วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

"ดร.ทักษิณ" ตอบคำถามประชาชน หลักการบริหารประเทศ-เศรษฐกิจ

ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้


สวัสดีครับพี่น้องคนไทยที่เคารพครับ วันนี้ผมคงมาตอบคำถาม เพราะว่าบรรดาผู้ที่ติดตามรายการนี้ตั้งคำถามมาเยอะแยะ ก็จะแบ่งกลุ่มคำถามที่จะตอบในวันนี้ตามคำถามที่ถามมาก็ 4-5 ข้อนะครับ
อันแรกเนี่ย วันนี้ก็อาจจะยาวนิดหน่อยครับ คำถามแรกก็จะถามว่า แนวการในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าควรจะเป็นยังไงบ้าง แล้วก็มีคำถามย่อยอยู่ประมาณ 7 คำถาม ผมคงจะตอบหลักการก่อนเพราะว่ามันจะยาว เขาบอกว่าจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นใน 1 ปีได้ยังไง ก่อนอื่นเอาหลักการก่อน   นะครับ
หลักการข้อที่ 1 ก็คือว่า ทรัพยากรในประเทศเราเนี่ยมันมีอะไรบ้าง บางอย่างลงทุนเยอะไป บางอย่างลงทุนน้อยไป ผมใช้คำว่า Re-Matching Resources คือเอาทรัพยากรทั้งหลายที่มีอยู่มา match กันใหม่ มาเฉลี่ยให้มันเหมาะสมว่าอันไหนที่เราลงทุนเยอะไป ไม่จำเป็น ก็เอาอันที่ลงทุนน้อยมาเติมลงอันที่มันลงทุนน้อยไป อันนี้คือสิ่งที่ผมใช้ในช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ ตอนที่ผมมาเป็นนายกตอนปี 2544  เพราะตอนนั้นเราเห็นชัดเจนว่า บางอย่างเรามีอยู่แล้วทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นเงิน เป็นวัสดุ แต่ว่าไปอยู่ในบางที่ๆ เราอาจจะไม่ต้องการ แต่บางที่ๆ ต้องการไม่มี เราก็มาเฉลี่ย ตรงนี้ใช้ศิลปะในการบริหารการจัดการอย่างเดียว ไม่ต้องไปลงทุนเพิ่ม อันนี้คือสิ่งเบื้องต้นเพราะว่าเราไม่มีตังค์หนิครับ วันนั้นมาถึงตังค์ยังไม่มี ก็ต้องแก้ด้วยปัญหาตรงนี้ก่อนนะครับ ก็คือ Re-Matching Resources จริงๆ แล้วก็คือว่าเอาทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหลายมาเฉลี่ยใช้กันให้เกิดประโยชน์สูงสุด แล้วก็เราก็จะต้องดูว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่มันสูงไปในภาคครัวเรือน หรือในภาคของรัฐบาล เราจะแก้กันยังไงโดยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นออก
อันที่สองก็คือต้องมาดูว่า แล้วรายได้ที่เรามีอยู่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัวหรือระดับประเทศมันไม่เพียงพอไหม หรือว่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้ไหม ให้ได้มากกว่านี้ไหม ถ้าได้มากกว่านี้ก็ปรับปรุงทำให้มันได้มากขึ้น แล้วก็ดูว่าเรายังมีปัญญาที่จะหาลู่ทางการทำมาหากินในระดับครอบครัวอะไร อีกบ้าง ในระดับธุรกิจอะไรอีกบ้าง ในระดับประเทศจะทำอะไรอีกบ้าง ก็เป็นลักษณะของการที่ใช้หลักการครับ หลักการก็คือว่าพยายามจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยยังไม่ต้องลงทุนเพิ่ม อันที่ 2 ก็มาดูว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่สูงเกินไปตัดได้ตัด ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก็ต้องยอม ที่ไม่จำเป็นก็ต้องตัด ส่วนรายได้ที่มีอยู่ไม่พอ หรือยังประสิทธิภาพไม่ถึงก็ต้องมาปรับปรุงประสิทธิภาพแล้วก็ยังมีลู่ทางทำมาหากินอย่างอื่นก็ค่อยคิดกัน เพื่อที่จะทำให้รายได้มันกลับคืนมา อันนี้เป็นหลักการ Business turnaround นะครับ คือเป็นการที่เวลาเราทำธุรกิจอะไรที่มันไปไม่ได้              จะต้องการให้มันดีขึ้น ก็ต้องเริ่มตัดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงคุณภาพของรายได้ให้ดีขึ้นมากขึ้น แล้วหาช่องทางที่จะให้รายได้ใหม่เกิดขึ้นนะครับ 
