วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

"ดร.ทักษิณ ไม่ใช่โจทก์ไม่ใช่จำเลย" เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กับ คำถาม-ตอบประเด็น หุ้นชินฯ


กองบรรณาธิการ Social Media สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม TV24 เรียบเรียงเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ ของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ต่อสื่อมวลชน ในฐานะฝ่ายกฏหมาย ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในประเด็นที่รัฐใช้ "อภินิหารทางกฏหมาย" ปิดใบประเมินเรียกเก็บภาษี 1.7 หมื่นล้านบาท ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ไม่ใช่โจทก์ไม่ใช่จำเลย หลายคนก็ไปบอกว่าเป็นจำเลย ใช้ภาษาก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกร้องที่ 1 ก็คือ ท่านทักษิณ ที่ 2, 3, 4 รายละเอียดก็คือ คุณหญิงพจมาน แล้วก็คุณโอ๊ค คุณเอม หลังจากที่ทาง คตง. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีแนวความคิดตั้งแต่ปลายปี 2557 ว่าจะต้องเก็บภาษีจากคำพิพากษา น่าจะทำได้ ทีนี้ สตง. เป็นองค์กรอิสระที่มี 2 องค์กรอยู่ในตัวเดียวกัน คือ องค์กรกลุ่มก็คือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน องค์กรเดียวก็คือตัวผู้ว่าฯสตง. เรื่องนี้คนมักไม่เข้าใจ ก็ไปคิดว่าผู้ว่าฯสตง. ไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ กลับไปหาอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดูได้มีชี้ไว้ อันนี้ก็ให้ชัดเจน ทีนี้ สตง. เนี่ย คตง. ไม่มีหน้าที่ออกหนังสือ เพราะฉะนั้น ที่เห็นมาตลอดก็คือตัวผู้ว่าฯอภิสิทธิ์ก็คือคนออกหนังสือ แต่ในแนวความคิดที่บอกว่า จะขอให้เอามาตรา 3 อัฎฐ มาขยายการออกหมายเรียกตามมาตรา 19 ก็ทำไม่ได้ แล้วก็จบไปแล้ว ด้วยคำวินิจฉัยที่ 41/2560 ของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ผู้สื่อข่าวก็คงจะเห็นแล้ว

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ทีนี้ก็ยังมีความพยายามตีความ ฟังมาหลายกระแส ทั้งสื่อฯที่ลง ทั้งโฆษกรัฐบาล ทั้งรองนายกฯวิษณุ ที่ไปตีความอภินิหารขึ้นมา ก็ฟังมาว่าเป็นแนวความคิดของคนใน สตง. เอง ก็จะเป็น คตง. หรือ สตง. เดี๋ยวค่อยว่ากัน ถ้ามีการฟ้องร้อง ก็คงได้นำสืบพยานกันให้ชัดเจน ก็ไปอธิบายความว่าอายุความภาษี คือการออกหมายเรียกเนี่ย อายุความ 5  ปีมันจบไปแล้ว แต่หนี้ภาษีตามประมวลกฎหมายแพ่งมัน 10 ปี อันนี้ถูกต้อง แต่นับเมื่อไหร่ อันนี้เดี๋ยวจะอธิบายความ เมื่อรัฐบาลได้ประชุมกัน 2 รอบ น่าจะมีคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ผมให้ความเคารพ ท่านประธาน คตง. อ.ชัยสิทธิ์ ก็คงจะมีการชี้แนะให้ความเห็นไว้ ว่า อายุความ หมายเรียกต้องถือว่าที่ออกหมายเรียกให้คุณโอ๊ค คุณเอมได้ออกไปแล้ว เมื่อศาลได้พิพากษาไปแล้ว คุณโอ๊ค คุณเอมถือหุ้นแทนท่านทักษิณ ก็ถือว่าหมายเรียกนั้นมีการออกไปแล้ว ไม่ต้องขยาย และอายุความ 10  ปี ก็ไปนับจากหมายเรียก หมายเรียก 2 ฉบับหลัง มีการไปนับว่า คุณโอ๊ค คุณเอม ครบกำหนดยื่นภาษี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 พอนับ 10 ปี ก็มีเหตุว่า 31 มีนาคม 2560 ที่จะถึงวันศุกร์นี้ เป็นเหตุให้ต้องรีบออกหนังสือแจ้งประเมิน


นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : วันนี้ผมก็เลยมาท้วงว่าเลขหมายประเมิน 320 , 321 มี 2  ฉบับ คุณโอ๊คฉบับนึง คุณเอมฉบับนึง มันออกโดยอาศัยฐานอำนาจ การตีความเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) ถามว่าทำไมเป็น (2) อันนี้ต้องไปถาม คตส. ที่เพิ่งจะออกมาพูดกัน บางคนก็พูดอธิบายความว่าทำเรื่อง คนทำเรื่องจริงคือคนนี้ คือเรืองไกรเองเป็นคนทำ ทำตั้งแต่อยู่ในรายงานวุฒิสภา ก็คุยกัน ขณะนั้นผมก็ยังอยู่ตรง คตส. ตรงที่ปรึกษาผู้ว่าฯสตง. เราก็อธิบายมาสรรพากร ว่าเงินได้ของคุณโอ๊ค คุณเอมในฐานะเป็นกรรมการแอมเพิลริช เมื่อได้ส่วนต่างราคาหุ้น มันจึงเข้ามาตรา 40 (2) ฟังให้ดีนะครับ (2) เหมือนเงินเดือนเรา เหมือนค่าจ้าง ค่าที่ปรึกษา นี่เป็นเหตุที่ให้กรมสรรพากรต้องฟัง คตส. เสร็จแล้วก็ทำการยกเลิกหนังสือ 2 ฉบับแรก หนังสือหมายเรียกประเมิน 2 ฉบับแรก อธิบายอยู่ในหนังสือแล้ว ซึ่งตอนนั้นเข้าใจว่ากรมสรรพากรบอกว่าเป็นมาตรา 40 (8)  ฟังดีๆนะครับ (2) กับ (8) ใช้ 40 (8)  ประเมินคุณโอ๊ค คุณเอมไปก่อน ขณะที่ยังไม่ถึงขั้นตอนวินิจฉัย ขั้นตอนการออกตัวเลข คตส. อธิบายความบอกว่าให้ยกเลิก 2 ฉบับนั้น มาใช้ 40 (2) เป็นเหตุให้อายุความที่นับนั้นมาเป็น 31 มีนาคม 2560

