยเสริมให้การดูแลใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน นอกจากนี้จะมีการปรับการทำงาน และทำเวิร์คช็อป เพื่อให้การทำงานเป็นทิศทางเดียวกัน

"รัฐบาลเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและผู้นำศาสนา โดยนำนโยบายที่เป็นยุทธศาสตร์หลักด้านความมั่นคงที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา ซึ่งจะเน้นการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ดูแลประชาชนให้มีอาชีพรายได้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสันติสุข ในการดูแลประชาชนให้มีความเสมอภาค"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวอีกว่า การยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชหารในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่นั้นต้องหารือกันก่อน ส่วนแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ได้มอบให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีพาณิชย์ ไปประชุมกับภาคเอกชน ในการพัฒนา 5 จังหวัดภาคใต้ ให้ประชาชนมีรายได้ มีอาชีพ ส่วนการศึกษา และ กีฬา ต้องมีการส่งเสริม ด้านสามัญ ศาสนาและเสริมอาชีพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้นำศาสนาปลื้ม ยิ่งลักษณ์ลงพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้นำศาสนาปลื้ม ยิ่งลักษณ์ลงพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ยิ่งลักษณ์พบหารือผู้นำศาสนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เผยพร้อมช่วยพัฒนาร่วมกันเพื่อสร้างความสงบสุข

นายกฯพบปะผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ณ กอ.รมน.ภาค4สน จ.ปัตตานี
(29 เม.ย. 2555) -  น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างพบปะผู้นำศาสนา 5 จังหวัดภาคใต้ และ ตัวแทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3 จังหวัด ที่ ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ว่าในนามรัฐบาลดีใจที่ได้ลงพื้นที่รับฟังความเห็น ที่เป็นประโยชน์ ในการพัฒนาร่วมกันให้ชาวใต้มีความสงบสุข

ทั้งนี้รัฐบาลจะนำนโยบายที่เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภามาดำเนินการในพื้นที่ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาดูแลในการสร้างอาชีพให้ประชาชน รวมทั้งใช้สันติวิธีดูแลประชาชนแบบเสมอภาค ซึ่งได้มอบให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานดำเนินนโยบาย

ด้าน พระเทพสีลวิสุทธิ วัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ตัวแทนผู้นำศาสนาพุทธ กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่ไม่มีความแตกแยกมีแต่ความหวาดระแวง และจำนวนผู้ปฏิบัติการความไม่สงบมีไม่มาก หากทำงานแก้ปัญหาด้วยความร่วมมือและเข้าใจกันน่าจะทำให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น

ขณะที่ นายดอรอแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ตัวแทนผู้นำศาสนาอิสลาม ได้กล่าวขอบคุณนายกฯ พร้อมระบุว่ายินดี ที่นายกฯและคณะลงพื้นที่ รวมทั้งดีใจที่นายกฯให้ความสำคัญผู้นำศาสนา เพราะการให้ความสำคัญกับผู้นำศาสนาและความร่วมมือกันจะทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น แต่ยอมรับว่าต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้ทุกศาสนิกชนอยู่ร่วมกันได้ดี มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

จับตาความหลากหลายของบรรยากาศ “ปรองดอง” อย่างมี “สติ”


บทความโดย Insider's News Feed นักข่าวประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2555 ประวัติศาสตร์การเมืองไทยอาจต้องจารึกไว้ เพราะทุกสายตาต่างจับจ้องมาที่ประเทศไทย ทั้งสื่อไทยและต่างประเทศ  จากการที่ท่าน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พาคณะรองนายกฯ เดินทางเข้าร่วมรดน้ำขอพร พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ณ บ้านสี่เสาเทเวศร์ เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของวันปีใหม่ไทย และเป็นแบบอย่างที่นายกรัฐมนตรีของไทยควรทำ

'ยิ่งลักษณ์' เข้ารดน้ำขอพร'พล.อ.เปรม' เนื่องในโอกาสปีใหม่ไทย
นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม หนึ่งในบุคคลฝ่ายการเมือง ที่คอยติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ยังได้ให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่า การที่จะทำให้บรรลุความปรองดองและให้ประเทศเดินหน้าไปได้  จำต้องยึดหลักที่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดกับทุกฝ่าย  แต่ต้องไม่ลืมเรื่อง "การค้นหาความจริงและการคืนความยุติธรรม" ให้กับทุกๆฝ่ายอย่างเหมาะสมและไม่หักหาญน้ำใจเกินไป โดยวันนี้ท่าทีของนายกยิ่งลักษณ์ ที่เริ่มต้นด้วยกระบวนการเยียวยาผู้เสียหายและตามด้วยการพยายามลดเงื่อนไขของความแตกแยกต่างๆลง เป็นท่าทีที่ถูกต้อง และเป็นท่าทีที่ควรได้รับการสนับสนุนยิ่ง แต่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่บาดร้าวลึกอย่างยิ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นท่าทีที่มีค่ายิ่งของ "ผู้นำ" ที่ควรชื่นชมและปรบมือให้  อย่างไรก็ดีเรื่องความปรองดองเป็นเรื่องที่มีหลากหลายทางความคิด หลากหลายความเห็น ต้องรับฟังความเห็นต่างอย่างเต็มที่และจริงจังถือเป็นการให้สติ

นางสาว ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
ให้กำลังใจ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด ที่กำลังร่ำไห้
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ยังตรงกับวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 27 ปีของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ "น้องเกด" พยาบาลอาสาผู้เสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เมื่อค่ำวันที่ 19 พฤษภาคม 2553  โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเดินทางไปชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์เพื่อรำลึกถึงและรดน้ำกระดูกของ "น้องเกด" และในวันนั้น น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมาร่วมงานดังกล่าว โดยกล่าวกับประชาชนที่มาร่วมงานว่า “ตนเองไม่ได้มาร่วมงานในฐานะ ส.ส. แต่มาร่วมงานในฐานะผู้สูญเสีย โดยเชื่อว่าเสื้อแดงทุกคนไม่ลืมการสูญเสียในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าการสูญเสีย น้องเกด การสูญเสียคุณพ่อ (พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง) และการสูญเสียคนเสื้อแดงอีกหลายคน ตนอยากให้ทุกคนมั่นใจ และเชื่อใจกระบวนการยุติธรรม เพราะถ้าเราไม่เชื่อ เราก็ไม่สามารถเชื่อใครได้นอกจากตัวเอง และที่ตนมายืนตรงนี้ เป็นผลมาจากการต่อสู้ของขบวนการ ซึ่งไม่ใช่การตอบแทน จึงขอให้อย่าหยุดสู้เพราะเรื่องไม่เป็นเรื่อง และอยากให้ทุกคนมีความหวัง แม้ว่าคุณแม่น้องเกดจะเสียน้องเกด ส่วนเดียร์เสียพ่อ แต่ทุกคน ก็ต้องอยู่ไปให้ได้ แม้เราไม่มีใครในชีวิต แต่เราต้องดำเนินต่อไป อยากเป็นกำลังใจให้ทุกคน อย่าเสียกำลังใจ อย่าคิดว่าใครทอดทิ้ง"

ในความหลากหลายของบรรยากาศปรองดอง ก็ยังมีความน่าสนใจจนต้องตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดในวันที่มีการรดน้ำกระดูกของน้องเกด มีสื่อมวลชนที่เคยแสดงออกชัดเจนว่าไม่ชอบรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดง กลับพาทีมถ่ายทอดสดไปตั้งรอเก็บภาพด้วยความสนใจ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีท่าทีจะสนใจ แถมยังแสดงความคิดเห็นเชิงอคติในทางลบกับคนเสื้อแดงมาโดยตลอด และไม่เคยสนใจถึงความสูญเสียใดของกลุ่มคนเสื้อแดงเลย และที่น่าแปลกใจไปกว่านั้น ในวันต่อมา พาดหัวข่าวหน้า 1 ของสื่อฝ่ายไม่ชอบรัฐบาล ได้นำภาพท่านนายกฯและคณะฯเดินทางไปรดน้ำขอพรพลเอกเปรม มาขึ้นคู่กับภาพการรดน้ำกระดูกของน้องเกด จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การที่สื่อมวลชนแสดงออกในท่าทีสนองไปในทางยุยงให้คนในบ้านเมือง ในประเทศเดียวกันเกิดความแตกแยก ย่อมไม่ใช่บรรยากาศการปรองดองที่ดี ที่ทุกคนต้องการอยากเห็น อยากให้เกิดขึ้น อย่างแน่นอน