หลักการอันที่ 3 เนี่ยเราต้องมาดูว่าโลกยุคนี้เขาเรียกว่าเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ โลกาภิวัตน์จริงๆ แล้วแปลคำจำกัดความในการทำมาหากินเนี่ยก็คือว่า เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายแรงงานคือคน เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายทุนคือเงิน เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายสินค้าก็คือการส่งออกนำเข้า และเสรีภาพ  ในการเคลื่อนย้ายความรู้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เพราะฉะนั้น 4 ข้อนี้ เป็น 4 ข้อที่เราจะต้องสำนึกตลอดเวลาว่า มันเหมือนเปิดประตูน้ำครับ วันนี้เราต้องการน้ำ น้ำมันแห้ง ปิดประตูทำไม ก็ต้องเปิด แต่ถ้าน้ำมันเข้ามาเต็มแล้วเนี่ย จะล้นจะท่วมแล้ว ก็ต้องปิด มันเหมือนกับหลักการควบคุมประตูน้ำให้ปิดเปิดอย่างถูกต้องเหมาะสมตามปริมาณน้ำที่เราต้องการ ไม่มากไปไม่น้อยไป น้ำที่นี้เปรียบเสมือนคน ยกตัวอย่าง สมมุติว่าเราต้องมีแรงงานที่พิเศษ แต่ว่าเรามีไม่พอ แต่จำเป็นที่ต้องทำปัจจุบันนี้ ก็ต้องนำเข้าแรงงานก็ต้องทำ เหมือนที่ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือดูไบหรือยูเออีหรืออาบูดาบีก็แล้วแต่ ประชากรเขาน้อย เขาอยากได้คนต่างชาติมาสร้างแรงงานให้เขา ในสิ่งที่เขาขาด เขาก็อนุญาตให้มีวีซ่าเป็นที่พำนักถาวร เพื่อที่จะให้คนเหล่านี้มาทำมาหากินได้ มาช่วยสร้างเศรษฐกิจให้เขาได้ อันไหนที่เขามีมากเขาก็ไม่รับ อันไหนที่มีน้อยเขาก็เปิด อันนี้ก็คือเรื่องคน 
ยกตัวอย่างอีกอันนึงที่ผมเพิ่งไปเจอ นายนาดีม เด็กอายุ 34 วันนี้ เขาเริ่มทำโครงการโกเจ็ก โกเจ็กก็คือรถมอเตอร์ไซค์ส่งของ ส่งสินค้าอะไรหลายๆ อย่าง เขาเริ่มทำตั้งแต่อายุ 29 ตอนนี้ 34 บริษัทเขามีมูลค่า 10 Billion สหรัฐ ก็คือประมาณ 3 แสนล้านบาท ใช้เวลา 5 ปี ก็เก่งมาก แล้วเขาบอกว่า Engineer ที่อินโดนีเซียมีไม่พอ เขาเลยจ้าง Engineer ที่อินเดีย แต่ว่าไม่ต้องมาอยู่ที่อินโดนีเซียเลยครับ สั่งงานทางออนไลน์ แล้วทำงาน ส่งงานทางออนไลน์หมด เขาจ้างอยู่หลายคนเป็นพันนะครับ อันนี้คือสิ่งที่ให้รู้ว่าวิธีการที่เราขาด เราต้องการ เราก็ต้องเปิด วิธีที่เราล้น เราก็ต้องปิด อันนี้คือสิ่งที่เราจะต้องดูประตูน้ำนี้ให้ดี เงินก็เช่นกัน ถ้าเงินไหลออกมาก เราจะมีวิธีการยังไง เงินไหลเข้าน้อยเราจะทำยังไง เพื่อให้มันพอดีกัน อย่างวันก่อนผมฟังคุณมิ่งขวัญ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่พูดว่า วันนี้เงินมันหายไปไหน ก็ไปยกตัวอย่างว่า คนสั่งซื้อของทางออนไลน์เยอะมาก เงินไหลออกไปนอกประเทศหมด เข้ามาที่ลงบัญชีดูเหมือนมาก แต่ว่าที่ไม่ลงบัญชีเนี่ยมีเยอะ อันนี้ก็น่าคิดนะครับ ก็เป็นเรื่องที่เราต้องยอมรับว่าโลกยุคใหม่เนี่ยการซื้อของขายของมันซื้อออนไลน์เยอะ ออนไลน์ก็มีทั้งออนไลน์ในประเทศและออนไลน์ต่างประเทศ แต่ว่าสิ่งที่เราทำถามว่าเราปิดได้ไหม ถ้าปิดไม่ได้ ก็ต้องทำไง ก็ต้องทำเป็นว่าเราขายด้วยสิ ไม่ใช่ว่าเราชื้อเขาอย่างเดียวเราต้องขายด้วย นั่นคือเอาสินค้าไทยทั้งหลายเนี่ยขายออนไลน์ให้เยอะที่สุดมากที่สุด ระบบการขนส่งสินค้าที่เป็นของเน่าเสียก็ดี เป็นพวกอาหารก็ดี หรือเป็นพวกของใช้ทั่วไปที่จะต้องวางระบบการขนส่งที่ดี ก็ต้องมาจัดการกัน เพื่อให้เราสามารถส่งของเหล่านี้ได้ แล้วก็ขายออนไลน์ได้นะครับผลไม้จะออนไลน์ได้ไหม อะไรอย่างนี้ครับ อันนี้คือสิ่งที่เราจะต้องมาสร้างความสมดุล ถ้าไม่สมดุลเราก็ขาดดุลอย่างเดียวนะครับ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นหลักการ
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้และเทคโนโลยี ความรู้เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มันอยู่ตรงมือถือเราหรือแล็บท็อปเรา เราสามารถเข้าห้องสมุดโลก มีความรู้เหมือนที่คนทั่วโลกเขามี ถ้าเราปรับปรุงภาษาอังกฤษเราหน่อย เราจำเป็นที่ต้องคิดว่า อย่าง กสทช.ต้องมานั่งดูว่า ถ้าราคา data มันแพง ถ้าแพงก็คือกีดกันคนจนให้เข้าหาแหล่งข้อมูล คนจนก็ไม่ฉลาดขึ้นสักทีสิ ต้องให้คนจนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เหมือนคนรวย นั่นก็คือราคาค่า data ที่คิดต้องไม่แพง และทำยังไงถึงจะให้ระบบสื่อสารข้อมูล Data Communication ไปถึงระดับหมู่บ้านให้ได้ เพื่อให้คนทุกคนได้มีโอกาส  นี่คือหลักการนะครับ หลักการก่อน แต่วิธีการเดี๋ยวมาคุยกันอีกทีนะครับ
