วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ทวี" ลงพื้นที่ชายแดนนราธิวาส ให้กำลังใจชาวบ้าน-ตรวจสอบเหตุระเบิดตาบา

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดนราธิวาสว่า พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ และคณะ เดินทางมาที่ตลาดชายแดนตาบา อำเภอตากใบ ลงตรวจสอบความเสียหาย จุดเกิดเหตุวางระเบิดสถานีตำรวจน้ำตากใบ สังกัด ส.รน.4 กก.7 บก.รน. ซึ่งตั้งอยู่ ม.1 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ 

หลังจากเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงฐานทหารที่ตั้งอยู่ภายในสถานีตำรวจน้ำตากใบ และใช้ระเบิดปาใส่ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้รถยนต์หลายคัน พบที่บริเวณภายในลานจอดรถทางเข้าท่าเทียบเรือยนต์ มีรถยนต์เก๋งถูกเพลิงไหม้และถูกกระสุนปืนได้รับความเสียหาย 3 คัน และรถยนต์กระบะได้รับความเสียหาย 1 คัน แต่ละคันมีร่องรอยของลูกระเบิดแสวงเครื่อง 

หลังการตรวจสอบเบื้องต้น พันตำรวจเอก ทวี ได้ให้กำลังใจประชาชน พ่อค้า-แม่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ และมีความกังวลกับสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งหลังเกิดเหตุ ตลาดชายแดนตาบาเงียบเหงาและซบเซาเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด โดยได้มอบถุงยังชีพประกอบด้วยเครื่องอุปโภค-บริโภค ให้ประชาชนในพื้นที่ 

พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง กล่าวว่า ได้รวบรวมเรื่องส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว และจะตามเรื่องให้ โชคดีที่ทุกคนรักษาชีวิตไว้ได้ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ชายแดน เป็นพื้นที่ค้าขายของ ต้องร่วมสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ร้านค้าก็จะเงียบไปพักหนึ่ง วันนี้จึงมาให้กำลังใจ เราเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาเราเจอเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การทำมาค้าขายก็ลำบาก ตลาดเงียบเหงา ผมเคยมาเยี่ยมครั้งหนึ่งแล้ว พอเปิดตลาดขึ้นมา เราก็หวังว่าจะมีคนมาซื้อของ จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่มาเจอเหตุการณ์แบบนี้อีก และทุกคนก็อยู่ในเหตุการณ์ ก็ทราบถึงความตกใจ วันนี้ขอมาให้กำลังใจ ถ้ามีอะไรที่จะให้ส่งเสริมสนับสนุนอะไรได้ ก็จะช่วยเหลือกันครับ"

รวมทั้งได้เดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บทั้ง 3 ราย ที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบด้วย 1. พลฯสุไลมาน ยูโซะ สังกัดหน่วยควบคุมชายแดนที่ 4 โดนสะเก็ดระเบิดขาขวา 2. อส.อ.โอภาส แสนซม กองอาสารักษาดินแดน อ.ตากใบ โดยสะเก็ดระเบิดเนื้อฉีดขาดที่ขาขวา และ 3. อส.อ.เอกวัฒน์ เกตุด้วง โดนสะเก็ดระเบิดที่ชายโครง ซึ่งทั้ง 3 ราย ล่าสุดอาการปลอดภัยแล้ว 









วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ทวี" เสนอสภาฯแก้กฎหมาย เพิ่ม "กากอ้อย" ผลพลอยได้เกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาล ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดย พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ลุกขึ้นอภิปรายตอนหนึ่งว่า ตนไม่ได้เป็นกรรมาธิการ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และโดยเฉพาะประสบการณ์ส่วนตัวของตนเมื่อปี 2542 ที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มีนักบัญชีมือหนึ่งของโลก คือ นายไมเคิล วันสเลย์ ได้ไปตรวจโรงงานน้ำตาล และถูกสังหารเสียชีวิตเป็นข่าวใหญ่โต 

“ผมจึงอยากจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนความเห็นของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่ให้เพิ่มมาตรา 2/1 เรื่องผลพลอยได้จากอ้อย เนื่องจากใน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ.2527 เรามีเรื่องผลพลอยได้อยู่แล้ว แต่บอกว่าเป็นกากน้ำตาล โดยเราต้องการจะให้เพิ่มกากอ้อยเข้าไป เพราะสามารถช่วยชุมชนได้” 


“อยากดูน้ำจิตน้ำใจของคนในสภา วันนี้โรงงานน้ำตาลอาจจะมีคนที่เป็นนักลงทุน นักอุตสาหกรรม แต่มีไม่ถึง 60 โรงงาน ขณะที่ประชาชนที่เป็นเกษตรกร และเกี่ยวข้องกับการปลูกอ้อย ไร่อ้อย มีทั่วประเทศมากกว่า 11 ล้านไร่ และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือสิ่งที่เราไม่ได้พูด ผมอยากจะมาเติมก็คือ เกษตรกรที่อยู่ใกล้โรงงานน้ำตาล เขาต้องได้รับมลพิษ ได้รับผบกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากกากอ้อย แต่กากอ้อยนำไปส่งโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ หรือไปทำเป็นโรงงานอุตสาหกรรมก็ดี”


“ความจริงผมยังเห็นว่า เรื่องกากอ้อยน่าจะเป็นสิทธิของชุมชน เขาจะได้กำหนดได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่ามีคนรวยกลุ่มหนึ่ง และรับผลพลอยได้ทุกอย่าง เรายังอยากเห็นเรื่องเศรษฐกิจชุมชน แต่เรากลับเห็นคนที่อยู่ในชนบทเป็นคนไร้ค่า ยังมองเป็นเรื่องเศรษฐกิจมหภาคเกินไป ท่านลองไปดูเลย บริษัทที่เป็นโรงงานอ้อยในตลาดหลักทรัพย์ร่ำรวยอันดับต้นๆ ท่านั้น แต่เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน” 