ขัตติยา สวัสดิผล - "แม้เราไม่มีใครในชีวิต แต่เราต้องดำเนินต่อไป
อยากเป็นกำลังใจให้ทุกคน อย่าเสียกำลังใจ อย่าคิดว่าใครทอดทิ้ง"
การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ นอกจากจะต้องค้นหาความจริงและการคืนความยุติธรรมให้กับทุกๆฝ่ายอย่างเหมาะสมและเยียวยาให้กับผู้สูญเสียแล้ว ทุกคนในชาติยังคงต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศความปรองดองให้เกิดขึ้น หันหน้าเข้าหากัน จับมือกัน ร่วมกันเดินให้ผ่านพ้นความแตกแยกนี้ไปให้ได้อย่างมีสติที่สุด ใจเย็นที่สุด และอดทนที่สุด ตามคำกล่าวของ น.ส.ขัตติยา ผู้ที่ต้องสูญเสียคุณพ่ออันเป็นที่รักยิ่งไปตลอดกาล ว่า “เดียร์ รู้สึกไม่แตกต่างจากแม่น้องเกด แต่อยากให้ทุกคนใจเย็นเหมือนเดียร์ และเชื่อว่าคุณพ่อของเดียร์ และน้องเกดจะใจเย็นไปกับพวกเรา”


บทความที่เกี่ยวข้อง
ไทยรัฐ - กลุ่ม "เสรีราษฎร" กับกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต จัดกิจกรรม "รดน้ำเถ้ากระดูกอาสาพยาบาลกมนเกด ในโอกาสครบรอบวันเกิดอายุครบ 27 ปี"
InsideThaiGOV - “วาทะกรรมสกัดปรองดอง กรรมของประเทศไทย”
Youtube - Khattiya Sawasdipol's speech - Remembering Lives Lost
CNN - Red Shirts Commemorate the six victims killed in May's military crackdown

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

นักธุรกิจไทยเชื่อมั่น รัฐบาลยิ่งลักษณ์ดันการค้าไทย-จีน แสนล้านดอลล่าร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ที่ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555 เป็นการสัมภาษณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนจีนและญี่ปุ่น โดยมี นายธีรัตถ์ รัตนเสวี ดำเนินรายการ

นายกฯยิ่งลักษณ์หารือข้อเสนอนักธุรกิจไทย
ก่อนที่จะมีการเจรจาทางการค้ากับจีน
นายกฯ กล่าวถึง การเดินทางไปเยือนประเทศจีนว่า ถือว่าครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากจีนอย่างดีในลักษณะการเยือนของผู้นำระดับสูง มีประธานาธิบดีหู จิ่น เทา และรองประธานาธิบดี  รวมทั้งประธานสภา มีโอกาสได้พบหลายท่าน การเดินทางครั้งนี้เรียกว่าทวิภาคี ไปหารือกับจีน ต่อเนื่องจากที่รองปธน.จีนที่มาเยือนไทย ในกรอบความร่วมมือทางยุทธศาสตร์รอบด้านระหว่างไทยกับจีน ทั้งการค้า ท่องเที่ยว พลังงาน การศึกษา วัฒนธรรม และในกรอบของการหารือก็จะลงรายละเอียดมากขึ้น เช่น เพิ่มมูลค่าการค้าขายอย่างน้อย 20% ต่อปี การลงทุน 15% ต่อปี การท่องเที่ยว 20 % ต่อปี
        
ในด้านการค้าก็จะมีการกำหนดกลุ่มคณะทำงาน เช่น ข้าว มันสำปะหลัง หรือเรื่องของพลังงาน จีนก็ให้ความสำคัญเรื่องพลังงานสีเขียว มีการหารือเรื่องพลังงานทดแทน และมีการลงนามเอ็มโอยูถึง 7 ฉบับ
        
นายกฯ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เชิญนักธุรกิจไปหารือถึง 107 บริษัท และมีนักธุรกิจที่จีนเข้ามาหารือกันถึง 800 บริษัท จีนก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เราก็อาศัยเวทีนี้ และจีนก็ให้ความสำคัญกับไทยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง ยกระดับการเยือนกันบ่อยขึ้น ยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชน และประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงกรณีของหมีแพนด้าที่เราจะต้องส่งคืนในปี 2556 ทางจีนก็ให้อยู่ต่อ เป็นสัญลักษณ์ความเชื่อมโยงต่อเนื่องในเรื่องนี้ด้วย
        
ในเรื่องการค้าเราจะได้มีข้อตกลงที่ชัดเจนในการค้าขายกับจีน ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ ข้าว มันสำปะหลัง ผลไม้ จะเพิ่มจำนวนสินค้าและลดอุปสรรคต่างๆ ก็จะต้องเพิ่มหน่วยในการดูแล ในส่วนของการท่องเที่ยวก็อยากเห็นเป้าหมายจีนเข้ามาท่องเที่ยวไทยเพิ่มเป็น 2 ล้านคนภายในอีก 1 ปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.7 ล้านคน
        
ส่วนเป้าหมายการค้าตั้งเป้าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์ ใน 5 ปี ซึ่งทางจีนบอกว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่เขาก็เชื่อว่าจะบรรลุได้ตามที่หวังไว้ ส่วนเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ความกังวลจะต่างจากญี่ปุ่น แต่เราก็ใช้โอกาสนี้ชี้แจง เขาก็เข้าใจเพราะเขาก็เคยเจอสภาพนี้มานาน เขาทำเรื่องการบริหารจัดการน้ำมานานแล้วเกินกว่า 20 ปี
        
นอกจากนี้ได้พบนักธุรกิจลงทุนของจีนที่จะลงทุนในไทยประมาณ 14บริษัท มีเป้าหมายลงทุนในไทย หลายบริษัทสำรวจพื้นที่แล้วและมีแนวโน้มลงทุนตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมใหญ่


ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ
ประธานกรรมการ บริษัทสหฟาร์มจำกัด
ทางด้าน ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ ประธานกรรมการ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จของการเดินทางร่วมกับคณะนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยือนประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17 24 เมษายน 2555 ว่า “นายกรัฐมนตรีและคณะได้สร้างความเชื่อมั่นแก่รัฐบาล นักธุรกิจของประเทศคู่ค้าเป็นอย่างดี และนักธุรกิจไทยจำนวนมากได้รับการประสานจากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ไทยเป็นพันธมิตรทางธุรกิจการค้า 

ดร.มนูญศรี กล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ขอให้ประเทศญี่ปุ่นซื้อไก่จากไทย กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงต่างประเทศรีบเข้ามาดูแลขั้นตอนด้านกฎหมาย ภาษี และมาตรฐานทางอุตสาหกรรมทุกอย่าง โดยหลังจากวันที่ 2 กรกฎาคมนี้ ประเทศไทยจะได้ส่งออกไก่สดแช่แข็งไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก ซึ่งคาดหมายว่าจะสามารถจำหน่ายไก่สดแช่แข็งให้ตลาดญี่ปุ่นได้เบื้องต้นไม่น้อยกว่า 200,000 ตัน/ปี รวมถึงยอดการสั่งซื้อของเกาหลีไม่ต่ำกว่า 100,000ตัน/ปี และจีนที่มีกำลังซื้อสูง จะบริโภคไก่จากไทย ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านตัว/ปี” 

นอกจากนี้ ดร.มนูญศรี ยังกล่าวถึงความประทับใจในการเดินทางร่วมคณะผู้แทนการค้ากับนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ว่า “ดิฉันพอใจอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสนั่งเครื่องบินร่วมกับรัฐบาลชุดนี้ เพราะนายกฯรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์เดินจากที่นั่งส่วนตัวมายังที่นั่งของนักธุรกิจไทย และร่วมสนทนากับปัญหาของนักธุรกิจไทยอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาในการเดินทางลนเครื่องบินกว่า 5 ชั่วโมง นอกจากนั้น ในวันรุ่งขึ้น นายกฯรัฐมนตรีไม่ได้รับประทานอาหารเช้า แต่เปลี่ยนโต๊ะอาหารเป็นโต๊ะประชุม โดยนั่งสนทนาทุกเรื่องที่นักธุรกิจไทยต้องการให้นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐบาลไปเจรจาการค้ากับรัฐบาลของแต่ละประเทศทุกวัน” 

“ดิฉันเลยบอกว่า หากรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์จะไปประเทศไหนอีก ดิฉันจะขอไปด้วย ดิฉันตามคณะไปกี่คณะ ไม่เคยเลยที่มีคณะไหนมานั่งคุยกับดิฉันขนาดนี้ ไม่เคยมีใครมาเปิดโต๊ะคุยกับผู้ประกอบการมากขนาดนี้  ดิฉันบอกได้เลยว่า จะถูกใจ ไม่ถูกใจใครไม่ทราบ ทราบแต่ว่าถูกใจดิฉัน ใครมองไม่เห็น แต่ดิฉันมองเห็น เพราะท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ตั้งใจทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวม ทิ้งความสุขสบายส่วนตัว ทำงานเสียสละให้ประเทศชาติ ดิฉันประทับใจค่ะ” 
        

ยิ่งลักษณ์ เผยผลเยือนจีน ตั้งเป้าการค้า 1 แสนล้านดอลลาร์



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ที่ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555 เป็นการสัมภาษณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนจีนและญี่ปุ่น โดยมี นายธีรัตถ์ รัตนเสวี ดำเนินรายการ
       