เรื่องการเงินอีกอันนึง ระบบนี้ โลกเราอยู่ระบบทุนนิยม เราชอบไม่ชอบเราต้องอยู่กับมันให้ได้ เพราะมันเป็นทุนนิยมทั้งโลก ทุนนิยมแปลตรงๆ ง่ายๆ คือ ไม่มีทุน ไม่นิยม ก็คือสรุปแล้วว่าคนชนบทไม่มีสภาพคล่อง เพราะอะไร คนชนบทมีเงินอยู่น้อยนิดไปฝากออมทรัพย์ไว้ รวมกันก็เยอะเหมือนกัน     ก็ถูกนำมาปล่อยกู้ในเมือง มาปล่อยกู้ในกรุงเทพ เพราะฉะนั้นเงินมันถูกดูดออกมา เมื่อเงินไม่มี     งานก็ไม่มี เมื่องานไม่มี มนุษย์ที่มีปัญญามีทักษะก็ไม่อยู่ เขาก็ต้องไปดิ้นรนหาที่มีงาน ก็เลยเข้ามากระจุกอยู่ในกรุงเทพ ทำให้กรุงเทพรถติด มีแหล่งสลัมเยอะ เพราะเขาต้องดิ้นรนเอาตัวรอดกัน     ส่วนชนบทก็มีแต่คนแก่กับเด็กอยู่ เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องเอาเงินไปหาชาวบ้าน ไม่ใช่เอาชาวบ้านมาหาเงินในเมือง ต้องเอาเงินกลับไปที่ชาวบ้าน นั่นก็คือว่าทำอย่างไรถึงจะให้เงินกลับไปสู่ชนบท เหมือนที่ผมทำตอนนั้นเรื่องกองทุนหมู่บ้าน แต่วันนี้เนี่ยโลกมันเปลี่ยนไป มันต้องทำมากขึ้นอีกนะครับ ต้องมีวิธีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Fintech หรือเป็นเรื่องของเทคโนโลยีทางด้านการเงิน ซึ่งตอนนี้มันก้าวไปเยอะนะครับ ระบบการกู้ที่เป็น Peer-to-peer  และวันนี้ CryptoMoney เนี่ย ในโลกข้างหน้ามันเกิดแน่ แต่ว่าต้องมีทรัพย์สิน Backed ไม่ใช่เป็นตัวลอยๆ เหมือน bitcoin นี่ลอยไปหน่อย สมมุติว่ายกตัวอย่าง วันนี้จีนเนี่ยคิดแล้วครับ จีนจะทำ CryptoMoney ของตัวเอง แต่ว่าเป็น CryptoMoney โดยใช้เงินหยวนของเขานี่แหละ back ไม่ใช่เป็น CryptoMoney ลอยๆ คือเงินดิจิตอลนี่แหละ ไม่ลอยๆ อย่างนั้น  เพราะฉะนั้นโลกข้างหน้าเนี่ยมันก้าวเข้าไปสู่ที่เรียกว่า cashless คือใช้เงินสดน้อยลงไปเรื่อยๆ คนจีนวันนี้เนี่ยไปซื้อกับข้าว 10 บาท 20 บาท จ่ายทางออนไลน์หมด ยกเว้นบางที่ๆ เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่พอ เช่นเรื่องทางด่วนบางแห่งยังต้องใช้เงินอยู่ เงินสดในจีนใช้น้อยลงเรื่อยๆ แล้วจีนก็เลยจะทำ CryptoMoney  รัสเซียคิดจะทำ CryptoMoney โดยอิงทอง  นะครับ เพราะฉะนั้นเนี่ยโลกกำลังจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในระยะต่อไปนี้ เพราะว่า blockchain มาแรง หรือที่เราเรียกว่าเป็น internet of value แล้วก็ความปลอดภัยมันสูงมากขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นก็จะทำให้คนใช้  blockchain สร้าง CryptoMoney ก็ดี การปล่อยกู้แบบ Peer-to-peer ก็ดีเพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเราเนี่ยรู้เท่าทันโลก คือเรื่องโลกาภิวัตน์ ปรับกระบวนท่าในการที่จะควบคุมประตูน้ำด้านคน เงิน สินค้า เทคโนโลยี และความรู้นี่ ถ้าเรา 4 อย่างนี้ เราเป็นมวย เราทันโลก เราก็จะไม่โดนกิน หรือเราจะไปกินคนอื่นเขามั้ง ไม่ใช่โดนเขากินข้างเดียว แล้วก็ในประเทศก็ต้องจัดให้ดีว่าให้ทุนมันเข้าไปแทรกซึมลงไปในทุกระดับชั้นของการทำมาหากิน เพราะว่าถ้าคนไม่มีทุนทำมาหากิน มันก็ทำมาหากินไม่ได้ แล้วต้องไปกู้หนี้นอกระบบ ก็ลำบาก ก็ชักหน้าไม่ถึงหลังนะครับ วันนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือว่าในเมื่อการบริหารผิดพลาดมานานเนี่ย คนต้องดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่ ก็กู้หนี้ยืมสิน หลายครอบครัวหลายธุรกิจอยู่ในสภาพที่ว่ากู้เงินข้างหน้ามาใช้หนี้ในอดีต แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำมาหากินอะไรต่อ แล้วก็หมุนเงินไปเรื่อยๆ ซึ่งผมผ่านชีวิตเหล่านี้มาหมดแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้รัฐจะ ต้องทำการปรับโครงสร้างหนี้อย่างแรงเลย ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งครัวเรือน