วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

"ธีรรัตน์" ดีใจ เยาวชน-คนรุ่นใหม่สนใจการเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ (KAS) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย (iDS) โดย ดร.ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ จัดงานเสวนาวิชาการแบบออนไลน์ ในประเด็น "นโยบายการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศของไทย" โดยมีวิทยากรจากหลากหลายมิติ คุณนภาจรีย์ จิวนันทประวัติ ผู้จัดการอาวุโสด้านโครงการมูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ และเลขานุการกรรมาธิการการต่างประเทศ ดร.อันธิกา ปรียานนท์ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานสหประชาชาติ (UN ESCAP) กรุงเทพฯ ดร.จุฑามณี สามัคคีนิชย์ และ ผศ.ชาญณวุฒ ไชยรักษา อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ทั้งนี้ ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ และเลขานุการกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ร่วมแสดงทัศนะ โดยกล่าวถึงบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในกิจการต่างประเทศเอาไว้ 3 ข้อหลักๆ ได้แก่ (1.) การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เนื่องจากความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา การติดต่อการค้า หรือการลงทุน ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้การช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาในประเด็นต่างๆในต่างประเทศ มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับประเทศนั้นๆ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ดีของประเทศไทยกับนานาประเทศจึงเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ Covid-19 ที่มีประเด็นที่ละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ประเด็นในด้านการ Quarantine ก่อนการเดินทาง หรือการช่วยเหลือนักเรียนไทยหรือแรงงานไทยที่ติดค้างอยู่ต่างประเทศ และปัญหาการเรียกร้องความเป็นธรรมในบริเวณเขตชายแดน เป็นต้น ทำให้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไป (2.) การเสนอแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานช่วยเหลือประชาชน หรือการเชิญเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศมาให้ข้อมูลเพื่อหาทางช่วยเหลือ รวมถึงการหางบประมาณมาใช้ในการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น และ (3.) การแสดงจุดยืนในฐานะพลเมืองโลก ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่รวมถึงประเด็นในระดับระหว่างประเทศด้วย โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การแสดงจุดยืนให้ประเทศพม่าหยุดใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นต้น (4.) การเสริมสร้างความเข้มแข็ง หรือการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง หรือกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง (5.) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประชาคมอาเซียน เนื่องจากปัญหาภายในประเทศหลักๆมาจากการที่ประเทศไทยขาดความมั่นคงทางการเมือง ทำให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศถดถอย เพราะสูญเสียความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากการไม่เคารพสิทธิและเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชน หรือหลักการสากลต่างๆ เป็นต้น บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงมีความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ ได้กล่าวด้วยว่า “วิสัยทัศน์หรือภาวะผู้นำของผู้นำประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงถาม-ตอบท้ายของงานเสวนา ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ ได้กล่าวว่า กรรมาธิการการต่างประเทศเห็นความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทเยาวชนที่มีส่วนร่วมทางการเมือง และดีใจที่ปัจจุบันน้อง ๆ นักศึกษาเข้าใจในสิทธิเสรีภาพมากขึ้น และออกมาส่งเสียงเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ได้มากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น