พ.ต.อ.ทวี สรุปว่า ร่าง พรบ อ้อยและน้ำตาล (ฉบับที่…) พ.ศ.…ที่รัฐบาลเสนอมานั้น ไม่ตัดนิยาม คำว่า “ผลพลอยได้” ที่มีบัญญัติ ในพรบ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ที่หมายถึง “กากน้ำตาล” ออกไป กรรมาธิการเสียงข้างน้อย จึงมีเพิ่มมาตรา 2/1 ให้มีนิยาม “ผลพลอยได้” หมายความว่า กากอ้อย กากน้ำตาล ในร่าง พรบฯ ตรงนี้จะเป็นเรื่องที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้มีความยุติธรรม ที่นำ กากอ้อย ที่มีมูลค่ามากในอุตสาหกรรมไฟฟ้า การเป็นวัตถุดิบในผลิตเยื่อกระดาษฯ จะได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่อาจจะมีอยู่ประมาณ 3-4 แสนครัวเรือน ก็เป็นหลายล้านคน แทนที่จะช่วยคนรวยหรือนายทุนที่อยู่ใกล้ๆ กับรัฐบาลเพียงไม่ถึง 60 คน เรื่องนี้จึงมีความสำคัญ


“ผมขอวิงวอนนะครับ สภาเราเป็นสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่เป็นสภาของรัฐบาล เรื่องนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนเลยว่า จิตใจของคนเป็นรัฐบาลแคบไป มองเห็นประชาชนไม่มีค่า ผมจึงสนับสนุนกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ให้มีผลพลอยได้ให้เติมกากน้ำตาล เพิ่มการอ้อยไปด้วย” ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าว

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ประชาชาติ พร้อมเปิดประชุมสภา ประชุมลุยอภิปรายงบฯ-แก้กฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานพรรคประชาชาติ กรุงเทพฯ ว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย กรรมการบริหารพรรคประชาชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาชาติ ประชุมร่วมคณะกรรมการบริหารพรรค และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาชาติ โดยมีระเบียบวาระการประชุมทั้งการพิจารณาวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การรายงานของกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญ เรื่องที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคเสนอ เรื่องที่คณะทำงานยุทธศาสตร์พรรค เพื่อเตรียมการเลือกตั้งเสนอ และการวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง

พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง กล่าวว่า ที่ประชุมเน้นหนักเรื่องวาระการประชุมสภา โดยเฉพาะการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ซึ่งพรรคพบประเด็นการตั้งงบซื้ออาวุธ และงบกลางเอาไว้สูงมาก ซึ่งการอนุมัติจ่ายงบกลางมีปัญหามาตลอด ไม่ค่อยเข้าหลักเกณฑ์จำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉิน แต่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการอนุมัติโดยไม่ผ่านสภา 

นอกจากนั้นเรายังเกาะติดร่างกฎหมายที่พรรคเสนอ และมีบทบาทในการผลักดัน เช่น เรื่องบำนาญถ้วนหน้า ซึ่งพรรคประชาชาติเสนอให้จ่ายบำนาญเดือนละ 3,000 บาท โดยต้องสูงกว่าเส้นค่าครองชีพต่ำที่สุด เพื่อให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และต้องมีการรีวิวความเหมาะสมของอัตราบำนาญเป็นระยะ เช่น ทุกๆ 3 ปี เพื่อพิจารณาประกอบกับอัตราเงินเฟ้อ และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา 

นอกจากนั้นยังมีร่างแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ ร่าง พ.ร.บ.กยศ. ที่กำลังจะเสร็จสิ้นการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ และส่งเข้าสภาอีกครั้ง รวมถึงร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร เพื่อให้คดีที่ทหารกระทำผิดต่อพลเรือน ต้องขึ้นศาลพลเรือนเท่านั้น ไม่ให้ขึ้นศาลทหารเหมือนปัจจุบัน






วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"อุ๊งอิ๊ง" ประกาศเปลี่ยนแคมเปญ จาก “พรุ่งนี้เพื่อไทย” เป็น “วันนี้เพื่อไทย”

วันนี้ (23 พฤษภาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร" ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม พรรคเพื่อไทย และหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ขอแสดงความยินดีกับคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1.3ล้านเสียงให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกจากเสียงของประชาชนในรอบ 8 ปี ซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจากพรรคเพื่อไทยทั้ง 20 ท่านพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้ว่าฯ เพื่อทำให้กรุงเทพมหานครกลับมาเป็นเมืองที่สร้างโอกาสให้กับทุกคนอีกครั้งค่ะ

และแน่นอน 🙂 ดิฉันขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในนามของพรรคเพื่อไทยที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เป็นครั้งแรกที่เพื่อไทยได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนคนกรุงเทพฯ อย่างมากมายขนาดนี้

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการและสมาชิกสภากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนว่าประชาชนมีความหวังและกำลังต้องการความเปลี่ยนแปลง ปริมาณที่ท่วมท้นนี้คือเสียงดังอันทรงพลังที่เราต้องฟังและปฎิบัติตาม

ประชาชนได้พูดออกมาแล้ว

วันนี้พรรคเพื่อไทยจะขอเปลี่ยนแคมเปญใหญ่ของเรา

จาก “พรุ่งนี้เพื่อไทย” เป็น “วันนี้เพื่อไทย” เพื่อเป็นสัญญาณในการเริ่มเดินหน้าต่อไปสร้างความหวังของประชาชนให้เกิดขึ้นจริง

เราจะผลักดันนโยบายที่ได้ให้สัญญาเอาไว้กับพี่น้องประชาชนอย่างสุดความสามารถโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งเช่นเดิม 

ขอบคุณค่ะ🙏🏻

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ทวี" ย้อนรอย 8 ปี รัฐประหาร ทำลายประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

8 ปี รัฐประหาร คสช. สร้างลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดี แยกเป็น “เรา” เป็น “เขา” ผลักให้อีกฝ่ายเป็นตรงกันข้ามที่เป็นศัตรู”

.

การทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ที่แอบอ้างความจำเป็นเพื่อแก้สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยและการปล่อยให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศต่อไปส่อไปทางทุจริตประพฤติมิชอบจะเกิดความเลวร้าย…จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน

.

​การคืนประชาธิปไตยของ คสช. โดยผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้ประชาธิปไตย แต่ได้ “คณาธิปไตย” แทน ที่มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร โดย พลเอก ประยุทธ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีทั้งที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยใช้ สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ตามรัฐธรรมนูญปี 60 ออกเสียงเลือก พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช. เป็นนายกรัฐมนตรี

.

​การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 นอกจากทำลายประชาธิปไตยแล้ว ยังมีเป้าประสงค์สำคัญ คือการล้มล้างความผิดให้ทหารในการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวน 99 ศพ กลางเมืองหลวง ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้บังคับบัญชาทหารในช่วงที่มีการสลายการชุมนุม ซึ่งการช่วยเหลือคดี การสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 นั้น ศาลยุติธรรมได้ไต่สวนสาเหตุการตายแล้วว่าเกิดจากกระสุนของฝ่ายทหาร แต่ตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 เมื่ออ้างว่าทหารกระทำความผิดตามลำพังไม่มีพลเรือนร่วมกระทำความผิดด้วย จึงต้องนำคดีสู่ศาลทหารเท่านั้น ทำให้คดีสลายการชุมนุมปี '53 พนักงานสอบสวนต้องส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการทหาร และผลคดีคืออัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องหรือไปไม่ถึงศาลหทารที่ถือว่าเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายจะนำคดีฟ้องต่อศาลเองด้วย กระบวนการนำคดีสู่ศาลทหารและอัยการศาลทหาร จึงเป็นการตัดตอนการนำเรื่องสู่กระบวนการพิจารณาคดีในกระบวนการยุติธรรม

.

ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกรณีตาม พรบ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ที่กระทบต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เรียกร้องให้โอนคดีจากศาลทหาร ไปยังศาลยุติธรรมมีมาโดยตลอด อาทิ คดีนายฟัครุคดีน บอตอ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนดารุสลาม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นผู้เสียหายถูกยิงด้วยอาวุธปืน เหตุเกิดช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 6 ส.ค. '49 อดีต ส.ว. ฟัครุดดีน ถูกลอบยิงบาดเจ็บขณะขี่รถจักรยานยนต์ออกไปทานน้ำชาที่ตลาดตันหยงมัส อ.ระแงะ ท้ายที่สุดมีการจับผู้กระทำความผิด 1 คน เป็นพลทหาร คดีต้องขึ้นศาลทหาร ส.ว.ฟัครุดดีน ในฐานะผู้เสียหาย ซึ่งถือว่าเป็นพลเรือน จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ไม่ได้ เพราะธรรมนูญศาลทหารห้ามไว้ การพิจารณาใช้เวลาในศาลทหารนานมาก สุดท้ายศาลทหารจังหวัดปัตตานียกฟ้องและคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ผ่านมาแล้ว 15 ปี “ความล่าช้า คือความอยุติธรรม”

.

​​พรรคประชาชาติได้เสนอ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่...) พ.ศ... ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 โดยให้แก้ไขเพิ่มเติม คดีที่ทหารเป็นผู้กระทำผิดซึ่งผู้เสียหายเป็นพลเรือนให้พิจารณาที่ศาลยุติธรรมเหมือนบุคคลทั่วไป เพราะมิฉะนั้นจะเป็นความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการ หรือข้าราชการหน่วยงานใดๆ​ก็จะถูกพิจารณาโดยศาลยุติธรรมเสมอภาคกันทั้งสิ้น 

.

​ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร นำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 มติที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่...) พ.ศ... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนรับหลักการ ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 โดย “รัฐบาลมีความเห็นที่จะไม่เห็นชอบกับการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่..) พ.ศ..” ส่งร่างคืนให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาพร้อมข้อสังเกตุ แต่พบว่า มีหลายหน่วยงานที่มีความเห็นชอบควรรับหลักการ ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่..) พ.ศ ตามที่พรรคประชาชาติเสนอแก้ ได้แก่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เห็นว่าสิทธิในการฟ้องคดีด้วยตนเองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามข้อ 14.3 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จึงเห็นด้วยที่มีการเสนอแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว และสำนักงานศาลยุติธรรม ที่เห็นว่า สิทธิการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา โดยผู้เสียหายหรืออัยการทหารในฐานะผู้ดำเนินการแทน จะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาต่อศาลทหารได้ ทำให้ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลยุติธรรมภายหลัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่อาจไม่สะดวกเท่าที่ควร ต้องเสียเวลาในการดำเนินการรวมถึงค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของประชาชนได้ จึงเห็นสมควรมีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร”

.