ปรับโครงสร้างหนี้        ทั้งธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลาง ขนาดใหญ่ไม่ต้องพูดถึงเขาช่วยตัวเองได้ เขามีเครดิต แต่ขนาดเล็กขนาดกลาง และก็ชาวบ้านขายของตามตลาดตามถนน แล้วก็ครัวเรือนทั้งหลาย หรือเกษตรกรด้วย ถ้าเราไม่ปรับโครงสร้างหนี้ให้เขาสามารถที่จะมีภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระต่ำกว่ารายได้ที่เขาพึงได้รับเนี่ย ก็จะทำให้เขาต้องสร้างหนี้ใหม่ขึ้นมาอีก มันก็จะเป็นดินพอกหางหมูไม่รู้จักจบ เหมือนหนี้ของครูทั้งหลายนะครับ เพราะว่าเปิดช่องให้กู้ กู้หมด กู้เพื่อใช้หนี้เก่า เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางที่จะรอด และรัฐต้องทำ วันนี้เราต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเราคนเป็นหนี้มากกว่าความสามารถในการชำระคือรายได้ตัวเองมีจำนวนมาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่ปรับโครงสร้างหนี้ตรงนี้ มันไม่รู้จะเดินต่อไปยังไง มันเหมือนว่าเขาป่วย ป่วยแล้วไม่รักษา แล้วจะบอกให้ไปวิ่งมาราธอน มันเป็นไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้นถ้าจะวิ่งมาราธอนด้วยกันก็ต้องรักษาคนป่วยก่อน คนป่วยแข็งแรงดีแล้วค่อยมาวิ่งมาราธอนกัน นั่นคือสิ่งที่ต้องรีบทำปัจจุบัน ก็คือปรับโครงสร้างหนี้นะครับ แล้วก็พยายามจับทรัพยากรที่มีอยู่เข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และกู้หนี้ใหม่ให้น้อยที่สุด ถ้าเรามาถึงแล้วกู้หนี้ก่อนเนี่ยมันง่ายดีครับ แต่ระยะยาวมันเป็นปัญหา ตอนผมเป็นนายกตอนช่วงนั้นปี 44 ที่เรายังเป็นหนี้ IMF อยู่ คำแรกที่ถูกสื่อมวลชนถามเขาถามว่า แล้วอะไรคือนโยบายหลักสำคัญ ผมบอกว่าช่วยเหลือตัวเองก่อน ก่อนที่พระเจ้าจะช่วยเรา ก็คือสุขแล้วผมไม่กู้หนี้เพิ่ม เขาก็ตกใจ ว่าเป็นหนี้ขนาดนี้แล้วไม่กู้หนี้ได้ไง ผมบอกว่าผมไม่กู้หนี้เพิ่ม เพราะผมมั่นใจว่าสภาพคล่องในประเทศมีเพียงพอ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เครดิตประเทศกลับคืนมาเลยว่า เห้ย เขามีวิธีนี่หว่า อย่างนี้เนี่ยตอนหลังมา พอเราชำระหนี้ IMF เสร็จ ผมถูกตื้อให้กู้น่าดูเลย เพราะคนที่เงินเหลือเนี่ย มันก็จะให้เรากู้อย่างเดียว เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเห็นว่าเขาให้เงินกู้มา แล้วยังไม่รู้เอามาทำอะไรเนี่ย คือดอกเบี้ยมันเดินแล้วนะ เพราะฉะนั้นต้องคิดว่าก่อนจะกู้เงินต้องคิดว่ากู้แล้วเราจะเอามาสร้างรายได้อย่างไรที่ให้มัน  มีรายได้มากกว่าต้นทุนเงินที่เราเอามา สมมุติดอกเบี้ย 5 ถ้ารายได้เราต่ำกว่า 5 เราจะไปกู้มาทำไม กู้มาก็เจ็บตัว ขาดทุนตลอด อันนี้คือการที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับขึ้นมาดีภายใน 1 ปี เนี่ยคือ   1.ต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้ประชาชนและภาคธุรกิจขนาดเล็ก 2.ต้องจัดการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม โดยที่ยังไม่ต้องไปกู้เพิ่ม แล้วก็ 3.บริหารด้านของโลกาภิวัตน์ให้ดี เพื่อจะไม่ให้เราต้องขาดดุลตลอดเวลา โดยที่ขาดดุลนอกบัญชี ขาดดุลในบัญชีมันไม่ขาดดุลเพราะว่าเราส่งออกเยอะ แต่ขาดดุลนอกบัญชีมันจะเกิดขึ้น โดยที่เงินมันไหลออกเราไม่รู้ตัวนะครับ เพราะฉะนั้นก็ต้องรีบแก้ไข แล้วก็พยายามสร้างรายได้ใหม่ๆ สำคัญที่สุดคนบอกว่าแล้วโลกยุคใหม่จะทำมาหากินยังไงดีหล่ะ อย่าลืมนะครับเรามีของดีอยู่ไม่กี่อย่าง อย่างที่ 1 ก็คือ เราเป็นประเทศที่อยู่ในโซนร้อนเพราะนั้นเรามีดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการทำการเกษตร แต่เกษตรอย่างเดียวอย่างเดิมไปไม่รอด เกษตรวิถีชีวิตไม่ได้ ต้องเป็นเกษตรเพื่อทำเป็นธุรกิจ นั่นคือต้องเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ต้องเอาการตลาดเข้ามาใช้ ต้องเอาระบบการขายออนไลน์เข้ามาใช้ เพราะฉะนั้นต้องหากินกับดินส่วนหนึ่ง