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : อธิบายสั้นๆง่ายๆว่า มาตรา 40 (2) กับ (8) ประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เงินได้พึงประเมินคืออะไร? คงพอทราบ ประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มี 4 วงเล็บ อยู่ในมาตรา 40 คือ (1) คือเงินเดือน , (2) ที่ปรึกษา , (4) ก็คือเรื่องหุ้น เงินปันผล , (5) คือค่าเช่า , (6) วิชาชีพอิสระ , (7) รับเหมา และ (8) การพาณิชย์และการอื่นๆที่ไม่เข้า (1) - (7) เหตุที่ตีความว่าเป็น 40 (2) ก็เพราะคุณโอ๊ค คุณเอมเป็นกรรมการแอมเพิลริช แต่ถ้าวันนี้กลับมาตีความว่า คุณโอ๊ค คุณเอมไม่ใช่ เป็นตัวแทนตัวการ ผมก็จะมาท้วงว่า ถ้าท่านนายกฯทักษิณเป็นไปตามคำพิพากษาก็ต้องใช้หนังสือประเมิน 2 ฉบับแรก ที่ คตส. ยกเลิก ต้องกลับไปใช้ 40 (8) ทีนี้มาดูว่าเหตุเกิดเมื่อไหร่? กรณีนี้ ตีความง่ายๆ จริงๆมันวันที่ 20 มกราคม 2549 แต่รายงานเป็น 23 เอา 23 มกราคม 2549 เงินได้ตามมาตรา 40 (5) , (6) , (7) , (8) ถ้าเกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม - 30 มิถุนายนของแต่ละปี ให้ยื่นแบบภาษีครึ่งปี คือ ภงด. 90 อันนี้คือฉบับแรก เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้ากรมสรรพากรจะดำเนินการตามมติ ครม. จะเดินตามอภินิหารของคุณวิษณุ หรือใครก็แล้วแต่ ตามใน คตง. และ สตง. ผมเห็นว่าทำไม่ได้แล้ว เพราะว่าถ้าตีความกลับไปตามหมายเรียก 2 ฉบับแรก นายกฯทักษิณมีหน้าที่ยื่นแบบ 30 กันยายน 2549 ไม่ใช่ 31 มีนาคม 2560 อย่างที่เข้าใจ แล้วก็ต้องไปย้อนเอาหมายเรียก 2 ฉบับแรกกลับมาใช้ในการประเมิน ถามว่าทำได้ไหม ไม่ได้ เอกสารยกเลิกการประเมินแนบอยู่ในหนังสือคำร้องทั้งหมดแล้ว เพราะกรมสรรพากรโดยคำแนะนำของ คตส. ให้ยกเลิก จะไปนับว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยศในขณะนั้น หรือ อดีตท่านนายกฯทักษิณ มาเสียภาษี 31 มีนาคม 2560 ก็ไม่ได้ เพราะวันที่เกิดเงินได้พึงประเมินคือ 23 มกราคม 2549 ถ้าเกิด 23 กรกฎาคม 2549 อายุความก็จะจบวันศุกร์ ชัดเจนนะครับ นี่คือเหตุที่ว่าต้องเอาหนังสือประเมินทั้ง 4 ฉบับ ที่เรียกว่าหมายเรียก เลขที่ 546 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 อันนี้ไปถึงคุณโอ๊ค เลขที่ 547 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ไปถึงคุณเอม ในแบบหนังสือประเมินเขียนชัดครับครึ่งปีแล้วถึงออก แล้วทำไมต้องออก 6 พฤศจิกายน 2549 ทำไมไม่ออกหลังวันที่ 31 มีนาคม 2550 เมื่อ คตส. ให้ยกเลิก สรรพากรก็มีหนังสือไปเรียกมาว่าขอยกเลิก เนื่องจาก คตส. แนะนำมา จึงออกเลข 320 ในวันที่ 30 มีนาคม 2550 คือออกหลังจากครบกำหนดยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาเป็นรายปี เหมือนพวกเราวันนี้ ภายในวันศุกร์ต้องยื่นแล้ว ใครมีเงินได้ 2-3 ประเภท ก็ยื่นเป็น 90 ใครมีประเภทเดียวก็ 91



นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : เสร็จแล้วปรากฏว่าพอออกหมายประเมินคำนวณภาษีเสร็จ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ คือคุณโอ๊ค คุณเอมก็ต้องใช้สิทธิ์อุทธรณ์ภายใน 30 วัน ก็อุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ออกหนังสืออุทธรณ์มา 2 ฉบับ คือเลข 385 และ 386 แนบอยู่ในเอกสารทั้งหมดแล้วนะครับ ลง 22 กันยายน 2552 บอกว่าการประเมินเนี่ยตามมาตรา 40 (2) เพราะคุณโอ๊ค คุณเอมเป็นกรรมการแอมเพิลริช ถูกต้องแล้ว แต่ให้ลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับเหลือกึ่งหนึ่ง คือปรับหนึ่งเท่าเหลือครึ่งนึงของหนึ่งเท่า แต่เงินเพิ่ม ไม่มีอำนาจในบทบัญญัติให้ลดได้ อันนี้เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ลงเช่นนี้ก็คือเห็นด้วยกับการประเมิน คุณโอ๊คคุณเอมก็มีสิทธิ์ฟ้องศาลภาษีอากรกลาง ก็ฟ้องไป ศาลก็รวมสำนวน เป็นเลขคดีที่เป็น 242 , 243 ที่ว่า ผมก็ถ่ายหน้าที่เกี่ยวข้อง คุณโอ๊ค คุณเอมก็สู้ว่าการประเมิน ขณะที่สู้คดีเนี่ยก็เกิดการยึดทรัพย์ วันนี้หลายคนก็ไปอ้างหน้า 100 จริงๆอยู่ในราชกิจจาจะเป็นหน้า 66-67 ที่พูดถึงเนี่ย มาตรา 61 ที่ต้องการเรียกเก็บภาษีนายกฯทักษิณก็ไปแปลความเกินไป เพราะในนั้นมาตรา 61 เนี่ยให้เรียกเก็บกับชื่อผู้ที่มีปรากฏอยู่ในหนังสือสำคัญก็ได้ มีคำว่าก็ได้ ศาลพิพากษาเสร็จแล้วก็มีการพิจารณาในคดีศาลภาษีอากรกลาง ศาลภาษีอากรกลางถูกฟ้อง