“8 ปี รัฐประหาร คสช. สร้างลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดี แยกเป็นเราเป็นเขา ผลักให้อีกฝ่ายเป็นตรงกันข้ามที่เป็นศัตรู” รัฐบาลใช้อำนาจนิยมผ่านในรูปของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ไม่ยกเว้นแม้แต่ตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนยังใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ปลดผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เป็นคนของ รสช. แทน ให้ว่างเว้นการเลือกตั้งไป 8 ปี จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ที่ ผลการเลือกตั้งจึงเป็นการพิสูจน์การปกครองตามลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดีของ คสช. กับผู้สมัครที่ถูก คสช. ผลักให้อีกฝ่ายเป็นตรงกันข้ามหรือเป็นศัตรู (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร) หรือฝ่ายประชาธิปไตย ที่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ฝ่ายประชาธิปไตยชนะอย่างถล่มทลาย วาทกรรมทางการเมืองคนดีจึงเป็นเพียงกลอุบายเท่านั้น ความจริงประชาชนต้องการระบอบที่การปกครองที่มาจากการยอมรับของประชาชนหรือต้องให้ประชาชนเลือกผู้ที่ขึ้นมาปกครอง ผู้ปกครองไม่ใช่เทวดา (คนดี) แต่ต้องเป็นผู้ที่ประชาชนยอมรับและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้พลังของสติปัญญาของเขาในการตัดสินปัญหา

.

การไม่รับร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร ของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเพราะพฤติกรรมลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดี ที่ให้ความสำคัญอำนาจและผลประโยชน์อยู่เหนือประชาชนและความยุติธรรม การที่พรรคประชาชาติเห็นว่า ”ทหาร” เป็นอาชีพที่มีความสำคัญและมีเกียรติ แต่ทหารต้องเป็นพลเมืองของประเทศที่เหมือนพลเมืองทั่วไป และเจ้าหน้าที่รัฐทุกสาขาอาชีพ หากไม่แก้ไข ทหาร จะกลายเป็นอภิสิทธิ์ชน เมื่อกระทำความผิดแล้วได้รับการยกเว้นไม่ต้องพิจารณาที่ศาลพลเรือน ต้องไปพิจารณายังศาลทหาร และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายที่เป็นพลเรือนให้มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่สิทธิในการฟ้องคดีเองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามหลักสากล สามมารถเข้าถึงกระบวนยุติธรรมอย่างสะดวกที่เสมอหน้ากันและเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

"ทวี" ย้อนรอย 8 ปี รัฐประหาร ทำลายประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

8 ปี รัฐประหาร คสช. สร้างลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดี แยกเป็น“เรา” เป็น “เขา” ผลักให้อีกฝ่ายเป็นตรงกันข้ามที่เป็นศัตรู”

.

การทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ที่แอบอ้างความจำเป็นเพื่อแก้สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยและการปล่อยให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศต่อไปส่อไปทางทุจริตประพฤติมิชอบจะเกิดความเลวร้าย…จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน

.

​การคืนประชาธิปไตยของ คสช. โดยผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้ประชาธิปไตย แต่ได้ “คณาธิปไตย” แทน ที่มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร โดย พลเอก ประยุทธ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีทั้งที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยใช้ สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ตามรัฐธรรมนูญปี 60 ออกเสียงเลือก พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช. เป็นนายกรัฐมนตรี

.

​การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 นอกจากทำลายประชาธิปไตยแล้ว ยังมีเป้าประสงค์สำคัญ คือการล้มล้างความผิดให้ทหารในการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวน 99 ศพ กลางเมืองหลวง ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้บังคับบัญชาทหารในช่วงที่มีการสลายการชุมนุม ซึ่งการช่วยเหลือคดี การสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 นั้น ศาลยุติธรรมได้ไต่สวนสาเหตุการตายแล้วว่าเกิดจากกระสุนของฝ่ายทหาร แต่ตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 เมื่ออ้างว่าทหารกระทำความผิดตามลำพังไม่มีพลเรือนร่วมกระทำความผิดด้วย จึงต้องนำคดีสู่ศาลทหารเท่านั้น ทำให้คดีสลายการชุมนุมปี '53 พนักงานสอบสวนต้องส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการทหาร และผลคดีคืออัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องหรือไปไม่ถึงศาลหทารที่ถือว่าเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายจะนำคดีฟ้องต่อศาลเองด้วย กระบวนการนำคดีสู่ศาลทหารและอัยการศาลทหาร จึงเป็นการตัดตอนการนำเรื่องสู่กระบวนการพิจารณาคดีในกระบวนการยุติธรรม

.

ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกรณีตาม พรบ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ที่กระทบต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เรียกร้องให้โอนคดีจากศาลทหาร ไปยังศาลยุติธรรมมีมาโดยตลอด อาทิ คดีนายฟัครุคดีน บอตอ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนดารุสลาม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นผู้เสียหายถูกยิงด้วยอาวุธปืน เหตุเกิดช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 6 ส.ค. '49 อดีต ส.ว. ฟัครุดดีน ถูกลอบยิงบาดเจ็บขณะขี่รถจักรยานยนต์ออกไปทานน้ำชาที่ตลาดตันหยงมัส อ.ระแงะ ท้ายที่สุดมีการจับผู้กระทำความผิด 1 คน เป็นพลทหาร คดีต้องขึ้นศาลทหาร ส.ว.ฟัครุดดีน ในฐานะผู้เสียหาย ซึ่งถือว่าเป็นพลเรือน จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ไม่ได้ เพราะธรรมนูญศาลทหารห้ามไว้ การพิจารณาใช้เวลาในศาลทหารนานมาก สุดท้ายศาลทหารจังหวัดปัตตานียกฟ้องและคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ผ่านมาแล้ว 15 ปี “ความล่าช้า คือความอยุติธรรม”

.