หากินกับดิน หากินกับการเกษตรเนี่ยส่วนหนึ่ง ส่วนที่ 2 ก็หากินกับสิ่งที่มันอยู่ในสายเลือดหรือใน DNA ของคนไทย นั่นก็คือความมีสุนทรียะ การมีทักษะ ไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าว คนอีสานยังทำกับข้าวอาหารญี่ปุ่นได้ ฝรั่งได้หมด เรามีงานฝีมือที่สวยงามนะครับ แต่ว่าก็ต้องเอาเทคโนโลยีเข้ามาบวกด้วยนะครับ หากินด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยมีเทคโนโลยีเข้ามาใส่ แล้วอันนึงก็คือหากินบนเทคโนโลยีจริงๆ เหมือนที่เด็กหนุ่มชื่อ นาดีม ที่ทำอยู่ที่อินโดนีเซียนะครับ วันนี้คนไทยเราเด็กหนุ่มของเรามีศักยภาพอีกเยอะ แต่เพียงไม่มีทุน สมัยก่อนเนี่ยของผมใช้แลกเช็ค แต่สมัยนี้ยังมีพวกกองทุนต่างๆ มากมาย แต่ว่าสำคัญคือไอเดียต้องมี เดี๋ยวนี้มีไอเดียแล้วเงินมันหาง่าย แต่ถ้าไม่มีไอเดีย วิ่งไปขอกู้เงินก่อน เพราะว่าเงินขาดมือเนี่ยกู้ยาก เพราะคนไม่เชื่อถือ เพราะฉะนั้นต้องกู้ด้วยไอเดีย ต้องมีไอเดีย ของผมระยะหลังตอนหลังมาที่ผมพ้นจากแลกเช็คเนี่ย ผมก็เอาไอเดียไปขายแล้วก็กู้ บางที่สมัยก่อนเลียนแบบก็มีนะครับ เราเอาไอเดียไปขาย เค้ามีตังค์หนิ เค้าเลียนแบบเราเลยก็มี ต้องระวังหน่อย ต้องเอาไอเดียที่ดีไปเสนอ แต่ว่าหลักการ วิธีการเนี่ยเราเก็บไว้ เพราะเราต้องเป็นคนทำนะครับ
3 อย่างวันนี้ที่ผมมองเห็นเร็วๆ เนี่ย คือ 1.ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในการทำมาหากินทางเทคโนโลยีนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Blockchain ก็ดี การค้าขายออนไลน์ก็ดี การทำ Sharing Economy เหมือนที่โกเจ็กทำก็ดี แล้วก็เรื่องของการที่จะทำเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แล้วอันที่ 3  ก็ทำเกี่ยวกับเรื่องดิน เอาการเกษตรทั้งหลายนะครับ ถ้าจะทำ Organic ก็ต้องพลิกหน้าดินก่อน     มีกองทุนพลิกหน้าดิน อันนี้ต้องทำนะครับ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าทำพร้อมๆ กันใน 1 ปี ทำได้ครับ

มีคำถามอีกหลายอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสาธารณสุขก็มี แต่ว่าผมรวบรวบเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการฟื้นฟูภายใน 1 ปีก่อนนะครับ
อีกอันนึงก็ที่ผมพูดไปแล้วบางก็มี เขาถามว่าแนวการทำธุรกิจและอาชีพในอนาคต ผมเลยบอกเมื่อกี้ว่าสิ่งที่น่าสนใจอันหนึ่งคือ Sharing economy บ้านเราเนี่ยต่างชาติเข้ามาน้อย Sharing economy เนี่ยยังสามารถทำได้หลายอย่าง ผมยกตัวอย่างอันนึง ไปที่อินโดนีเซียมา ก็คนที่อินโดคนนึงยังหนุ่มเหมือนกันสัก 30 กว่าจะ 40 เขาทำอันนึงเรียกว่า HelloDoc ก็คือเขาไปชวนหมอมาเป็นสมาชิกอยู่ 2 หมื่นคนในอินโดนีเซีย และ 2 หมื่นคนเนี่ย ก็จะต้องให้เวลาว่าผลัดนี้ใครทำงานบ้าง คือสรุปแล้ว 24 ชั่วโมง ต้องมีหมอจำนวนหนึ่งที่ต้องเข้ากะ ในการที่จะต้องมาตอบคำถามให้กับชาวบ้าน แล้วชาวบ้านที่มีแอพเนี่ยก็จะเรียกหมอ สมมุติว่าผมปวดท้องไม่รู้สาเหตุ ผมก็เรียกหมอ หมอก็เหมือนอูเบอร์ ใครสะดวก ใครได้ ก็เข้ามาตอบ ตอบก็ได้ตังค์นะ เขาก็มีการคิดตังค์กัน เสร็จแล้วเนี่ยหมอก็ตอบว่าโอเคคุณเป็นแบบนี้ๆๆ นะ ถ้าสมมุติเราเป็นคนไข้ที่อยู่ในระบบ ก็จะมีแฟ้ม ซึ่งหมอก็จะเข้าหาแฟ้มเราได้ว่า เรามีอาการปวดท้องเป็นประจำเนี่ย มันอาจจะเกิดจากเรื่องของผนังกระเพาะมันเสื่อมหรืออะไรก็แล้วแต่ มันจะมี record อยู่ในนั้น แล้วหมอก็จะถามอาการ ถามเรียบร้อยปุ๊บ  ก็จะสั่งยา สั่งยาปุ๊ป เขาก็จะลิงก์กับโกเจ็ก โกเจ็กก็จะส่งไปซื้อยา แล้วมาส่งมอบให้กับผู้ป่วยได้เลย    ยังไม่ต้องไปหาหมอ แค่ปรึกษาหมอทางโทรศัพท์ อันนี้ก็เป็นอันนึง เค้าเรียกว่าเป็น Sharing economy เหมือนกัน เพราะมีหมออยู่ทั่วไป แล้วก็มีร้านขายยาอยู่ทั่วไป มีคนต้องการปรึกษาหมอ  ก็สามารถ ปรึกษาแล้วก็ไปซื้อยา โกเจ็กก็มีรับส่งมอเตอร์ไซค์อยู่ ก็ไปซื้อยาให้ แล้วมาส่งเก็บตังค์ นั่นคือสิ่งที่เขาทำน่าสนใจ
