วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

"เพื่อไทย" แถลงวัตถุประสงค์ อภิปราย พ.ร.ก. 1.9 ล้านล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคเพื่อไทย แถลงข่าว แสดงวัตถุประสงค์ของพรรคเพื่อไทย ในการอภิปราย พ.ร.ก. เกี่ยวกับ การใช้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย


เนื้อหาการแถลงข่าว ระบุว่า พรรคเพื่อไทยเห็นว่าโควิด-19 เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่คุกคามชีวิตและสุขภาพอนามัยของชาวไทยและชาวโลก เป็นศัตรูของมนุษยชาติที่เราทุกคนต้องร่วมมือกันต่อสู้อย่างเต็มที่ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ

การะระบาดอย่างรวดเร็วทำให้แต่ละประเทศจำเป็นต้องกำหนดมาตราการต่างๆ ทั้งด้านสาธารณสุข การปิดเมือง ปิดน่านฟ้า ปิดธุรกิจ ฯลฯ  เพื่อชะลอการระบาด ให้สามารถตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมบุคลากรตลอดจนสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วยได้ทัน อันเป็นเหตุให้การใช้ชีวิตตามปกติของผู้คนได้รับผลกระทบอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

อย่างไรก็ตาม การที่จะใช้มาตรการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องเข้มข้นในระยะแรก จะต้องเป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อตอบสนองเป้าหมายด้านสาธารณสุขเป็นสำคัญ โดยไม่มีนัยยะแอปแฝงอื่นๆ เช่น ทางการเมือง และจะต้องให้ได้ดุลยภาพเพื่อนำไปสู่การกลับไปวิถีชีวิตปกติของประชาชนให้เร็วที่สุด ภายใต้มาตรการสาธารณสุขที่เหมาะสม มิเช่นชั้นก็จะเกิดปัญหาที่หนักกว่าและยากจะแก้ไขต่อไป นั่นคือปัญหาเศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน

พรรคเพื่อไทยเห็นด้วยที่รัฐต้องเยียวยาประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง เพราะไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่กล่าวมา เห็นด้วยที่จะต้องรีบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และรักษาระบบการเงินและการคลังให้มีเสถียรภาพ แต่จะต้องดำเนินการด้วยความจริงใจ เข้าใจและเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงตลอดจนภาระที่ประชาชนทุกคนและแต่ละกลุ่มกำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ดังนั้นพรรคเพื่อไทยในฐานะที่เป็นฝ่ายค้าน จึงต้องตรวจสอบการดำเนินการของรัฐบาล ในกรณีนี้อย่างเต็มที่ ทั้งในแง่วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแผนงานต่างๆ ในการรับมือกับโควิด-19 และปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่มาตั้งแต่รัฐบาล คสช. จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ของรัฐบาลต่อกรณี โควิด- 19  ประเทศไทยเคยประสบกับวิกฤตใหญ่ๆ มาแล้วหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดซาร์ (SARS) ไข้หวัดนก และสึนามิ ที่เกิดใน 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้น คือรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้ใช้วิสัยทัศน์ในการทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น มีความหวัง และมีขวัญกำลังใจที่จะก้าวต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม แต่รัฐบาลในปัจจุบันกลับสร้างความหวาดกลัว สับสน และท้อแท้ให้กับประชาชน ขาดการรับฟังจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การขยายเวลาบังคับใช้พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน นายกรัฐมนตรีให้สภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาเสนอและปรึกษากับผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหลาย ทั้งๆ ที่ควรนำเรื่องนี้ปรึกษากับสภาผู้แทนราษฎร ผู้ประกอบการ และภาคประชาสังคม จึงเป็นการแสดงวิสัยทัศน์แบบอำนาจนิยม บนพื้นฐานของรัฐราชการ แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล รัฐบาล คสช และรัฐบาลปัจจุบันได้ผลักดันให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ. ศ. 2561 -2580) กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศว่า ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดให้ประเทศไทยเป็นประเทศ 4.0 และ ปี 2580 ประเทศไทยจะพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง นั่นคือ ประชาชนมีรายไดต่อคนต่อปีประมาณ 500,000 บาท และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ที่มุ่งให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลดิจิทัล แต่ทั้งยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาฯ ที่กล่าวมาย้ำว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ