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ฟังดีๆนะครับ เมื่อเช้ายังดูข่าวว่าหลายสื่อฯก็ไปบอกว่าสรรพากรฟ้อง ไม่ใช่ สรรพากรเป็นจำเลย คุณโอ๊ค คุณเอมเป็นโจทก์ฟ้อง เมื่อมีคดียึดทรัพย์ ศาลภาษีอากรกลางก็วินิจฉัยชัดเจนแล้วว่า การที่ออกหนังสือประเมิน 2 ฉบับ ไปยังคุณโอ๊ค คุณเอมไม่ชอบ คำตัดสินอยู่ในหน้า 77 คำพิพากษาอยู่ในหน้า 78 คำที่ฟ้องอยู่หน้า 14-15 ฟ้องว่าขอให้เพิกถอนหนังสือ เพิกถอนการประเมิน ก็คือเพิกถอนหนังสือที่เกี่ยวข้อง และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เนี่ยครับก็เกิดประเด็นตามมาอีก มีคนไปยกคำวินิจฉัย 39 /2555 ขึ้นมา ก็ถามว่าถ้าหุ้นเป็นของท่านนายกฯทักษิณ อันนี้เป็นการถือแทน แปลว่าอะไร? คณะกรรมการวินิจฉัยไม่ตอบ ตอบว่าความชัดเจนอยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกานักการเมือง อม.1/2553 และคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางแล้ว ส่วนข้อ 2 ก็ไปตีความอีกว่า ถ้าบอกอย่างนี้ก็แปลว่าต้องไปเก็บภาษี ไม่ใช่ครับ เขาบอกเพียงแต่ว่ากรมสรรพากรดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป สรรพากรจึงวินิจฉัยว่าเก็บไม่ได้แล้ว นี่คือข้อโต้แย้งตั้งแต่ปี 2555 คำวินิจฉัยภาษีอากร มี 41/2560 อันนี้บังคับใช้หลังวันประกาศราชกิจจาฯ เพราะเป็นบททั่วไป แต่คำวินิจฉัย 39/2555 ให้บังคับตั้งแต่วันที่ออกคำวินิจฉัย ประกาศเมษายน แต่ออกต้นมีนาคม วันที่ 12 มีนาคม อันนี้รายละเอียดผมดูหมดแล้ว


นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ผมถึงบอกว่าขอเตือน วันนี้มาขอเตือนว่า เจ้าหน้าที่ ข้าราชการประจำ ทราบว่า ผมเห็นใจ มีความลำบากใจ เพราะเอกสารที่ผมเอามาก็คือเอกสารสรรพากรเนี่ยละครับ เอามายันให้ท่านเห็นว่าท่านจะต้องใช้คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาศาลฎีกาฯ เป็นกำแพงพิงหลัง ถ้าไปฟังมติ ครม. ไปฟังความเห็น สตง. จะโดย คตง. หรือผู้ว่า สตง. ก็แล้วแต่ มันไม่ใช่ความแพ่ง คือการสู้ความแพ่ง ถ้ายึดอายัดทรัพย์ มันจะนำไปสู่เหตุแห่งการฟ้องคดีอาญาตามมา แล้วไม่ใช่ 157 อย่างเดียว ความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ยังมีมาตรา 123 /1 ตามมาด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ปรากฏเป็นข่าว คนที่อยู่ในเรื่อง ครม. อะไรเนี่ย ผมเก็บหมดแล้ว