อีกอันน่าสนใจก็คือ เขาใช้วิธีอย่างนี้ว่า ร้านกาแฟเล็กๆ ย่อยๆ มันอยู่เต็มไปหมดเลย มันไม่สะอาดบ้าง ผัวเมียทำกันเองบ้าง แล้วเมียเนี่ยต้องตื่นตี 3 ไปจ่ายกับข้าว เพื่อ 6 โมงเช้ามาทำกับข้าว แล้วก็สายๆ ก็เปิดร้านกาแฟ ขายกาแฟแต่เช้า แล้วมีอาหารนิดๆ หน่อยๆ ประกอบด้วย เขาก็เลยปรับปรุงร้านเหล่านั้นด้วยวิธีการว่า มาเป็นสมาชิกเค้า แล้วเขาก็จะให้แรงจูงใจ เมื่อทำความสะอาดปรับปรุงเนี่ย ให้พ้อยท์กี่พ้อยท์ เพื่อให้ทุกร้านปรับปรุงตัวเอง แล้วเขาเนี่ยบริการซื้อวัตถุดิบให้ไม่ต้องตื่นตี 3 6 โมงเช้าเนี่ยหมูไก่ไปถึงแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปตี 3 เพราะจะมีคนจัดการให้เสร็จ นี่ก็เป็นสิ่งที่เขาเป็นของเล็กๆๆ เต็มไปหมด ก็เอามาร้อยรวมกัน เค้าเรียกเป็น Sharing economy     ของเรายังทำได้อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโฮมสเตย์ เรื่องอะไรต่ออะไรเรายังทำได้เยอะ       นะครับ อันนี้ก็ค่อยๆ คิดกันไปนะครับ อันนั้นก็คือแนวทางการหากินในอนาคต
เราต้องเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีในอนาคตเนี่ย หุ่นยนต์มันเข้ามาแรง ผมไปคุยกับ Google  Google ของอินโดนีเซียถือว่าเป็น Google ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนะครับ เขาเล่าให้ฟังว่าตอนนี้ Google กำลังทำเรื่อง Deep Mind  Deep Mind ก็คือว่าเข้าใจ ใช้ AI หรือ artificial intelligence เข้าใจมนุษย์    ที่ลึก เข้าใจวิธีคิดของมนุษย์ด้วยนะครับ น่าสนใจมาก เขาก็ไปได้ไกล เพราะฉะนั้นโรบอตเนี่ยมันเข้ามาหลายๆ อย่าง เช่น มาเป็นผู้ช่วยหมอ มาเป็นผู้ช่วยนักบินนะครับ คือเขาเอาโรบอต เริ่มมาเป็นผู้ช่วยก่อน ก่อนที่จะมาเป็นตัวจริง ในจีนก็ใช้เป็นผู้ช่วยหมอเยอะ ก็มันเริ่มมาแล้ว เพราะฉะนั้นต้องเริ่มศึกษาโรบอตอย่างจริงจังว่าจะเอามาใช้ประโยชน์อย่างไร งานบางอย่างเราใช้คน บางอย่างก็ใช้คนน้อยลง ใช้โรบอตมากขึ้น นี่คือสิ่งที่มันหนีไม่พ้น ผมจึงบอกว่าต้องฝึกคนให้เป็นนายหุ่นยนต์     ให้ได้ ถ้าใครเป็นนายหุ่นยนต์ไม่ได้ ต้องมาเปลี่ยนอุตสาหกรรม จากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นภาคบริการเสีย เพื่อจะได้เปลี่ยนอาชีพนะครับ เพื่อให้คนไทยไม่ตกงาน แต่พัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนอาชีพให้มีรายได้ตลอดเวลา นั่นคือสิ่งที่เราต้องทำ เรพราะฉะนั้นการค้าการขายเล็กๆ น้อยๆ อะไรทั้งหลาย ต้องปรับปรุงตัวเองให้รู้ว่าออนไลน์มีแล้วนะครับ ชวนลูกหลานให้มาเล่นออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่วันๆ นึงก็จมอยู่กับหน้าจอ ไม่สร้างสรรค์ คุยกับเพื่อนทั้งวัน แต่จริงๆ แล้วก็ให้เขาคุยกับเพื่อนแล้วก็ชวนเพื่อนมาเลย มาช่วยบอกว่าแม่ทำอย่างนี้ จะทำยังไง จะขายออนไลน์ได้     เขาก็จะมาสร้างเว็บไซต์ให้แม่ คือเขาทำเป็นหมดแหละเด็กรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นก็ชวนเค้ามาแทนที่จะไปว่าเด็ก เราก็ชวนเขาเข้ามาทำ ทุกอาชีพมันสามารถปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีได้นะครับ ก็เป็นแนวทางที่โลกมันต้องไป
ที่นี่อุตสาหกรรมไทยเราวันนี้ เป็นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่บ่าย 3 โมงครับ พระอาทิตย์ใกล้ตกดินแล้ว เพราะฉะนั้นก็ต้องปรับปรุงอุตสาหกรรมตัวเองทุกอย่างนะครับ การปรับปรุงที่ดีที่สุดก็คือเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่ารังเกียจเทคโนโลยี ตัวเองไม่รู้ไม่เป็นไร ลูกหลานรู้ ลูกหลานไม่รู้      ก็ยังไม่พอ สามารถจ้างก็ได้ ใช้บริการเค้าได้ มีเยอะแยะไปหมดนะครับ มันมีบางบริษัทเด็กหนุ่ม   บางคนคนไทยเนี่ยมาคุยกับผมว่า เขารับจ้างเปลี่ยนระบบการทำงานที่มันเป็นอนาล็อกช้าๆ แล้วก็เป็นเอกสารกองเนี่ย มาเป็นระบบดิจิตอล ก็คือทำให้ทุกอย่างเข้าในคอมพิวเตอร์หมด แล้วสามารถที่จะเรียกดูเรียกใช้และทำวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ได้ ขึ้น cloud ได้ เข้า Server ของตัวเองได้ นี่คือสิ่งที่มันมีอยู่แล้วในประเทศไทย ต้องใช้เกิดประโยชน์นะครับ เด็กรุ่นใหม่ก็หากินทางด้านอะไรที่มัน related กับเทคโนโลยีหน่อยนึงก็ดี โดยใช้สิ่งที่คนไทยถนัด บวกกับเทคโนโลยี เราถึงจะไปได้ครับ