1) การเมืองเป็นประชาธิปไตยเคารพสิทธิมนุษยชน
2) ระบบราชการ ต้องเล็กลงและมีประสิทธิภาพ
3) กฎหมายที่ล้าหลังไม่จำเป็น ไม่เอื้อต่อการทำมาหากินต้องถูกยกเลิก

แต่ตั้งแต่รัฐบาลคสช. จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน 3 สิ่งที่กล่าวมา แทบไม่ได้รับการแก้ไขเลย เช่นรัฐบาล คสช ภูมิใจที่จะอวดว่า 4 ปี คสช ออกกฎหมายได้ 300 ฉบับ แต่รัฐบาลก่อนหน้านั้น 7 ปีออกได้แค่ 120 ฉบับ ไม่มีตรงไหนเลยที่บอกว่า ยกเลิกกฎหมายที่ล้าหลัง ที่เป็นภาระแก่ประชาชนไปกี่ฉบับ แผนพัฒนาฯ ระบุว่า ระบบราชการ ต้องรีบแก้ไขใน 4 ด้าน คือ

เครือข่าย สารสนเทศระหว่างหน่วยงานขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มาตรฐานการจัดเก็บข้อมูล ยังเป็นแบบแยกส่วน นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไมการเยียวยาถึงล่าช้า สับสน ซ้ำซ้อน ไร้ประสิทธิภาพ
คุณภาพและทัศนคติของบุคลากรภาครัฐโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง บางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการวางยุทธศาสตร์ที่จะนำเทคโนโลยี Digital ไปพัฒนาองค์กร

การบริหารจัดการภาครัฐมีประสิทธิภาพต่ำ และระบบการให้บริการประชาชนยังไม่ได้มาตรฐานสากล เพราะระบบราชการเป็นแนวดิ่งรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง มีระเบียบข้างตอน มากไม่ยืดหยุ่นฯลฯ และนี่เป็นปัญหาว่าการดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและชีวิตของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่ต่างกันช่วงโควิด-19  กลับต้องปฏิบัติเหมือนกันหมดทั้งประเทศ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น จีนเขาแบ่งออกเป็นพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงกลาง และความเสี่ยงสูง ซึ่งจะมีมาตรการที่แตกต่างกันโดยเฉพาะการทำธุรกิจ
กฎระเบียบทั้งหลายไม่เอื้อต่อการเป็นรัฐบาลดิจิทัล การติดต่อราชการยังต้องใช้เอกสารจำนวมาก โควิด-19  เป็นตัวเร่งให้เข้าสู่สภาพดิจิตอลเร็วขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลและระบบราชการต้องเป็นผู้นำ แต่กลับล้าหลังและสร้างต้นทุนมหาศาลให้แก่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับย่อย เล็ก กลาง และคนรากหญ้าโดยทั่วไป

จึงไม่อาจคาดหวังได้เลยว่าการใช้เงิน 1.9 ล้านล้านจะมีประสิทธิภาพและกอบกู้เศรษฐกิจได้ ทั้งๆ ที่เป็นเงินจำนวนสูงมากและในที่สุดประชาชนผู้เสียภาษีต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ประเด็นของการอภิปราย พรรคเพื่อไทยจะเน้นประเด็นดังต่อไปนี้

การบริหารของรัฐบาลช่วงโควิด-19 (ปลายธันวาคม 2562 -ปัจจุบัน) เพื่อชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จในการ ยับยั้งการระบาดนั้นแท้จริงแล้วมาจากความร่วมมือของประชาชน บุคลากรทางการแพทย์และอสม ระบบสาธารณสุขที่ดีและเข้มแข็ง รัฐบาลเองกลับทำให้การแก้ไขปัญหาไปซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วกับเลวร้ายลงไปอีก