​​พรรคประชาชาติได้เสนอ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่...) พ.ศ... ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 โดยให้แก้ไขเพิ่มเติม คดีที่ทหารเป็นผู้กระทำผิดซึ่งผู้เสียหายเป็นพลเรือนให้พิจารณาที่ศาลยุติธรรมเหมือนบุคคลทั่วไป เพราะมิฉะนั้นจะเป็นความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการ หรือข้าราชการหน่วยงานใดๆ​ก็จะถูกพิจารณาโดยศาลยุติธรรมเสมอภาคกันทั้งสิ้น 

.

​ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร นำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 มติที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่...) พ.ศ... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนรับหลักการ ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 โดย “รัฐบาลมีความเห็นที่จะไม่เห็นชอบกับการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่..) พ.ศ..” ส่งร่างคืนให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาพร้อมข้อสังเกตุ แต่พบว่า มีหลายหน่วยงานที่มีความเห็นชอบควรรับหลักการ ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่..) พ.ศ ตามที่พรรคประชาชาติเสนอแก้ ได้แก่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เห็นว่าสิทธิในการฟ้องคดีด้วยตนเองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามข้อ 14.3 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จึงเห็นด้วยที่มีการเสนอแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว และสำนักงานศาลยุติธรรม ที่เห็นว่า สิทธิการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา โดยผู้เสียหายหรืออัยการทหารในฐานะผู้ดำเนินการแทน จะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาต่อศาลทหารได้ ทำให้ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลยุติธรรมภายหลัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่อาจไม่สะดวกเท่าที่ควร ต้องเสียเวลาในการดำเนินการรวมถึงค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของประชาชนได้ จึงเห็นสมควรมีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร”

.

“8 ปี รัฐประหาร คสช. สร้างลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดี แยกเป็นเราเป็นเขา ผลักให้อีกฝ่ายเป็นตรงกันข้ามที่เป็นศัตรู” รัฐบาลใช้อำนาจนิยมผ่านในรูปของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ไม่ยกเว้นแม้แต่ตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนยังใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ปลดผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เป็นคนของ รสช. แทน ให้ว่างเว้นการเลือกตั้งไป 8 ปี จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ที่ ผลการเลือกตั้งจึงเป็นการพิสูจน์การปกครองตามลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดีของ คสช. กับผู้สมัครที่ถูก คสช. ผลักให้อีกฝ่ายเป็นตรงกันข้ามหรือเป็นศัตรู (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร) หรือฝ่ายประชาธิปไตย ที่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ฝ่ายประชาธิปไตยชนะอย่างถล่มทลาย วาทกรรมทางการเมืองคนดีจึงเป็นเพียงกลอุบายเท่านั้น ความจริงประชาชนต้องการระบอบที่การปกครองที่มาจากการยอมรับของประชาชนหรือต้องให้ประชาชนเลือกผู้ที่ขึ้นมาปกครอง ผู้ปกครองไม่ใช่เทวดา (คนดี) แต่ต้องเป็นผู้ที่ประชาชนยอมรับและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้พลังของสติปัญญาของเขาในการตัดสินปัญหา

.

การไม่รับร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร ของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเพราะพฤติกรรมลัทธิชาตินิยมการเมืองคนดี ที่ให้ความสำคัญอำนาจและผลประโยชน์อยู่เหนือประชาชนและความยุติธรรม การที่พรรคประชาชาติเห็นว่า ”ทหาร” เป็นอาชีพที่มีความสำคัญและมีเกียรติ แต่ทหารต้องเป็นพลเมืองของประเทศที่เหมือนพลเมืองทั่วไป และเจ้าหน้าที่รัฐทุกสาขาอาชีพ หากไม่แก้ไข ทหาร จะกลายเป็นอภิสิทธิ์ชน เมื่อกระทำความผิดแล้วได้รับการยกเว้นไม่ต้องพิจารณาที่ศาลพลเรือน ต้องไปพิจารณายังศาลทหาร และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายที่เป็นพลเรือนให้มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่สิทธิในการฟ้องคดีเองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามหลักสากล สามมารถเข้าถึงกระบวนยุติธรรมอย่างสะดวกที่เสมอหน้ากันและเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

.


พรรคประชาชาติ ประกาศช่วยลูกหนี้ กยศ. หนุนเยาวชนเรียนฟรี-มีคุณภาพ

Interview: 「กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา: กยศ. 」

วันนี้ กองบรรณาธิการ Politica ได้รับเกียรติจาก คุณไชยพล เดชตระกูล คณะทำงานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคประชาชาติ ในฐานะที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ในเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายช่วยเหลือเด็กและเยาวชน ในประเด็น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดย คุณไชยพล ระบุว่า "หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 54 ต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา" 

"ในปัจจุบันกองทุนด้านการศึกษาที่ถูกจัดตั้งขึ้นมี 2 กองทุนหลัก คือ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ได้รับงบประมาณเฉลี่ย 5,000-6,000 ล้านบาทต่อปี โดยกว่า 99% นำไปใช้ช่วยเหลือผู้เรียนในวัยต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 1 ล้านคน ที่ควรได้รับการศึกษาภาคบังคับตามโครงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว จึงนับว่าเป็นการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนที่อาจไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญ และขาดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณด้านการศึกษาของรัฐ"