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : แต่ด้วยความประสงค์ของท่านนายกฯทักษิณที่ทราบมาช่วงท้ายๆ ท่านก็บอกว่า หาทางพูดคุยกัน อย่าให้มีการฟ้องร้องเลย เพราะว่าที่ผ่านมา ท่านก็อยู่ของท่านเฉยๆ อยู่ต่างประเทศเนี่ย 10 กว่าปีแล้ว ครอบครัวก็ไม่ได้เจอหน้า โดยเฉพาะภริยา ท่านก็พูดก็กล่าวบอกว่าไม่ได้เจอหน้ากันนานแล้ว แล้วก็ทราบว่าบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องเนี่ย อาจจะไม่ได้ยึดหลักกฎหมาย ท่านก็บอกว่าบางคนเนี่ยอาจจะมีอคติเป็นการส่วนตัวกับท่าน อันนี้ก็เป็นเบื้องหลังลึกๆ รายละเอียดผมทราบหมด แต่พูดตรงนี้ยังไม่ได้ คงไปว่ากันในศาล ความหมายตามข่าวของมาตรา 8 ผมยังเห็นว่าถ้ามีการยื่นไปจริง จะเป็นความผิดอีกขั้นตอนหนึ่ง จะใช้มาตรา 8 โดยเอาหนังสือประเมินที่ถูกศาลเพิกถอนไปแล้วมาใช้คงไม่ได้ และถ้าจะใช้ต้องไปใช้ 2 ฉบับแรก ที่ คตส. ให้ยกเลิก


แล้วตอนนี้คุณทักษิณทราบในเรื่องของการประเมินหรือยัง?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : เข้าว่าท่านทราบข้อความตามหนังสือของผม ฟังดีๆนะ เราต้องดูว่าที่ปรากฏตามข่าวหนังสือนั้นเป็นอะไร เพราะในข่าวพูดถึงมาตรา 8 ซึ่งมี 3 วรรค ไปอ่านดีๆ ถ้าผมดูจากข่าวมันเป็นวรรค 2 มันก็ไม่ถูกแล้ว มันต้องใช้วรรค 1 ก่อน

ทั้งหมดที่คุณเรืองไกรอธิบายมา คือเหมือนว่าถ้าตามมาตรา 8 เดิมเขาใช้มาตรา 8 วรรค 2 แต่ถ้าอ้างอิงตามศาลภาษีอากรกลาง ก็กลับไปใช้มาตรา 8 อีกก็คือไม่ได้ใช่หรือไม่?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ไม่ได้แล้วครับ เกินมาตรา 19 เกิน 5 ปี

คำว่านอมินี นี่ไม่ได้ใช่หรือไม่?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ไม่ได้ เพราะพิพากษา ลง 26 กุมภาพันธ์ 2553 หนังสือประเมินลง 30 เมษายน 2550 ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ สรรพากรก็ไม่รู้ สตง. ก็ไม่รู้ ผมเองก็ยังไม่รู้ ว่าศาลจะพิพากษาคดียึดทรัพย์ว่าท่านทักษิณเป็นตัวแทน เป็นตัวการ คุณโอ๊ค คุณเอมเป็นตัวแทน เข้าใจหรือไม่ครับ? เพราะฉะนั้นคุณจะเอาเหตุของปี 2553 ย้อนเวลาไปเป็นปี 2550 แล้วก็ทึกทักเอาว่าอันนั้นเป็นการประเมินท่านทักษิณไปในตัว ไม่ได้ มันย้อนเวลาอย่างนั้นไม่ได้ หมาย 2 ฉบับแรกถูก คตส. ให้กรมสรรพากรยกเลิก เอกสารก็คือหนังสือที่ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะครับ นางวณี ทัศนมณเทียร ผอ.สำนักตรวจสอบภาษีอากรกลาง ลงวันที่ 30 เมษายน 2550 อ้างถึงหมายเรียก 546 , 547 ด้วยทางราชการมีความประสงค์จะพบท่านเพื่อจะแจ้งว่า มีข้อความที่มีการยกเลิกหมายเรียกฉบับที่อ้างถึงตั้งแต่ต้น ชัดไหมครับ 2 ฉบับแรกที่ออกโดยมาตรา 40 (8) ถูกยกเลิก 2 ฉบับหลังที่ออกต่อจากนี้ศาลเพิกถอน


ศาลภาษีเพิกถอน?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ใช่ครับ หน้า 77 และหน้า 78 ในคำพิพากษา

แล้วจะนับอายุความคดีอย่างไร?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : มันนับไม่ได้ เพราะมันเลย ตอนนี้ต้องถามว่าอายุความนี้ เหตุเกิด 23 มกราคม 2549 ถ้าเป็น 40 (8) มกราคมก็เป็นรายได้ครึ่งปีแรกต้องยื่นภาษีครึ่งปี ภงด.94 ภายใน 30 กันยายน 2549 เพราะฉะนั้น อายุความเริ่มนับหลัง 30 กันยายน 2549 ถ้านับตามกฎหมายแพ่ง อายุความ 10 ปี  มาตรา 167 เดิมเป็น 193/31 อะไรที่ว่านี่นะครับ ต้องนับ 1 ตุลาคม 2549 ก็มาจบ 30 กันยายน 2559 เลยมาแล้วเกือบ 6 เดือน