นายกฯ กล่าวถึง การเดินทางไปเยือนประเทศจีนว่า ถือว่าครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากจีนอย่างดีในลักษณะการเยือนของผู้นำระดับสูง มีประธานาธิบดีหู จิ่น เทา และรองประธานาธิบดี  รวมทั้งประธานสภา มีโอกาสได้พบหลายท่าน การเดินทางครั้งนี้เรียกว่าทวิภาคี ไปหารือกับจีน ต่อเนื่องจากที่รองปธน.จีนที่มาเยือนไทย ในกรอบความร่วมมือทางยุทธศาสตร์รอบด้านระหว่างไทยกับจีน ทั้งการค้า ท่องเที่ยว พลังงาน การศึกษา วัฒนธรรม และในกรอบของการหารือก็จะลงรายละเอียดมากขึ้น เช่น เพิ่มมูลค่าการค้าขายอย่างน้อย 20% ต่อปี การลงทุน 15% ต่อปี การท่องเที่ยว 20 % ต่อปี
       
ในด้านการค้าก็จะมีการกำหนดกลุ่มคณะทำงาน เช่น ข้าว มันสำปะหลัง หรือเรื่องของพลังงาน จีนก็ให้ความสำคัญเรื่องพลังงานสีเขียว มีการหารือเรื่องพลังงานทดแทน และมีการลงนามเอ็มโอยูถึง 7 ฉบับ
       
มีสิ่งที่เป็นความคืบหน้าคือ ความร่วมมือรถไฟความเร็วสูง ก็มีการลงนามที่จะศึกษาความต้องการของทั้งสองประเทศใน 3 เดือน และความร่วมมือในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ มีโอกาสไปดูแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำของจีนด้วย
       
นายกฯ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เชิญนักธุรกิจไปหารือถึง 107 บริษัท และมีนักธุรกิจที่จีนเข้ามาหารือกันถึง 800 บริษัท จีนก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เราก็อาศัยเวทีนี้ และจีนก็ให้ความสำคัญกับไทยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง ยกระดับการเยือนกันบ่อยขึ้น ยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชน และประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงกรณีของหมีแพนด้าที่เราจะต้องส่งคืนในปี 2556 ทางจีนก็ให้อยู่ต่อ เป็นสัญลักษณ์ความเชื่อมโยงต่อเนื่องในเรื่องนี้ด้วย
       
ในเรื่องการค้าเราจะได้มีข้อตกลงที่ชัดเจนในการค้าขายกับจีน ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ ข้าว มันสำปะหลัง ผลไม้ จะเพิ่มจำนวนสินค้าและลดอุปสรรคต่างๆ ก็จะต้องเพิ่มหน่วยในการดูแล ในส่วนของการท่องเที่ยวก็อยากเห็นเป้าหมายจีนเข้ามาท่องเที่ยวไทยเพิ่มเป็น 2 ล้านคนภายในอีก 1 ปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.7 ล้านคน
       
ส่วนเป้าหมายการค้าตั้งเป้าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์ ใน 5 ปี ซึ่งทางจีนบอกว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่เขาก็เชื่อว่าจะบรรลุได้ตามที่หวังไว้ ส่วนเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ความกังวลจะต่างจากญี่ปุ่น แต่เราก็ใช้โอกาสนี้ชี้แจง เขาก็เข้าใจเพราะเขาก็เคยเจอสภาพนี้มานาน เขาทำเรื่องการบริหารจัดการน้ำมานานแล้วเกินกว่า 20 ปี
       
นอกจากนี้ได้พบนักธุรกิจลงทุนของจีนที่จะลงทุนในไทยประมาณ 14บริษัท มีเป้าหมายลงทุนในไทย หลายบริษัทสำรวจพื้นที่แล้วและมีแนวโน้มลงทุนตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมใหญ่
       
ที่ไปมีโอกาสเยี่ยมศูนย์บรรเทาสาธารณภัย เหมือนที่ไทยกำลังตั้งเรื่องซิงเกิล คอมมาน แต่ของจีนเขารวมศูนย์จริงๆทั้งระบบน้ำและอุทกภัยเข้าไว้ด้วยกันภายใต้การทำงานของกระทรวงน้ำที่แยกต่างหากและมีกฎหมาย 3 ฉบับรองรับ รวมทั้งมีศูนย์วอรูมที่เชื่อมต่อจากเมืองทุกเมืองของจีน ติดตั้งวงจรปิด ซึ่งก็จะเป็นแนวทางที่ไทยวางไว้ แต่ของเราอาจไม่ไปเท่ากับจีนณ วันนี้ เพราะเราต้องบูรณาการ 17 กระทรวงที่เกี่ยวกับน้ำ แต่เรายังไม่มีกฎหมายรองรับ มีกฎหมายภายใต้สำนักนายกฯที่มาใช้อยู่ หรืออย่างกรณีเกาหลีที่เจอภัยพิบัตเขาก็รวม แต่ของเรากระจายทุกที่ สิ่งที่เราต้องทำคือเอาข้อมูลทุกระบบมาเชื่อมที่เดียวกัน ดึงผู้เชี่ยวชาญ วางระบบคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมต่อ และดูกฎหมายที่จะมารองรับ การทำงานต้องทำให้มีการวมศูนย์ที่เกิดเอกภาพที่ชัดเจน เบื้องต้นก็ต้องยืมตัวทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องมานั่งที่ศูนย์นี้ มาช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ สิ่งที่เราเห็นอีกส่วนคือจีนมีระบบท่อส่งน้ำ เชื่อมต่อจากเขื่อนหรือบึงต่างๆเพื่อใช้ในการเกษตรกรรมด้วย
       
วันนี้เราได้ขอความร่วมมือให้จีนส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำมาทำงานกับศูนย์กบอ. ในแง่ของรัฐต่อรัฐเข้ามาช่วยเราในลักษณะที่เป็นที่ปรึกษา ทำงานกับกบอ.ซึ่งจะช่วยดูแลก่อนที่จะถึงฤดูฝนปีนี้
       
นายกฯ กล่าวถึง กรณีที่ไปเยือนเมืองเทียนจินเป็นเมืองเกิดของนายกฯเวิน เจีย เป่า เมืองที่เราไปเป็นการวางผังเมืองเทียนจิน มีการทำเป็นโซนนิ่ง เช่น โซนอิตาลี โซนอังกฤษ และยังมีรถไฟความเร็วสูงเข้าไปด้วย หลังจากที่มีรถไฟความเร็วสูงเศรษฐกิจของจีนก็โตขึ้นเยอะ และมีการเชื่อมโยงรถไฟ ถนน เรือ มีโซนนิ่งของท่าเรือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำอย่างไรให้มีเครื่องมือของภาครัฐในการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน เป็นการวางผังเมืองที่น่าสนใจ การโยงเรื่องผังเมืองกับผังน้ำ กรณีของเราก็ต้องดูในเรื่องการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเราดูว่าเมื่อน้ำไหลแล้วไปเจอถนนแล้วจะทำอย่างไร โดยเฉพาะพื้นที่ปลายน้ำ เมื่อน้ำไหลไปแล้วเจอถนน สิ่งก่อสร้าง ขวางไว้แล้วน้ำก็ไม่ไป ก็ต้องมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แต่ก็ไม่สามารถรองรับมวลน้ำขนาดใหญ่ เราก็ต้องมาวางแผนตรงนี้ด้วย
       
ที่มีโอกาสไปนั่งรถไฟความเร็วสูง 350 กม.ต่อชั่วโมง เป็นเส้นทางแรกของจีนและเส้นทางแรกของโลก ซึ่งรถไฟนี้ประกอบที่จีนทั้งหมด และจีนเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากที่สุด ก็เป็นความชำนาญ และเราก็มีโอกาสไปนั่งรถไฟความเร็วสูงนี้ด้วย ซึ่งความเร็วที่ทำให้ระยะเวลาลดลง ทำให้รองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก ซึ่งระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น เขาก็จะใช้ลักษณะรองรับเมืองต่อเมือง ดังนั้นการวางผังรถไฟแต่ละสถานีก็ต้องจำเป็นต้องวางแผนในเรื่องจุดเชื่อมต่อของแต่ละสถานี ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับไทยความเจริญที่จะเข้าไปในแต่ละพื้นที่ก็จะมากขึ้น และต้องรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางโดยเฉพาะจังหวัดรอบนอกที่จะเข้ามาก็จะต้องสะดวกขึ้นหรือในเรื่องการขนส่งก็ต้องลดค่าใช้จ่ายเรื่องการขนส่งในระยะยาว เช่น ของจีนกลางวันใช้ระบบเก่าที่เขาจะใช้วิ่ง กลางคืนก็ใช้ในการขนส่งสินค้า และที่สำคัญทุกส่วนของการใช้รถไฟจะคำนึงถึงการประหยัดพลังงานและมลภาวะ

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ครม.อนุมัติ พักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย-ผู้มีรายได้น้อย 3 ปี


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเสนอหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหาย และผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงโครงการพักหนี้ให้กับลูกหนี้ดีเด่นที่มีมูลหนี้อยู่กับธนาคารของรัฐรวมกันไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมด้วยตัวเองเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบโครงการพักชำระหนี้เกษตรรายย่อย และครัวเรือน  ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นดีของสถาบันรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) จำนวน 3,400,000 ราย คิดเป็นมูลค่าหนี้ 46,000 ล้านบาท  โดยจะพักชำระเงินต้น เป็นเวลา 3 ปี พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 3 โดยทั้ง 4 ธนาคาร และรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ย ซึ่งผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการต้องมีหนี้คงค้างไม่เกินรายละ 500,000 บาท ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคมถึง 20 สิงหาคม