คำถามข้อที่ 3 นะครับ ถามว่า แนวทางในการพัฒนาการศึกษา อันนี้เนี่ย วันนี้เราต้องเปลี่ยนรูปโฉมการศึกษาอย่างสิ้นเชิง ถ้าเรายังศึกษาแบบเดิมอยู่เนี่ย เด็กไทยจะไม่ฉลาด คิดไม่เป็น และไม่ทันโลก ก็อย่างที่ผมบอกไว้ 2045 เขาทำนายไว้ว่า Robot จะคิดเป็นทำเป็นเท่ากับมนุษย์ที่มีสมองอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย แต่ถ้ามนุษย์ที่มีเกณฑ์สมองที่สูงกว่าเฉลี่ยก็จะเก่งกว่าหุ่นยนต์ ต่ำกว่าเฉลี่ยก็จะโง่กว่าหุ่นยนต์ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าการศึกษาเราไม่ปรับปรุงขืนยังเป็นอย่างนี้อยู่เนี่ย แล้วเป็นแบบท่องจำอยู่ ครูไม่สามารถจะสอนแบบใหม่ได้ เด็กไม่มีทางจะฉลาดได้  อันที่สองก็คือเรื่องภาษาอังกฤษ หนีไม่พ้นครับ วันนี้ต้องเพิ่มภาษาอังกฤษให้มาก แล้วต้องใช้ 2 ภาษาเพิ่มขึ้นในโรงเรียนต่างๆ แล้วก็อันที่ 3 ก็คือว่า หลักสูตรเดี๋ยวนี้เนี่ย ทุกที่นี้เขาเอาขึ้น Cloud ไว้หมด เขาไม่จำเป็นที่ต้องมาพิมพ์หนังสือ บังคับหนังสือพิมพ์ขายอย่างนั้น คือสมมุติว่าผมเป็นเด็กชอบคณิตศาสตร์คนนึง ผมเรียนอยู่ ป.1 ดีๆ เนี่ย ผมสามารถขึ้น Cloud ไปดู ว่าผมเรียน ป.1 ไม่เห็นมีอะไรท้าทายเลย ผมรู้แล้ว จบแล้ว ผมเรียนของ ป.2  ป.2 ก็จบละ ผมอยู่ ป.1 ผมอาจจะเรียนหลักสูตรคณิตศาสตร์ ป.4 นะครับ ผมไม่ต้องมานั่งรอถึง ป.4 แล้วค่อยเรียนอย่างนี้ นั่นคือสิ่งที่เป็นแนวคิดในการสอนในการเรียนหนังสือใหม่ แม้กระทั่งสิงคโปร์กับฟินแลนด์เนี่ยจะก้าวหน้าที่สุด    สิงค์โปร์เนี่ยเขาไปร่วมกับมหาวิทยาลัย Oxford ของอังกฤษ เขาไปนั่งวิเคราะห์สมองของเด็กว่าเด็กคนนี้สมองลักษณะโครงสร้างสมองเป็นอย่างนี้ เรียนวิชาอะไรจะถนัด จะดี จะใส่เข้าไปได้ แล้วชั่วโมงไหนเนี่ยจะใส่ความรู้ได้ดีกว่า ช่วงกลางวัน กลางคืน ตอนดึก เขาไปวิเคราะห์ขนาดนั้น แต่ยังไม่จบนะครับ เค้ากำลังทำ research ขณะนั้น นั่นคือเห็นว่าการเรียนรู้ยุคใหม่เนี่ย มันต้องไปด้วยระบบดิจิตอลหมดนะครับ ที่ผมทำตอนนั้นที่นโยบายของท่านนายกปู ที่แจกแท็บเล็ตพีซี ก็เอาความคิดมาจากด็อกเตอร์เนโกรพอนเต ที่ One Laptop per Child สมัยก่อนนู้นนะครับ ที่เป็นอาจารย์อยู่ใน MIT media labs นะครับ ก็เขากำลังมองว่าห้องสมุดโลกมันอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นต้องให้เด็กสามารถเรียนรู้ ถามหาความรู้ต่างๆ ได้ตลอดเวลา เพราะสมองเด็กมันรับได้เยอะ          คนโบราณไปคิดว่า ถ้าใช้สมองมากเกินไปอีกหน่อยมันจะไม่ดี ความจริงแล้วเนี่ยตอนตายไปแล้วเนี่ยเซลล์สมองยังเหลือตั้ง 5 แสนล้าน ยังเหลือเยอะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่าเซลล์สมองมันจะถูกใช้มาก ยิ่งใช้มันสมองเหมือนมีด ยิ่งลับยิ่งคม ยิ่งใช้ยิ่งฉลาด ยิ่งไม่ใช้ยิ่งโง่ เพราะฉะนั้นเนี่ยการศึกษาต้องให้เด็กร่วมคิดร่วมทำ ครูจะต้องกลายเป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่ครูเป็นคนสอนอย่างเดียว ครูผู้อำนวยสะดวก facilitator แล้วก็ช่วยแนะนำช่วยอะไร แต่ว่าขณะเดียวกัน การมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนระหว่างนักเรียนสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นก็วิธีการเรียนการสอนเรานี่แทบจะต้องเปลี่ยนใหม่ Google ก็ทำ Google Education แล้วนะครับ ก็วันนี้เยอะมากในโลกนี้เขาใช้ระบบผ่าน Digital แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยเองก็ยังเอาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างๆ มารวมกันสอน อย่างบริษัทหนึ่งชื่อว่า คอร์สเซร่า