"อีกหนึ่งกองทุนด้านการศึกษา คือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 โดยเริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียนและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน หรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา ซึ่งในเวลาต่อมามีการตรา พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์และเงื่อนไขการกู้ยืมหลายอย่าง ซึ่งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ให้ตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และให้อิสระในการเลือกการศึกษาตามความถนัดของประชาชนทุกวัย" 

"พ.ร.บ. กยศ. ปี 60 เพิ่มวัตถุประสงค์การให้กู้ยืมเงิน นอกจากผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์แล้ว ยังให้กู้ในสาขาที่รัฐมุ่งส่งเสริม หรือผู้ที่เรียนดี แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่ผู้เรียนต้องเริ่มชำระหนี้คืน เมื่อสำเร็จการศึกษา หรือพ้นสภาพการศึกษา กอปรกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศมายาวนาน ผู้กู้จำนวนมากยังไม่มีงานทำแม้ว่าจะจบในสาขาที่รัฐมุ่งส่งเสริม หรือมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จนเกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่า 2 ล้านราย หรือ 60% ของจำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ เป็นเหตุให้ กยศ. ใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับชำระหนี้จากผู้กู้และผู้ค้ำประกันที่ส่วนใหญ่คือพ่อแม่ที่หวังที่จะให้ลูก ๆ ได้รับการศึกษาที่ดี เพื่อให้มีอนาคตที่ดี แต่ด้วยเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้ที่มีเบี้ยปรับสูงถึง 18% ต่อปี และมีการเข้าถึงข้อมูลของผู้กู้ที่อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ที่กยศ.ใช้อ้างเพื่อติดตามทวงหนี้ที่ผู้กู้ส่วนใหญ่มิได้จงใจผิดนัดชำระหนี้ หรือเป็นผู้ขาดวินัยทางการเงิน แต่ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจเดิมที่ครอบครัวผู้กู้เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์อยู่แล้ว จึงเป็นการสร้างปัญหาทางสังคมแก่ประชาชนในวงกว้างที่หากรวมครอบครัวผู้กู้และผู้ค้ำประกันอาจสูงถึง 10 ล้านคน ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการถูก กยศ. เร่งบังคับคดี โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่บางรายถูกยึดบ้าน ทั้ง ๆ ที่มีหนี้คงค้างเพียงหลักพันหลักหมื่น หรือถูกอายัดบัญชีเงินฝากแบบเหวี่ยงแห ทั้งที่เงินในบัญชีเป็นเงินสงเคราะห์จากรัฐเพื่อการยังชีพ หรือเป็นเงินเดือนที่ไม่เกิน 20,000 บาท ที่ทางแพ่งยังไม่สามารถยึดได้ แต่ตาม พ.ร.บ. กยศ. ปี 60 กลับให้อำนาจ กยศ. มีบุริมสิทธิในทรัพย์สินทั้งสิ้น"

"ปัญหายิ่งลุกลามเมื่อประชาชนประสบวิกฤตโควิด-19 พรรคประชาชาติจึงได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ. กยศ. ปี 60 ที่มีส่วนสำคัญคือการลดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับให้เป็นศูนย์ และให้ปลดภาระค้ำประกันทั้งหมดที่มีอยู่เดิม มีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เป็น 30 ปี และยังขยายระยะเวลาการบังคับคดีอีก 10 ปี ผู้กู้ทั้งเก่าและใหม่จะมีภาระเพียงการชำระเงินต้นเมื่อพร้อม เช่น เมื่อมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายที่จำเป็น หรืออาจได้รับการยกเว้นการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้บางส่วนหรือทั้งหมดเป็นทุนการศึกษา เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ เช่น เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เรียนดี สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศ เป็นต้น"

"ปัจจุบันเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีสูงถึง 468,774 ล้านบาท ที่รัฐธรรมนูญ ปี 60 กำหนดให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน หรือให้เอกชนบริจาคทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ทางภาษี (ให้ผู้มีโอกาสช่วยผู้ขาดโอกาส) เพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา มิใช่ให้กองทุนนำไปใช้จ่ายค่าทนายใช้ดำเนินคดีแก่ผู้กู้ที่มีการใช้เงินงบประมาณไปกว่า 8,788 ล้านบาท ระหว่างปี 2557-2563 จนสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว และไม่ควรเป็นภาระของผู้กู้รุ่นพี่ที่จะคืนหนี้เพื่อให้รุ่นน้องได้กู้เรียน ที่ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์มีภาระหนักในการดำรงชีพในยามยากอยู่แล้ว เมื่อประชาชนได้รับการศึกษาที่ดี ก็จะมีโอกาสสร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ และสามารถทยอยจ่ายคืนหนี้เงินต้นได้เมื่อพร้อมภายในระยะเวลา 30 ปี นั้นต่างหากคือการลงทุนในทุนมนุษย์ที่เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องมอบทุนการศึกษาให้แก่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญและเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทางการศึกษา ครับ"



ไทยกรีนอะโกร คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี ผู้นำเพื่อการเกษตรสร้างสรรค์คุณค่า

มาตรฐานผู้นำตัวจริง ผลิตภัณฑ์ปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์ 

ไทยกรีนอะโกร คว้ารางวัล "ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี" ประจำปี 2565

ประเภท ผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร: สารที่ใช้สำหรับควบคุมศัตรูและโรคของพืช