นอกจากนี้ ครม.มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย หรือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท อาทิ การจัดโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาเครื่องจักรวงเงิน 20,000 ล้านบาท การยกเว้นภาษีนิติบุคคล จากการขายเครื่องจักรเก่า เพื่อซื้อเครื่องจักรเก่า ในปี 2555 และนำส่วนต่างค่าที่เพิ่มขึ้นไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลได้ 1.5 เท่า ทั้งนี้ ครม.ยังขยายเวลายกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลออกไป

ครม.อนุมัติงบเยียวยาเหตุรุนแรงภาคใต้ 2,080 ลบ.รวมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ"


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเสนอหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหาย และผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมด้วยตัวเองเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบอนุมัติงบกลาง 2,080 ล้านบาท เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้ารัฐ ผู้ที่ถูกกระทำโดยเจ้าหน้ารัฐ และผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีโดยเป็นธรรม ทั้งนี้ จะพิจารณาจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์การเยียวยาของ ปคอป. ที่ผู้เสียชีวิตหรือผู้ทุพพลภาพจะได้เงินเยียวยารายละ 500,000 บาท ส่วนผู้ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ จะได้รับเงินเยียวยาไม่เกิน 7,000,000 บาท คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าวได้ภายใน 2 สัปดาห์

คณะรัฐมนตรีได้อมีการอนุมัติงบประมาณ 2,080 ล้านบาท เพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน เสนอโดยแบ่งผู้ได้รับผลกระทบออกเป็น4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ประชาชนทั่วไป ซึ่งมีตัวเลขผู้เสียหายจากเหตุการณ์ทั้งบาดเจ็บ และ เสียชีวิตรวม 10,334 คน จะได้รับการเยียวยาภายใต้ วงเงิน 500 ล้านบาท 2.กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ วงเงิน 200 ล้านบาท 3.กลุ่มผู้ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ในเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ และ ตากใบ วงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 3.ผู้ถูกคุมขังหรือถูกดำเนินคดี ซึ่งมีหลักฐานว่า ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด วงเงิน 300 ล้านบาท  

รวมทั้ง 4 กลุ่ม มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 16,000 คน จะได้รับการเยียวยาภายใต้วงเงิน 2,000 ล้านบาท อีก 80 ล้านบาท ใช้เป็นค่าดำเนินการส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี โดยจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ 8 คณะ เพื่อพิจารณาแต่ละกรณี ภายใต้หลักเกณฑ์ของคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ ปคอป. ร่วมพิจารณาด้วย ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี อนุมัติภายใน 2 สัปดาห์ จะสามารถจ่ายเงินชดเชยเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบได้

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

“วาทะกรรมสกัดปรองดอง กรรมของประเทศไทย”

บทความโดย กองบรรณาธิการ InsiderNewsFeed

นายภูมิธรรม เวชยชัย
ณ วันที่ 22 เมษายน 2555 คงเป็นอีกวันที่การเมืองไทยถูกบันทึกในหน้าข่าวของสื่อฯต่างๆ ถึงความขัดแย้ง ความไม่ลงรอย การไม่ยอมรับในความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งนำผลให้ภาพรวมของบรรยากาศปรองดอง เป็นไปในทางลบ ไม่แปลกที่สังคมประชาธิปไตย จะมีหลายฝ่ายที่มีแนวคิดไม่สอดคล้องกัน จนอาจนำพาความขัดแย้งตามมา ด้วยเหตุผลนี้ จึงจำเป็นต้องมีการบัญญัติมาตรากฎหมายต่างๆมาเพื่อรองรับแนวปฏิบัติที่สังคมยอมรับได้ โดยวัดจากเสียงข้างมาก มาเป็นตัวกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่คนส่วนใหญ่ต้องการ และเป็นการแสดงออกถึงการเคารพซึ่งกันและกัน และการมีวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมนั้นๆ อีกทั้งเป็นส่วนผลักดันให้ประเทศที่สังคมนั้นๆอาศัยอยู่ร่วมกัน มีแนวทางที่จะเดินหน้าผลักดันให้ประเทศนั้นๆเจริญก้าวหน้าต่อไปได้

นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นอีกคนหนึ่งที่รู้สึกถึงภาวะความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ผ่านวาทะกรรมทางการเมือง ที่สามารถถ่ายทอดและสะท้อนแนวคิดของฝ่ายที่ผลิตวาทะกรรมได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งการนำวาทะกรรมมาเพื่อใช้จูงใจ ในการหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้อย่างแนบเนียนนั้น กำลังแสดงออกได้ชัดเจนว่าสังคมกำลังดีขึ้นหรือเสื่อมถอยลง

นายภูมิธรรม กล่าวว่า "การสถาปนาความยุติธรรมของผู้ชนะ","เสียงข้างมากลากไป", ล่าสุดคือ "ทวงคืนอำนาจจากนักการเมืองเลว" ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆร้อนๆหน้าสโมสรทหารบก เมื่อวานนี้ ดูเหมือน Movement. และวาทกรรมการเมืองเหล่านี้ เกิดขึ้นมาในช่วงสถานการณ์ที่มีการเรียกร้องและมีการดำเนินการเพื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกสถาปนาขึ้นและเป็นผลิตผลที่ต่อเนื่องของการใช้อำนาจรัฐประหารฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนร่างขึ้นในปี พ.ศ.2540

“ไทยเป็นประเทศที่แปลก ตลอดเวลา 80ปีของประชาธิปไตยไทย เราไม่เคยมีความอดทนที่เพียงพอเลยที่จะปล่อยให้ระบอบประชาธิปไตยเราได้พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น แปลกแต่จริง ในการเมืองไทย เวลามีรัฐประหารยึดอำนาจ ล้มล้างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แล้วสถาปนาความชอบธรรมของตนขึ้น เรายังไม่ค่อยได้เห็นพรรคฝ่ายค้านและนักวิชาการที่มีบทบาทหลายคน ได้ออกมาต่อต้านและแสดงตนคัดค้านการรัฐประหารที่สถาปนา "ความยุติธรรมของผู้ชนะ" เลย ตรงข้ามกลับเห็นแต่ท่าที การยอมรับ "คณะรัฐประหารในฐานะองค์รัฐฐาธิปัตย์ที่มีความชอบธรรมและหวังดีต่อบ้านเมือง" คนที่ไม่เคยต้ังคำถาม "ความยุติธรรมของผู้ชนะ" ต่อคณะรัฐประหาร วันนี้เขาควรยังมีสิทธิ์มาตั้งคำถามนี้กับผู้อื่นหรือไม่?”

นายภูมิธรรม ยังกล่าวอีกว่า มีอีกวาทกรรมหนึ่งที่น่าอึดอัดใจคือวาทกรรม "เสียงข้างมากลากไป" ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นจากฝ่ายเสียงข้างน้อย ซึ่งเชื่อว่านักเรียนรัฐศาสตร์คงงงอยู่เวลานี้ "เสียงข้างน้อย"ในสังคมประชาธิปไตยไทย กำลังพยายามลากถูลู่ถูกังให้ระบอบประชาธิปไตยไทยเกิดพลิกผันแปลกๆ และแตกต่างไปจากประชาธิปไตยของที่อื่นๆเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แต่เมื่อพวกตนสูญเสียอำนาจหรือสูญเสียบทบาทลงไป ก็มักหันกลับมาคิดค้น ประดิษฐวาทกรรมใหม่ๆ ที่อำนวยประโยชน์ให้พวกตน โดยมิได้คำนึงถึงหลักการใดๆ การเคลื่อนไหว "ทวงคืนอำนาจจากนักการเมืองเลว" ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้หน้าสโมสรทหารบก เป็นสัญญาณเตือนภัยที่เป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจน ต้องขอบคุณกองทัพบกและปรบมือให้ผู้บัญชาการทหารบกที่ไม่ยอมให้กองทัพถูกชักนำเข้าไปเป็นเครื่องมือให้กลุ่มคนเหล่านั้น

นายภูมิธรรม ยังกล่าวอธิบายเพิ่มเติมว่า เราจำเป็นต้องตั้งอยู่บนหลักประชาธิปไตยและยืนอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงและความยุติธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ใช้เวลาในการทำความเข้าใจและรู้จักให้อภัย เพื่อจะก้าวข้ามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไปให้ได้ ที่สำคัญ ต้องเร่งทำความจริงให้ปรากฎและให้คนที่เป็นผู้นำสูงสุดที่รับผิดชอบในระดับนโยบาย ผู้นำสูงสุดในระดับนโยบายในขณะเกิดเหตุการณ์ ต้องยอมรับผิดและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ผิดพลาดร้ายแรงที่เกิดขึ้น จึงจะจบลงได้ด้วยดี

นอกจากนี้ นายภูมิธรรม ยังได้แสดงความคิดเห็นต่อท่าทีการดำเนินการเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลว่า เมื่อได้ฟังการอภิปรายของฝ่ายค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ2 ตลอด 6วันที่ผ่านมา ถือว่าพรรครัฐบาลมาถูกทาง และต้องช่วยกันเฝ้าจับตามองการเคลื่อนไหวต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เพราะเป็นการส่งสัญญาณแปลกๆที่ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย

“เรื่องความปรองดอง" ก็เห็นด้วยกับหลายคนว่า "เรื่องการสร้างความปรองดอง ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ” นายภูมิธรรม กล่าว

เสียงจากทุกฝ่ายที่ต่างฝ่ายต่างสะท้อนความคิดเห็น หรือวาทะกรรมกันมาล้วนเป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ที่ไม่ว่าใครก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่เนื่องจาก 5 – 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศบอบช้ำจากการกระทำของผู้ที่อยู่ร่วมประเทศเดียวกันมามากแล้ว ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ “การปรองดอง” จะเข้ามามีบทบาททั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือจะให้ “การปรองดอง” เป็นแค่ “วาทะกรรมทางการเมือง” ที่จับต้องไม่ได้ และสัมผัสไม่ถึง

ยิ่งลักษณ์เชิญญี่ปุ่นลงทุนท่าเรือน้ำลึก-นิคมอุตสาหกรรมทวาย

การประชุมผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว เสร็จสิ้นลงแล้วอย่างเป็นทางการ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหภาพพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และผู้นำญี่ปุ่น ได้แถลงร่วมกัน


นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า "ทุกประเทศในอนุภูมิภาคมีความเชื่อมโยง พึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ได้ ไทยจึงมีนโยบายให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศลุ่มน้ำโขงในกรอบทวิภาคีมานานกว่า 20 ปี ดิฉันขอชื่นชมที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศลุ่มน้ำโขงจำนวน 6 แสนล้านเยนในช่วง 3 ปีข้างหน้า

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงด้านคมนาคมถือเป็นเสาหลักในการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยช่วยเชื่อมโยงพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญให้ได้รับการพัฒนา ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ไทยจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค

นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "รู้สึกพอใจกับผลการประชุมในครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีการรับรองยุทธศาสตร์โตเกียว ที่เป็นแผนปฏิบัติการที่ญี่ปุ่น จะทำงานกับประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นเวลา 3 ปี โดยแผนยุทธศาสตร์มี 3 เสาหลัก คือ การส่งเสริมความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม เสาหลักที่สอง คือการพัฒนาร่วมกัน ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า การลงทุน รวมถึงนโยบายที่ส่งเสริมภายในภูมิภาค กับประเทศทั่วโลก เสาหลักที่สาม คือการให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตสตรีและเด็ก รวมถึงปัญหาภัยพิบัติ และความมั่นคงทางอาหาร สำหรับประเทศไทย จะให้การสนับสนุนการพัฒนาร่วมกับญี่ปุ่น ในการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และแนวพื้นที่เศรษฐกิจทางใต้ ไม่ให้มีเพียงเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยง รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ พร้อมทั้งเชิญชวนญี่ปุ่นสนับสนุนและมีส่วนร่วมโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวายในสหภาพพม่า และเสนอให้ญี่ปุ่นร่วมกันจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง"

ป้ายขนาดใหญ่แสดงให้เห็นบริเวณการก่อสร้างถนนขนาด 8 ช่องจราจรเชื่อมกับไทย
ที่ บริเวณพุน้ำร้อน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า ท่าเรือน้ำลึกทวายและเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมทวายกับกาญจนบุรี จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิต และเป็นฮับโล-จิสติกส์ในด้านการนำเข้าส่งออกของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เพราะไทยจะมีการสั่งซื้อวัตถุดิบทางทะเลจากพม่าผ่านทาง ถนนสายทวาย-พุน้ำร้อน ระยะทาง 160 กิโลเมตร และจะส่งออกไปยังภูมิภาคอินโดจีนได้อย่างสะดวก ความคาดหวังของไทยที่เคยประกาศไว้ว่าจะเป็นครัวของโลกก็จะเป็นความจริง

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

"ยิ่งลักษณ์" โชว์ศักยภาพผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ยืนยันให้ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนพัฒนาลุ่มน้ำโขง


วันนี้ (21 เม.ย. 55) เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “Cooperation Between Japan and Mekong Region Countries”ณ ห้อง Hagoromo พระราชวัง Akasaka ดังนี้ นายกรัฐมนตรีเดินทางถึงพระราชวัง Akasaka โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น รอรับ จากนั้นเมื่อผู้นำทั้งหมดเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีร่วมถ่ายภาพกับผู้นำลุ่มน้ำโขงและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ณ ห้อง Sairan จากนั้น ผู้นำฯและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ณ ห้อง Hagoromo

เมื่อเริ่มต้นการประชุม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวเปิดการประชุม และเริ่มต้นการประชุมด้วยประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือลุ่มน้ำโขง- ญี่ปุ่น โดยผู้นำแต่ละประเทศจะได้มีการนำเสนอความคิดเห็น และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะเป็นผู้สรุปในตอนท้าย โดยนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอในประเด็นความร่วมมือดังกล่าว สรุปดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าว ถึงการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา เพราะเห็นว่าทุกประเทศในอนุภูมิภาคมีความเชื่อมโยง พึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ได้ ไทยจึงมีนโยบายให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศลุ่มน้ำโขงในกรอบทวิภาคีมานานกว่า 20 ปี

โดยนายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศลุ่มน้ำโขงจำนวน 6 แสนล้านเยนในช่วง 3 ปีข้างหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงด้านคมนาคมถือเป็นเสาหลักในการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยช่วยเชื่อมโยงพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญให้ได้รับการพัฒนา ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ไทยจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่ผ่านมา ไทยให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกือบ 20 โครงการ และในปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกราว 883 ล้านเยนหรือประมาณ 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการให้ความช่วยเหลือทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความช่วยเหลือทางวิชาการต่อประเทศลุ่มน้ำโขง

"ยิ่งลักษณ์" โชว์ศักยภาพผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ยืนยันให้ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนพัฒนาลุ่มน้ำโขง
ให้ความสำคัญช่วยประเทศเพื่อนบ้านเดินหน้าประชาคมอาเซียน ค.ศ 2015
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างความร่วมมือที่สำคัญที่ได้ร่วมกันดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คือ การจัดการประชุมระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาแนวพื้นที่ เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และแนวพื้นที่เศรษฐกิจทางใต้ ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงเส้นทางเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกัน ทั้งนี้ ดิฉันเห็นว่า ไทยและญี่ปุ่นอาจขยายเป้าหมายการดำเนินความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำเพื่อความมั่นคงของแนวพื้นที่เศรษฐกิจดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงการเพิ่มความสามารถในการรองรับความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยพิบัติให้กับพื้นที่เศรษฐกิจ ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าว โดยใช้ประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่นในเรื่องการเตรียมพร้อมและการบริหารจัดการภัยพิบัติ

สำหรับเส้นทางตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจทางใต้นั้น นายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลไทยสนับสนุนการเชื่อมโยงโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยจะบรรจุโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างกรุงเทพฯ กับชายแดน ไทย-เมียนมาร์ ในแผนงานงบประมาณตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปด้วย จึงขอเชิญญี่ปุ่นพิจารณาให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวต่อไปด้วย นอกเหนือจากความร่วมมือในกรอบลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ไทยเห็นว่าญี่ปุ่นสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดน ทั้งในกรอบอาเซียน+1 และอาเซียน+3 ด้วยการอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดนเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยไทย เวียดนาม และ สปป. ลาวจะจัดการประชุม 3 ฝ่ายตามเส้นทางแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และเส้นทางอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงไทย-สปป. ลาว และเวียดนาม เช่น เส้นทางหมายเลข 12

นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการเสนอร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดนให้รัฐสภาเห็นชอบ ในการนี้ ไทยขอชื่นชมญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยริเริ่มข้อเสนอ “Asia Cargo Highway” เพื่อปรับปรุงขั้นตอนทางศุลกากรระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมระบบ National Single Window ของแต่ละประเทศสมาชิกด้วยไทยเห็นว่าการพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ “ความเป็นหุ้นส่วนใหม่เพื่ออนาคตที่รุ่งเรืองร่วมกัน ” จำเป็นต้องดำเนินการร่วมกันโดยทุกภาคส่วน ดิฉันจึงยินดีที่ Tokyo Strategy ให้ความสำคัญต่อ “การพัฒนาร่วมกัน” เป็นเสาหลัก ที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญต่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชนในการขับเคลื่อน