การบริหารของรัฐบาลก่อนจะเกิดโควิด-19 ล้มเหลวจนก่อให้เกิดการขาดดุลงบประมาณมหาศาล GDP ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ สินค้า เกษตรตกต่ำคนรากหญ้าเดือดร้อนอย่างหนัก ก่อนจะมาถูกซ้ำเติมด้วยโควิด-19

การใช้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ไม่น่าจะประสบความสำเร็จเพราะ ขาดความเข้าใจในปัญหา มุ่งผลทางการเมืองมากกว่าจะแก้ปัญหา ให้มีประสิทธิภาพ การเยียวยาลักลั่น สับสน ไม่ทั่วถึง แผนงานโครงการเยียวยาและฟื้นฟู เป็นแบบกว้างๆไม่เป็นรูปธรรม การอุ้มตราสารหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีความประหลาดที่ไปจัดการเอง และยังสามารถเข้าไปซื้อขายตราสารหนี้ที่ไม่ได้ออกใหม่ได้อีกด้วยโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบที่รัดกุมแต่อย่างใด จึงน่าจะเอื้อต่อกลุ่มทุนพรรคพวก การให้ Soft Loan แก่ ธุรกิจ SMEs จํานวน 500,000 ล้านบาทก็ไม่น่าจะช่วยอะไรได้มาก เพราะต้องเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว และเป็นลูกหนี้ชั้นดี ไม่มีทางปล่อยกู้ได้ถึงจำนวนดังกล่าว มิหนำซ้ำธนาคารแห่งประเทศไทยยังปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์ กู้ในอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.01%  แต่ปล่อยกู้ได้ถึง 2% และยังรับ ประกันหนี้เสีย 60% - 70% เปอร์เซ็นต์

การใช้เงินเยียวยาฟื้นฟูและรักษาสภาพการเงินและความเชื่อมั่นของประเทศผ่านระบบการเมืองแบบอำนาจนิยม รัฐราชการ ตลอดจนกฎหมาย กฎระเบียบที่ล้าหลังเป็นอุปสรรค รวมกับวิสัยทัศน์สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนของรัฐบาลไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ รัฐบาลจะใช้โควิด-19 เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจ และเป็นแพะรับบาปให้แก่ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวเพราะรัฐบาลไร้ฝีมือและประสิทธิภาพ

การตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ ว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

เสนอวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์และแนวทางของพระเพื่อไทย

4.1 เป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความหวังขวัญกำลังใจ ให้กับประชาชน
4.2 ยุทธศาสตร์หลักที่ต้องรีบดำเนินการเช่นการจัดโซนนิ่งของพื้นที่เสี่ยง โดยแบ่งออกเป็นความเสี่ยงต่ำความเสี่ยงกลางความเสี่ยงสูงเพื่อใช้มาตรการ ทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่เหมาะสม การช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทางการเยียวยาและการลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลา การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสาธารณสุขให้เกิด ความเชื่อมั่น แก่คนไทยและนักท่องเที่ยว การเน้นให้เกิดกำลังซื้อเพื่อการบริโภค ภายในในระยะนี้ เป็นต้น
4.3 การเร่งรัดให้รัฐบาลยกเลิกพรก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและการเคอร์ฟิวเพราะมีความย้อนแย้งทั้งๆ เช่น ไม่ปรากฏว่าผู้ฝ่าฝืน เคอร์ฟิว จำนวนหลายหมื่นราย ติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด ทั้งนี้ยังต้องขอให้ประชาชนร่วมมือในส่วนของประชาชนเช่น การสวมหน้ากาก การหมั่นล้างมือ การรักษาระยะห่างของสังคมในพื้นที่ที่จำเป็น รัฐบาลต้องรีบเปิดธุรกิจโดยเร็ว ยิ่งหากกลัวว่าจะมีการระบาดรอบ 2 ยิ่งต้องละเอียดมากขึ้นมิเช่นนั้นจะกู้เงินจากไหนมาเยียวยาประชาชนอีก ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจไม่ทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น