กรุงเทพฯ 20 พฤษภาคม 2565 –  ที่สุดของผู้นำ...ไทยกรีนอะโกร-ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โดย คุณมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ พร้อมด้วย คุณมณฑา บุญจรัส ผู้บริหารไทยกรีนอะโกร เป็นผู้รับรางวัลไทย "ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี" ประจำปี 2565 ประเภทผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร : สารที่ใช้สำหรับควบคุมศัตรูและโรคของพืช สะท้อนถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าและบริการ ที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของการรับรองการทำความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน การทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ จึงได้รับการพิจารณาจัดพิธีมอบรางวัล โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม ณ หอประชุมกองทัพอากาศ (อาคารทองใหญ่) ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า "ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี 2565" ผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร : สารที่ใช้สำหรับควบคุมศัตรูและโรคของพืช ประกอบด้วย อินดิวเซอร์,บูเวเรีย,นีมาเคียว,ฟอร์แทรน,ไบโอเซนเซอร์,ไบโอแทค (แบคเทียร์) จำหน่ายโดย บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพิจารณาจาก กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร , IFOAM เป็นที่เรียบร้อย โดย “ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม” ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง มีพื้นที่รวมกว่า 70ไร่ มุ่งผลิตปุ๋ยชีวภาพ ระบบการจัดการเกษตรแปลงใหญ่แบบผสมผสาน และโรงเรือนเพาะเห็ด โดยเป็นการสนับสนุนการทำเกษตรแบบยั่งยืนและปลอดภัย ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นพิษให้แก่เกษตรกร มุ่งหวังให้ท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดอ่างทองและพื้นที่โดยรอบเป็นเมืองเกษตรและแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยไร้สารพิษ รวมถึงมีการแนะนำจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยเพื่อเกษตรกรไทย และสอนเทคนิคการเพาะเห็ดแบบปลอดสารพิษให้กับเกษตรกรในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง







วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ทัดดาว" ย้ำ นโยบายเพื่อไทย ต่อยอดเศรษฐกิจคนกรุงเทพฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวทัดดาว ตั้งตรงเจริญ ผู้สมัคร ส.ก.เขตราชเทวี พรรคเพื่อไทย เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

นโยบายของพรรคเพื่อไทยไม่ได้เพียงแค่จะเข้ามาจัดโซนนิ่งให้พ่อค้าแม่ค้าในกรุงเทพฯเท่านั้น แต่มุ่งที่จะปลุกของดีของแต่ละเขตมาเพิ่มศักยภาพและส่งเสริมให้เกิดการเรียกเม็ดเงินมาเข้ากระเป๋าพี่น้องประชาชน ให้ทุกคนมีงาน มีเงิน ต่อยอดเศรษฐกิจให้คนกรุงเทพฯ

ตลอดเวลาที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยคือพรรคการเมืองเดียวที่ผลักดันนโยบายต่างๆในการหาเสียงให้เป็นจริงได้

22 พฤษภาคมนี้ต้องเลือกเพื่อไทยให้ชนะขาด ทั้ง 50 เขต ให้แลนด์สไลด์ทั่วกรุงเทพฯ



“ประชาชาติ” ชงแก้ พ.ร.บ.อุทยานฯ ช่วยชาวบ้านถูกเขตป่าทับที่ดินทำกิน

พรรคประชาชาติจัดประชุม ประเด็น “ที่ดินทำกิน” ติวเข้ม ส.ส.หวังแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หลังเจอลิดรอนสิทธิ์จาก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฉบับ คสช. “ทวี” ยกตัวอย่างอุทยานบูโด-สุไหงปาดี กระทบคนสามจังหวัดชายแดนใต้ ลุยเสนอร่างแก้ไข ยื่นได้ทันทีหลังเปิดสมัยประชุม 22 พ.ค.


วันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค.65 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชี่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ “เวิร์คชอป” ประเด็นปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 


ผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งแกนนำพรรค และ ส.ส.พรรคในพื้นที่ เช่น นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ นายกูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส เขต 3 นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส เขต 4 โดยสาระสำคัญของการประชุมคือเตรียมผลักดันแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 เนื่องจากกระทบสิทธิ์ของพี่น้องประชาชน และทำให้ประชาชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินที่ถูกประกาศเขตอุทยานฯ กลายเป็น “ผู้อาศัย” ทั้งที่อาจอยู่มาก่อนประกาศ


พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า พรรคประชาชาติจัดเวทีและให้ความช่วยหลือประชาชนในพื้นที่ไปแล้วหลายครั้ง แต่พบปัญหานี้ยังทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนลำบากอยู่ อยากจะให้มีการแก้ไขให้เป็นรูปธรรม หรือแก้ไขให้ประชาชนเห็นผลจริงๆ  


ดังนั้นเมื่อจะมีการเปิดสมัยประชุมสภา ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 22 พ.ค. และจะประชุมสภาผู้แทนราษฎรกันวันที่ 24-25-26 พ.ค.นั้น วันที่ 25 พ.ค.จะมีรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เข้าสู่วาระให้ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบ จึงน่าจะเป็นโอกาสที่พรรคประชาชาติจะผลักดันเรื่องนี้ต่อไป


“การตั้งกรรมาธิการในลักษณะนี้ ไม่ว่ารัฐบาลยุคใดสมัยใดก็ตั้ง พอตั้งแล้วก็ศึกษา และจัดทำรายงานเก็บไว้ที่สภา อย่างสมัยท่านอารีเพ็ญ ก็มีรายงานของท่านอารีเพ็ญเก็บไว้ที่สภา แล้วก็มีรายงานเก่าๆ เยอะเลย แต่กลับไม่ถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติ แต่ครั้งนี้เราจะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้นมา” เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าว 


พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า ในรายงานที่จะเสนอสภา มีประเด็นเกี่ยวกับชุมชนที่ถูกประกาศแนวเขตป่าไม้ทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ ยกตัวอย่างการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ครอบคลุมทั้งสามจังหวัด 7 อำเภอ ทำให้ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก เพราะถูกประกาศเขตอุทยานทับที่ดินที่เคยอยู่และทำกินมาก่อน 