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค และขอชื่นชมที่ภาคเอกชนได้มีส่วนสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการของข้อริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในเวทีการประชุมภาครัฐ-เอกชนที่ผ่านมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารเคดันเรน และ JCCI เมื่อวานนี้ และเห็นว่ากิจกรรมในลักษณะดังกล่าวมีประโยชน์มากไทยให้ความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน และอยู่ในระหว่างการจัดทำร่างพระราชบัญญัติร่วมทุนระหว่างภาครัฐ-เอกชน ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางคมนาคมให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมที่กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ในส่วนของไทย รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริม SMEs อย่างต่อเนื่อง และล่าสุด ได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติมูลค่าประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองครัวเรือนและผู้ประกอบการรวม 1.54 ล้านราย ในวงเงินคุ้มครองประมาณ 86,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายกรัฐมนตรีเห็นว่าไทยและญี่ปุ่นอาจร่วมกันสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และให้ SMEs ประเทศลุ่มน้ำโขงได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีทั้งในกรอบ ASEAN และ ASEAN-Japan โดยผ่านกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SMEs ในประเทศลุ่มน้ำโขงในสาขาที่เป็นประโยชน์ เช่น การเปิดเสรีทางการค้า บริการ และการลงทุน โดยจะขอให้สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงานวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งภาคเอกชนของญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไทยได้กำหนดให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตและบริการจากภัยพิบัติและสถานการณ์วิกฤตเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศยุทธศาสตร์ดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต และการบริหารจัดการเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหวังให้ห่วงโซ่ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการเกิดภัยพิบัติ ซึ่งแนวทางหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ คือ แนวคิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดภัย โดยส่งเสริมให้ธุรกิจสร้างเครือข่ายธุรกิจสำรองเพื่อให้ธุรกิจที่ประสบภัยสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงักเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยที่ญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพยากรณ์อากาศ และเตือนภัยล่วงหน้า

นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ญี่ปุ่นสามารถมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศลุ่มน้ำโขง ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการเตือนภัย รวมทั้งเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรับมือกับภัยธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ที่ประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 ที่บาหลีเมื่อปี 2554 ได้สนับสนุนให้มี การหารือระหว่างศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ที่กรุงเทพฯ กับศูนย์ลดภัยพิบัติแห่งเอเชีย ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น และหวังว่าการหารือของทั้งสองศูนย์จะนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป นอกเหนือจากเรื่องความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติดังกล่าวแล้ว

นายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสนี้เน้นถึงความสำคัญของเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นผู้หญิงและแม่ นายกรัฐมนตรีขอสนับสนุนความพยายามในกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - ญี่ปุ่นในการบรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดเป้าหมาย การรักษาชีวิตแม่และเด็ก ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทสตรีด้วยการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อเสริมสร้างสวัสดิภาพ และสวัสดิการของสตรี นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เข้าร่วมโครงการ Every Woman Every Child ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของโลกสำหรับสุขภาพสตรีและเด็ก ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความริเริ่มของเลขาธิการสหประชาชาติ ไทยจึงมีความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความรู้และ ความร่วมมือในเรื่องนี้

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นอย่างยิ่ง เพราะตระหนักดีว่า ความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คือ ความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศไทยด้วย ดังนั้น ไทยจะร่วมมือกับญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงทุกประเทศอย่างแข็งขัน เพื่อพัฒนาภูมิภาคนี้ให้มีความเจริญรุ่งเรืองและประโยชน์สุขร่วมกัน

"ยงยุทธ" ยืนยัน "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" พร้อมรับมืออุบัติเหตุ-แผ่นดินไหว



(21 เมษายน 2555 - InsideThaiGOV) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย กล่าวระหว่างจัดรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน” แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ติดภารกิจเดินทางไปประชุมที่ประเทศญี่ปุ่น ถึงการสรุปภาพรวมของการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ผ่านมา ร่วมกับ นายวิบูลย์ สงวนพงษ์ อธิบดีกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.ป) และ น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อแจงการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ทางกระทรวงมหาดไทย จะออกหนังสือชมเชยจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีถึง 6 จังหวัด คือ ตราด , นครพนม , ปัตตานี , ยะลา , ตรัง และ สตูล ที่ไม่มีผู้เสียชีวิต หรือ 678 อำเภอ ที่ไม่มีผู้เสียชีวิต และ มีถึง 250 อำเภอ ที่ไม่มีอุบัติเหตุเลย จากสถิติพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดกับรถกระบะและรถจักรยานยนต์ บนถนนสายรองมากกว่าสายหลัก ซึ่งต่อไปจะได้มีการปรับปรุงการตั้งด่านตรวจแอลกอฮอลล์ ว่าต่อไปจะเน้นไปที่การตั้งด่านที่สายรอง มากขึ้น นอกจากนี้ นายยงยุทธ ยังได้ขอบคุณ มูลนิธิรัฐบุรุษ และมูลนิธิเมาไม่ขับ ที่ช่วยสนับสนุนการณรงค์ของรัฐบาล พร้อมยืนยันว่า จะต้องรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอุบัติเหตุตลอดทั้งปีลงให้ได้

จากนั้น นายยงยุทธ ได้กล่าวถึงกรณีการรับมือภัยพิบัติว่า จากการติดตามข่าวสารการเกิดแผ่นดินไหวที่ จ.ภูเก็ต ประชาชนจะเข้าใจได้ดีว่า มันไม่มี มันไม่เกิดจึงไม่ต้องตระหนกตกใจไปตามกัน เรื่องนี้ทางรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ภัยที่เกิดขึ้นเป็นภัยที่เราไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น เป็นภัยที่พร้อมจะทำให้ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหาย รัฐบาลจึงเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ มีศูนย์เตือนภัย ในฐานะกระทรวมหาดไทยดูแลในส่วนจังหวัด อำเภอ ได้มีการประสานงานกันตลอดเวลา เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความเข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งรัฐบาลทำสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลาทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ มีแผนที่ชัดเจนในการเรียบเรียงข่าวสาร ข้อมูล การอพยพผู้คน เพื่อดูแลพี่น้องประชาชน ย้ำว่ามีความพร้อมตลอดเวลา

ด้าน นายวิบูลย์ สงวนพงษ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า นโยบายลดอุบัติเหตุทางถนนต้องเดินหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่องทั้งปี ซึ่งรัฐมนตรีมหาดไทย คาดหวังว่า ภายใน 3 ปี จะต้องลดลงให้ได้ปีละ ร้อยละ 20 ดังนั้น มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้ทุกภาคส่วน ตั้งแต่จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการอย่างเข้มข้น และต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นด้วย

ด้าน นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวร้องขอประชาชน อย่าได้ตื่นตระหนกจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นค่อนข้างถี่ในระยะนี้ เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศไทย มีขนาดเล็กเป็นความรู้สึกที่รับรู้ได้เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนแขนงแผ่นดินไหวสูงสุดขนาดกลางไม่เกิน 6 ริกเตอร์ สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนที่ก่อสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง และแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือเป็นผลดีที่รอยเลื่อนได้คลายพลังไม่สะสมไปเกิดในอนาคต จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกเพราะแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่ารถบรรทุกขับผ่าน อย่างไรก็ตามในระยะเวลาอันใกล้ ระบบเตือนภัยและภาษาที่ใช้สื่อไปถึงประชาชน จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

"จีน" หนุน "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" เดินหน้าศึกษาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

"นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์พิเศษกับกองบรรณาธิการ InsideThaiGOV ถึงความคืบหน้าการศึกษาโครงการ "รถไฟฟ้าความเร็วสูง" ในโอกาสร่วมคณะนายกรัฐมนตรี เยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ

นายกฯยิ่งลักษณ์พร้อมคณะตรวจเยี่ยมกิจการรถไฟความเร็วสูงของจีน
ถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์วงการรถไฟไทย เมื่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ และเป็นสักขีพยานในพิธี “ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟ (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ซึ่งมีเนื้อหาให้ทั้งสองฝ่ายจัดตั้งคณะกรรมการระดับรัฐมนตรี เพื่อประสานงานขยายผลการศึกษาด้านการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งครอบคลุมทุกทิศทั่วประเทศ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมฝ่ายไทยคือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟจีน นายเซิ่ง กวาง จู่ ร่วมลงนาม

ไทยถือเป็นประเทศที่มีรถไฟใช้ ในระดับต้นๆของภูมิภาคก่อตั้งมา 122 ปี แต่ระบบรถไฟไทยไม่ได้มีการพัฒนามาเลย จนกระทั่งในยุคของรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เมื่อปี 2547 สายกรุงเทพ-นครราชสีมา แต่ปรากฏว่าโครงการต้องสะดุดไปเมื่อเกิดการรัฐประหาร

รถไฟความเร็วสูง ถือเป็นโครงการที่ภาคเอกชนไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กรอ.) ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2555 กรอ.ได้เสนอให้รัฐบาล เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่ง ครม. มีมติให้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง เร่งพิจารณารายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยกำหนดรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนตามที่ได้มีการตกลงร่วมกัน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 รวมทั้งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และทำการศึกษาความเหมาะสมทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ของโครงการโดยละเอียด