แต่โดยปกติ ถ้ายื่นเป็นบุคคลธรรมดา ต้องยื่น 31 มีนาคม ไม่ใช่หรือ?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ไม่ใช่ครับ อันนั้นเฉพาะมาตรา (1) , (2) ให้ยื่นเต็มปี เหมือนพวกเรา เราเป็นนักข่าวผมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ

ต้องยื่นครึ่งปีหลังด้วยหรือไม่?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : อีกครึ่งปีหลังก็นำมารวมกับครึ่งปีแรกที่ให้มา เขาขอเก็บภาษีก่อน อันนี้มีในฎีกาเยอะครับ แต่อธิบายยากเพราะหลายคนต้องมานั่งอ่านต้องเข้าใจ

ถ้าสรรพากรยังจะเดินตามที่ว่าอ้างอภินิหารทางกฎหมาย?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : มันไม่ได้สู้แพ่งไงครับ ที่เป็นห่วงก็คือมันต้องสู้กันด้วยคดีอาญา แล้วถ้าจะใช้เนี่ย เข้าใจตรงกันแล้วว่าเป็น 40 (8) เพราะนายกฯทักษิณไม่ใช่กรรมการแอมเพิลริชแล้วในวันที่ซื้อขายหุ้น ก็ต้องเป็น 40 (8) อายุความตามแพ่ง อายุความหมายเรียกตามมาตรา 49 เลยหมดแล้ว


คุณทักษิณก็พร้อมที่จะต่อสู้ใช่หรือไม่?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ท่านไม่อยากต่อสู้หรอกครับ ท่านถึงบอกให้ผมมาในทางฐานะที่อยู่ในทีม หาวิธีมาคุยกัน อธิบายให้เข้าใจ อย่าต้องมานั่งมีความกันเลย คือถ้าบอกว่าแจ้งแล้ว ภายใน 30 วันไม่มา ก็ไปเจอกันในศาล ผิดถูกก็ให้ศาลตัดสิน มันไม่ใช่ความแพ่งอย่างเดียวครับ อาญาตามมาแน่นอน

อยากจะขอเจรจากับสรรพากร?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ไม่ ท่านไม่มีสิทธิ์เจรจาอยู่แล้ว เพราะว่าสิทธิ์ของท่านมันไม่เกิด เพราะว่ามันหมดไปแล้ว

ที่ท่านบอกให้มาคุยให้เกิดความเข้าใจ ให้มาคุยกับใคร?
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ : ผมในฐานะที่บอกแล้วว่า เรื่องนี้มันเริ่มจากผมเป็นส่วนสำคัญนะครับ ผมก็ยังไม่อยากเป็นตัวแทนท่านเต็มตัว เพราะว่าถ้าจะเป็นผมก็ต้องหาวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งให้ท่านมอบอำนาจให้ แล้วผมก็ต้องติดอากร 30 บาท ผมถึงจะกระทำการได้ หนังสือที่อยู่ในหมายนี้ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจทุกครั้ง ไม่งั้นก็พูดคุย แต่ในฐานะที่เรามีส่วนเกี่ยวข้องและอย่างไม่เป็นทางการ วันนี้ถึงอยากได้มาเตือน ใช้คำว่าขอเตือนเลยนะ เพราะมีส่วนร่วม หลายคนก็บอกว่าผมมาบีบมานี่นู่นนั่น คดีเก่าที่มีความกับผมยังไม่จบ เพราะงั้นคุณเบญจา เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คนที่คืนเช็คผม ก็ยังไม่จบ วันนี้ยังจะมีอีกเหรอ มันไม่ใช่แค่กรมสรรพากรอย่างเดียว ยังมีอีกหลายคนที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ -
TV24 - "เรืองไกร" บุกเตือนสรรพากร เรียกภาษี "หุ้นชินฯ" ขัดกฏหมาย 
https://youtu.be/_dxvb74pkqI

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น