“เรื่องของปัญหาที่ดินได้ถูกบันทึกไว้ในสภา ที่สำคัญคือปัญหานี้จะไม่บอกว่าเกิดจาก พ.ร.บ.อุทยานฯ หรือ พ.ร.บ.สงวนรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ หรือ พ.ร.บ.ป่าไม้ แต่กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่มป่าอนุรักษ์ หรือป่าที่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งกฎหมายอุทยานฉบับใหม่เพิ่งออกเมื่อเดือน พ.ค.62 คือเลือกตั้งเสร็จยังไม่ได้ตั้งรัฐบาล รีบออกเลย เพราะถ้าออกในสมัยที่มีรัฐบาลเลือกตั้ง กฎหมายลักษณะนี้คงไม่มีใครยอมให้ออก”


“กฎหมายนี้พอออกมา ได้ยกเว้นมาตราสำคัญๆ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งในรัฐธรรมนูญจะคุ้มครองสิทธิประชาชน แต่กฎหมายนี้ยกเว้น เช่น ยกเว้นรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 ที่บอกบุคคลมีเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย  ถ้าจะจับคน จะต้องมีหมายของศาล แต่กฎหมายนี้ไม่ต้องเลย ถ้าอยู่ในที่อุทยานฯ เจ้าหน้าที่มาจับกุมได้เลยไม่ต้องไปขอหมายศาล ขณะที่รัฐธรรมนูญมาตรา 33 บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในเคหะสถาน แต่กฎหมายอุทยานฯ ทั้งจับทั้งค้นไม่ต้องใช้หมาย เพราะมีการยกเว้นรัฐธรรมนูญ” เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าว 


พ.ต.อ.ทวี บอกด้วยว่า ผลของกฎหมายฉบับนี้ ถ้าประกาศเขตอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ป่า ไม่มาทับที่ของประชาชน ก็ถือว่าเป็นที่อนุรักษ์ แต่ถ้าประชาชนอยู่มาก่อนป่าประกาศ เพราะอยู่มานาน กฎหมายนี้ถือว่ามีปัญหา และส่งผลให้บ้านเมืองเหมือนไม่มีขื่อมีแป เจ้าหน้าที่จัดการได้เลย จับกุม คุมตัว ไม่ต้องขอหมายศาล นี่คือปัญาหของกฎหมายอุทยานฯ ซึ่งพรรคประชาชาติจะเสนอแก้ไข โดยได้เตรียมเสนอร่างแก้ไขเอาไว้แล้ว คาดว่าจะยื่นหลังเปิดสมัยประชุมสภา

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ทวี สอดส่อง" รำลึก 30 ปี สดุดีวีรชนพฤษภา 35

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสวนสันติพร อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ ว่า เมื่อเวลา 09.00น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายมนตรี บุญจรัส รองโฆษกพรรคประชาชาติ เดินทางมาร่วมงานรำลึกครบรอบ 30 ปี สืบสานวีรชน “30 ปี พฤษภาประชาธรรม” โดยภาคเช้ามีพิธีวางมาลา และพิธีรำลึก 30 ปี สดุดีวีรชนพฤษภาประชาธรรม 


พันตำรวจเอกทวี กล่าวว่า วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 มูลนิธิพฤษภาประชาธรรม จัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2535 ที่วีระชนนักศึกษาและประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจ จากการเข้าร่วมการทำรัฐประหารรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้มีการก่อตั้งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ขึ้น โดยการนำของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ และ พล.อ. สุจินดา คราประยูร เป็นรองหัวหน้าคณะ และขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 วาทะกรรม “เสียสัตย์เพื่อชาติ” จนนักศึกษาและประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจจนเกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ที่ได้รับการขนานนามว่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก


พันตำรวจเอกทวี กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีประเทศไทย มีข้อสังเกตว่า  “เดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน” มักจะเป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทยที่เป็นเหตุการณ์การแปลนแปลงโครงสร้างที่สำคัญ อาทิ

-24 มิถุนายน 2475 – วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เป็นวันสำคัญสำหรับการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย 

-15 มิถุนายน 2505 – ศาลโลกตัดสินให้ ‘ตัวปราสาทพระวิหาร’ เป็นของกัมพูชา ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2502 และวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกตัดสินด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ตัดสินว่าไทยต้องคืนวัตถุสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลาส่วนปรักหักพังของอนุสาวรีย์รูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผาโบราณ และปราสาทหรือบริเวณเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา เป็นต้น

พันตำรวจเอกทวี กล่าวอีกว่า “ขอรำลึกในเกียรติคุณและอุดมการณ์อันสูงส่งของวีระชนพฤษภาคม 2535 ที่พลีชีพจากการเรียกร้องประชาธิปไตยและไม่ต้องการให้สืบทอดอำนาจเผด็จการ ที่กลายเป็นอดีตหรือประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจลืมเลือนได้ เป็นบทเรียนให้สังคมไทยต้องไม่ให้เกิดการนองเลือดอีก และสามารถอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความเห็นต่าง และต้องเปิดความจริงทุกด้านให้เป็นบทเรียนแก่ทุกฝ่าย อดีตหรือประวัติศาสตร์ถือเป็นสมบัติของทุกคนบนโลก  ‘คนฉลาดเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต แต่จะฉลาดกว่าถ้าเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น’ เพื่อเป็นบทเรียนประยุกต์ใช้ให้เกิดสันติภาพและประโยชน์สุขแก่ปวงชน”