ขณะที่ ครม. สัญจรที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 กรอ. มีข้อเสนอเรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ตามที่ รฟท. ได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบบรางและรถไฟความเร็วสูงของกระทรวงคมนาคมไว้เมื่อปี 2553 วงเงินประมาณ 700,000 ล้านบาท โดยในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดการก่อสร้างเส้นทางบางซื่อ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงิน 149,000 ล้านบาท เชื่อมโยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และจีนภาคตะวันออก รวมทั้งเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ซึ่งที่ประชุม ครม. มีมติให้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ศึกษาไว้ พร้อมทั้งเร่งดำเนินการเสนอโครงการฯ ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกัน เมื่อเดือน ธันวาคม 2554 ระหว่างการเดินทางเยือนไทยของ รองประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ได้มีการหยิบยกประเด็นรถไฟฟ้าความเร็วสูง ขึ้นเป็นหนึ่งในประเด็นสนทนาระหว่างการหารือข้อราชการเต็มคณะกับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และมีการประสานงานจากนั้นเป็นต้นมา จนนำมาสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยและจีนดังกล่าวในวันนี้ (18 เมษายน 2555) จึงถึอเป็นก้าวสำคัญที่โครงการ “รถไฟฟ้าความเร็วสูง” จะได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียที หลังรอมานานกว่า 7 ปี

การก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงดังกล่าว มีแผนในการก่อสร้างทั้งหมด 4 สาย คือ
  • กรุงเทพ-พิษณุโลก (ต่อเนื่องยาวถึงเชียงใหม่)
  • กรุงเทพ-นครราชสีมา (ต่อเนื่องยาวถึงหนองคาย)
  • กรุงเทพ-ระยอง
  • กรุงเทพ-หัวหิน
โอกาสแห่งความร่วมมือกับจีนในลักษณะนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงเส้นทางในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) ที่มีไทยเป็นศูนย์กลาง และจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ หรือกลุ่มอาเซียน สามารถเชื่อมต่อไปยัง ที่กำลังจะมีการรวมตัวกันทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และการเมืองในปี 2558 เนื่องจากเส้นทางเชียงใหม่ และหนองคาย ที่อยู่ในความร่วมมือไทย-จีนนั้น สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นแหล่งผลิต และตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ดังนั้น นอกจากรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะช่วยแก้ปัญหาด้านการขนส่ง ทั้งขนส่งมวลชนและขนส่งผลิตภัณฑ์เกษตร-อุตสาหกรรมทั้งหมด ช่วยประเทศประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งได้จำนวนมหาศาลต่อปีแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่สามารถขนส่งนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมายังประเทศไทยได้มากกว่า 100,000 คนต่อปี

จึงนับเป็นอีกก้าวที่สำคัญที่จะทำให้ไทยสามารถครองความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในอันดับต้นของภูมิภาคได้ในช่วงเวลาอีก 10 ปีต่อจากนี้ไปด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร

“ควรหยุดเปรียบที่มาของ สสร. กับสว.สรรหา เพราะที่มาต่างกันฟ้ากับเหว”

(19 พฤษภาคม 2555 - Insider NewsFeed) ดร.ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ กล่าวถึง การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ2ในรัฐสภา ที่ผ่านมา 2 วัน ว่าจากการแปลญัตติ มีประเด็นทีนำมาโต้แย้งกันอย่างสับสน โดยเฉพาะสสร.ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญ ที่มาจากการสรรหา มีการใช้โวหารในเชิงว่า พรรคเพื่อไทย ไม่เห็นด้วยกับระบบสว.สรรหา แล้วทำไมจึงนำระบบสรรหามาใช้ประกอบในกระบวนการที่มาของสสร. ทั้งที่ในความจริงแล้ว ระบบสว.สรรหา เป็นการผลัดกันเกาหลังให้กัน ระหว่างองค์กรอิสระกับสว.สรรหา ที่สรรหา แต่งตั้ง รับรองกันและกัน ที่สำคัญคือ ที่มาขององค์กรอิสระชุดปัจจุบัน ที่เป็นผู้แต่งตั้งสว.สรรหานั้น มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ซึ่งไม่ยึดโยงกับประชาชน เท่ากับ เป็นกระบวนการที่ปฏิเสธการกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองโดยประชาชนส่วนใหญ่ แล้วแทนที่โดยการตัดสินใจของคนเพียงไม่กี่คน

ดร.ประเสริฐ ยังกล่าวอีกว่า ในขณะที่ สสร.ส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ตามร่างแก้ม.291นั้น จะต้องให้สภาฯอันเป็นตัวแทนของประชาชน เป็นผู้รับรองเห็นชอบ ที่มาของสสร.ส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จึงสัมพันธ์กับประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านระบบตัวแทนและพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างมากที่สุด ในขณะที่ระบบสว.สรรหา สัมพันธ์กับการแต่งตั้ง ผ่านกลไกที่มาจากการรัฐประหาร ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และปฏิเสธการกำหนดอนาคตโดยประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้นการพยายามสร้างความเชื่อมโยงให้เหมือนกันระหว่างที่มาของสสร.ผู้เชี่ยวชาญกับสว.สรรหา จึงเป็นการเปรียบแบบผิดฝาผิดตัว โดยขาดความเข้าใจ

มองความปรองดอง และท่าทีของปชป. ผ่านสายตาของ “ภูมิธรรม” อดีตรมช.คมนาคม

บทความโดย กองบรรณาธิการ insidernewsfeed


ในระหว่างที่มีการถ่ายทอดสด การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 2 นั้น หากใครสนใจติดตามข่าวสารการเมืองทางทวิตเตอร์นั้น ก็จะได้เห็นความคิดเห็นของบุคคลสำคัญทางฝ่ายการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แต่น้อยครั้งนัก ที่จะมีฝ่ายรัฐบาลออกมาโต้แย้งหรือตอบโต้ เพราะแต่ละครั้งที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลออกมาชี้แจงและอธิบาย ก็มักจะอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผลเสมอ

หลายต่อหลายครั้งที่สื่อมวลชนบางฉบับบางคอลัมภ์ออกมาเขียนวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของฝ่ายค้านได้อย่างน่าสนใจ รวมทั้งอธิบายถึงภาพรวมของความเสื่อมถอย จากการวางตัวของพรรคประชาธิปัตย์ นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 111 ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องความปรองดองได้อย่างน่าสนใจ

นิยามความปรองดองของนายภูมิธรรม คือ "ความปรองดอง" คำที่กำลังมีความหมายในสถานการณ์ปัจจุบัน ปรองดองไม่ได้มีความหมายว่า ทำความแตกต่างให้กลับมาเหมือนกัน แต่หมายถึง การยอมรับความแตกต่างที่แต่ละคนมี แต่ละคนเป็น และยอมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและสันติ โดยสงวนความแตกต่างกันไว้ และแสวงหาจุดร่วมกันที่พอยอมรับกันได้ (คือประโยชน์ของประเทศและประชาชน) เพื่อทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ และให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะทำเช่นนี้ได้ต้องใช้ใจที่ใหญ่และใจที่กว้าง พร้อมทั้งรู้จักอดทนให้เวลา ช่วยแก้ไข เยียวยา เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจร่วมกันให้มากขึ้น ที่สำคัญต้องรู้จักยอมรับและพร้อมที่จะเข้าใจ ในสิ่งที่แตกต่างที่แต่ละคนคิด และแต่ละคนเชื่อมั่นให้มากขึ้น

นายภูมิธรรม ยังได้ชี้ให้เห็นว่า วันนี้คู่ขัดแย้งในสังคมไทยมี 2 ขั้ว คือ ขั้วอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง กับขั้วประชาธิปไตยที่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจที่ให้โอกาสทุกคนได้แข่งขันโดยเสรี สำหรับพรรคการเมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนคู่ขัดแย้งในสังคมคือ ประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ซึ่งนับวันจะต่อสู้ ขับเคี่ยวกัน เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประชาธิปัตย์ เกือบ 20 ปี นับแต่ปี 2538 เป็นต้นมาประชาธิปัตย์ยังไม่เคยประสบความสำเร็จจนไดัรับชัยชนะในการเลือกตั้งทั้ง 6 ครั้งที่ต่อเนื่องกันมาเลย ถ้าไม่นับการอิงแอบกับอำนาจนอกระบบ หรืออำนาจพิเศษ เกือบ 20 ปีมานี้ เชื่อได้ว่า ประชาธิปัตย์จะไม่มีทางได้เป็นรัฐบาลเลย แม้แต่ครั้งเดียว น่าเสียดายการพยายามกลับสู่อำนาจในช่วงหลังๆของประชาธิปัตย์ ล้วนเป็นการเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีการพิเศษที่ไม่ได้อิงแอบกับการยอมรับและการตัดสินใจของประชาชน

“ผมชอบข้อสรุปของคุณมุกดา สุวรรณชาติ ในคอลัมภ์ "หลักศิลา กลางน้ำเชี่ยว" ของมติชนสุดสัปดาห์ฉบับนี้ คุณมุกดาวิเคราะห์ประชาธิปัตย์ว่า การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงหลังๆของประชาธิปัตย์ สามารถปรับตัวเข้าหากลุ่มอำนาจในทุกสถานการณ์ ทุกรูปแบบ มีเพียงบางครั้งที่อิงอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย แต่ในหลายๆครั้งล้วนอิงอยู่กับอำนาจทหาร หรืออิงกับกลุ่มพลังอำนาจพิเศษในสังคมไทย ซึ่งมีหลายคนวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมของประชาธิปัตย์ในระยะหลัง ได้ทำให้ความนิยมของประชาธิปัตย์ในหมู่ประชาชนเสื่อมถอยลงตลอด”

นายภูมิธรรม ยังกล่าวอีกว่า วันนี้หนทางของประชาธิปัตย์ที่จะยืนผงาดขึ้นเป็นคู่ต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และทำให้ภาพลักษณ์ของประชาธิปัตย์ในระบอบประชาธิปไตยดูดีขึ้น มีหนทางเดียว คือ ประชาธิปัตย์ ต้อง "ลดเงื่อนไข" หรือ "ภาพจำ" ของตนในสายตาประชาชน เช่น เรื่อง "ดีแต่พูด" และที่สำคัญต้องหยุด "การใช้วาทกรรม ทำร้ายผู้อื่น" โดยเฉพาะ "วาทกรรมที่เป็นเรื่องเท็จ" หรือเป็นข่าว "โคมลอย" ที่นำมาใช้ทำลายคู่แข่งทางการเมืองที่พลพรรค "คนรุ่นใหม่" ของประชาธิปัตย์กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ภาพจำในอดีตในสายตาของประชาชน ตั้งแต่การตะโกนให้ร้ายท่านปรีดีในโรงหนัง เรื่อง ว.๕ เรื่องโฟว์ซีซัน เรื่องพ.ต.ท.ทักษิน และเจ้าหน้าที่รัฐเจรจากับผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ ล้วนเป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบายใจให้กับประชาชนทั้งสิ้นและเป็นเรื่องที่ทำให้ภาพพจน์ของประชาธิปัตย์ดูตกต่ำลง

นายภูมิธรรม ยังได้แนะนำทางออกในเรื่องดังกล่าวให้กับประชาธิปัตย์ด้วยว่า “เมื่อ 2 – 3 วันก่อนเครือเนชั่น ได้ลงคำชี้แจงของ ศอบต.และตีพิมพ์ข้อความขอโทษ และขออภัย ที่ตนเองตีพิมพ์ข่าวคลาดเคลื่อนอันส่งผลเสียต่อผู้อื่นอย่างร้ายแรง โดยขอโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ที่ได้ไปประชุมช่วยเหลือคนไทยที่ค้าขายในมาเลย์ แล้วถูกลงข่าวคลาดเคลื่อนว่าเป็นการเจรจากับผู้ก่อการร้าย ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฎว่าสถานทูตไทยในมาเลย์ได้ประสานงานให้ศอบต. และผู้แทนแบงค์อิสลามในไทยเข้าไปช่วยเหลือชมรมต้มยำกุ้งของคนไทยแต่ถูกเข้าใจผิดกลายเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ที่สำคัญคนของประชาธิปัตย์นำไปดิสเครดิตและให้ร้ายผู้อื่นอย่างไม่รับผิดชอบ ทางเนชั่นได้แสดงความรับผิดชอบและขอโทษแล้ว แต่คนของประชาธิปัตย์ยังคงเฉย ดังนั้น ควรรีบปรับปรุงตัวโดยเร็ว เร่งทำพรรคให้มีภาพลักษณ์ดีๆแบบที่คนรุ่นก่อนๆเคยทำไว้ อย่าปล่อยให้คนที่เรียกตัวเองว่าคนรุ่นใหม่ทำลายพรรคอยู่เลย ตอนนี้ยังไม่สายเกินไป ประชาธิปัตย์ควรรีบก้าวข้าม"ความหวาดผวาในใจและก้าวให้พ้นพ.ต.ท.ทักษินโดยเร็ว" และรีบทำงานการเมืองให้มีคุณภาพมากกว่านี้ แล้วอะไรๆน่าจะดีขึ้น”

สิ่งที่นายภูมิธรรมได้ออกมาแสดงทัศนะนั้น จะได้รับการตอบสนองในทางที่ดีขึ้นจากผู้ที่ต้องการสื่อสารหรือไม่นั้น คงไม่อาจคาดเดาได้ แต่สิ่งที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจน คือ ท่าที การแสดงออก การจุดประเด็นทางสื่อของทางประชาธิปัตย์ ในแต่ละวันคงเป็นคำตอบได้อย่างชัดเจน ว่า ต้องการเดินไปสู่ทางออกของความปรองดองหรือไม่ หรือจะยังคงพายเรือในอ่างทองคำ แล้วพร่ำพูดชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อไป พร้อมแขวนป้ายห้อยคอว่า “ปรองดองๆ”

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

นายกฯยิ่งลักษณ์มอบ "ยงยุทธ" นั่งหัวโต๊ะประชุมครม. ก่อนบินดูการจัดการน้ำที่จีน

การประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกหลังเทศกาลสงกรานต์วันนี้มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานแทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เดินทางไปฏิบัติภารกิจที่ประเทศจีนระหว่างวันที่ 17 -19 เม.ย.นี้

ซึ่งการประชุม ครม.เช้าวันนี้ ( 17 เม.ย.) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. จะเสนอที่ประชุมขออนุมัติงบประมาณจากงบกลางปี 2555 จำนวนกว่า 99 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือ จำเป็น สำหรับจัดซื้อและดูแลระบบกล้องวงจรปิด ซีซีทีวี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการป้องกันและการเตือนภัยในพื้นที่

ขณะที่กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว โดยมีสาระสำคัญคือ ให้งดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้วทั่วประเทศครอบคลุมรถทั้ง 4 ประเภท คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คนแต่ไม่เกิน 12 คน, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และ รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ส่วนกระทรวงการคลังเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต และภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ที่จะสิ้นสุดมาตรการ ในวันที่ 30 เมษายนนี้ โดยขยายไปอีก 1 เดือน เป็นวันที่ 31 พฤษภาคม เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกเวลานี้ ยังไม่เหมาะกับการปรับขึ้นภาษี รวมทั้งกระทรวงพลังงานได้เรียกเก็บเงินจากน้ำมันเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกลิตรละ 1 บาท เมื่อวันที่ 16 เมษายน ที่ผ่านมา

สำหรับการเดินทางเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีจะดูงานเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และระบบเขื่อนในประเทศจีน โดยขอให้จีนส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อนำมาปรับใช้กับไทย ทั้งนี้จะนำคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. บางส่วน ร่วมเดินทางไปด้วย

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

"คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี" แจง "สำนักข่าวอิศรา" อ้างอิงข้อมูลคลาดเคลื่อน


(8 เมษายน 2555 กรุงเทพฯ) -  นางสาวชยิกา วงศ์นภาจันทร์ หนึ่งในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ได้กล่าวชี้แจง กรณี สำนักข่าวอิศรา เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับกองทุนสตรีคลาดเคลื่อน โดยอ้างว่า “กองทุนสตรีไม่โปร่งใส”– หญิงร้อยละ 70 ไม่รู้จัก”  นั้น ล่าสุด นางสาวชยิกา วงศ์นภาจันทร์ ได้ชี้แจงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เว็บไซท์ทวิตเตอร์ชยิกา http://twitter.com/chayika ว่า “ตนคิดว่าสำนักข่าวอิศราน่าจะเข้าใจผิด เพราะยอดผู้สมัครกองทุนสตรีฯวันนี้อยู่ที่ 12 ล้านคน จากข้อมูลของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลที่อ้างว่าในประชากรผู้หญิงทั้งประเทศไทย 33 ล้านคน จำนวนผู้หญิงที่อยู่ในเกณฑ์การใช้สิทธิ์กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจำนวน 26 ล้านคน ซึ่งวันนี้มียอดผู้สมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทั้งหมด 12 ล้านคน จากผู้มีสิทธิสมัคร 26 ล้านคน จะคำนวณค่าของ ผู้ที่มีการรับรู้และต้องการสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้เท่ากับร้อยละ 46 ของผู้มีสิทธิสมัครทั้งหมด นั่นหมายถึงตัวเลขโดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลที่อ้างว่ามีผลสำรวจนั้นคลาดเคลื่อน"

นางสาวชยิกา ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผลสำรวจที่สำนักข่าวอิศราอ้างอิงมาจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ว่า “เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่ทางรัฐบาลอาจประชาสัมพันธ์ได้ไม่ทั่วถึงหรือไม่? ซึ่งวิธีการแก้ไขก็คืออาจทำความเข้าใจและชี้แจงกับสตรีกลุ่มนี้ให้มากขึ้น เพราะดิฉันในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีขอยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีเจตนาดี และ เจตนาในการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีนี้ให้ทั่วถึงต่อไป”

“การผลักดันนโยบายใดๆใช้เวลานาน การที่รัฐบาลสามารถตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนขึ้นมาได้ในระยะเวลา 6 เดือนนั้น แม้ยังไม่สมบูรณ์นัก แต่จะส่งเสริมให้สตรีที่ต้องการมีส่วนร่วมผลักดันให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นต่อไป”

ทั้งนี้ นางสาวชยิกา ได้ฝากคำถามในทวิเตอร์ของตนเองถึงสังคมว่า “การร้องศาลปกครองให้หยุดดำเนินนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นประโยชน์ต่อประชากรสตรีไทยจริงหรือ?”