ก็เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่เอาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างๆ มารวมกันให้เราเรียน เพราะฉะนั้นวันนี้เนี่ยรูปแบบของการศึกษาแบบเดิมๆ แบบมีรูปแบบ         มันเริ่มจะใช้ไม่ได้ล่ะ มันใช้แค่ Standard ในการวัดเท่านั้นพอ แต่ว่าไม่ต้องมานั่งกำหนดรูปแบบตอนนี้ไอ้เรื่องการกำหนดรูปแบบเนี่ยเริ่มจะไม่มีแล้วในโลกนี้ เพราะฉะนั้นเขาจะให้เสรีภาพในการศึกษาพอสมควร ถ้าตราบใดที่เราไม่กระจายอำนาจการศึกษา เราปล่อยการศึกษาไว้ส่วนกลาง   ที่กระทรวงศึกษาเนี่ย คงจะทำให้เราล้าหลังไปอีกเยอะนะครับ เพราะฉะนั้นต้องกระจายอำนาจการศึกษา และต้องให้ใช้ระบบดิจิตอลมากที่สุด และก็กลับไปอีกว่าค่า data แพงไม่ได้ เพราะถ้า   ค่า data แพงเนี่ยก็ทำให้กีดกันการศึกษาแก่คนจนนะครับ
ถามเรื่องการเงินและการลงทุนในโลกยุคใหม่ เมื่อกี้ก็พูดกันไปแล้วว่า เดี๋ยวนี้แม้กระทั่งโบรกเกอร์ยังใช้โรบอทมาช่วยเทรด ถ้าใช้โรบอตที่มันเก่งๆ คำนวณดีๆ เนี่ย มันจะทำให้สามารถติดตามราคาหุ้นได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็ช่วงที่หุ้นมีการเหวี่ยงมากๆ เขาก็หากินกับเดลต้า คือผลต่าง เวลาลงก็ซื้อ ขึ้นก็ขาย ลงก็ซื้อ ขึ้นก็ขาย ขยันเอา โวลุ่มของโบรกเกอร์ก็ได้เยอะ แต่ลูกค้าก็มีกำไร เป็นลักษณะอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเนี่ยทุกอย่างอย่าลืมเทคโนโลยี อย่าทิ้ง แล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้นะครับ เรียนรู้มันไป ทีนี้ธนาคารเนี่ย ธนาคารยักษ์ๆ เท่านั้นที่จะรอด ธนาคารเล็กๆเหนื่อย เพราะว่าความน่าเชื่อถือมีปัญหา แต่อีกหน่อยธนาคารใหญ่ๆ เองก็ถูกแข่งขัน เพราะว่ามันจะมีพวก เขาเรียกว่าแข่งขันจากพวก Non Bank ที่ไม่ใช่แบงค์เข้ามาแข่งขัน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีทำ Blockchain หลายแบงค์ก็เริ่มเอา Blockchain มาใช้ตัวเอง เพราะว่าเหมือนกับเป็นการ Disrupt ตัวเอง มีการแข่งกับตัวเอง เพราะฉะนั้นก็เรื่องของการเงินยุคใหม่เนี่ย source ในการหาเงินกู้ คงไม่ใช่แบงค์อย่างเดียว กองทุนต่างๆ ที่จะมาสนับสนุนคนที่มีไอเดียดีๆ ในการทำมาหากินเนี่ย เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะฉะนั้นหลักการมี 2 อย่าง อย่างที่ 1.ก็คือต้องมีไอเดีย เพราะฉะนั้นต้องลับสมอง อ่านหนังสือ พบปะผู้คน แล้วก็ไปเรียนรู้จากความสำเร็จของคนมา แล้วก็มาปรับใช้    นะครับ มัน copy ไม่ได้ ก็จะทำให้เรามีไอเดีย ถ้ามีไอเดียแล้วแบงค์ไม่ให้กู้ กองทุนต่างๆ ก็จะมีสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ บางทีไม่ใช่กองทุนในประเทศอย่างเดียว กองทุนนวัตกรรมที่เกิดอยู่ต่างประเทศก็ให้การสนับสนุนเราได้ ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะอธิบายให้เขา โน้มน้าวให้เขาเชื่อ    ในไอเดียของเรา ต้องมีความคิดให้ดี และอันที่ 2.ที่สำคัญคือ ต้องบริหารการเงินให้ดี อย่าใช้เงิน    ผิดประเภทนะครับ บางทีบางครั้งก็เห็นใจ เช่นว่า กู้เงินมาได้แทนที่เอามาทำงาน กลับเอามาใช้ส่วนตัว อันนี้อันตราย เพราะจะทำให้ต้นทุนเงินมันสูงกว่าความเป็นจริง เพราะว่าเราไม่ได้เอามาใช้กับธุรกิจ กู้มาใช้ส่วนตัว บางคนกู้เงินได้เนี่ยปลูกบ้านบ้าง หรือซื้อรถเบนซ์บ้าง มันต้องเข้าใจก่อนว่าต้องกู้เงินมาทำธุรกิจก็เอามาทำธุรกิจ อย่าเอามาใช้นอกธุรกิจ อันนี้สำคัญที่สุด ถ้าใช้เงินผิดประเภทปุ๊บเนี่ย พัง พวกนี้ผมผ่านมาหมดแล้ว บางคนนี้ก็เริ่มต้นพอมีตังค์ปุ๊บก็ไปดูได้เลย ดูที่มือเมียมีเพชรใส่แล้ว แสดงว่าไอ้นี่หมุนเงินได้แล้ว ก็ไม่มีปัญหาที่ต้องซื้อให้เมีย แต่ว่าต้องขอให้เป็นช่วงที่เรากำไรแล้วนะครับ ช่วงที่ต่อสู้อยู่ต้องใช้เงินอย่าให้ผิดประเภทนะครับ ส่วนคนที่ทำมาหากินทางแบงค์เนี่ย แล้วก็ต้องถูกเลย์ออฟระยะยาวเนี่ย เป็นคนได้เปรียบตรงที่มีความเข้าใจเรื่องการเงิน ก็น่าจะลองคิดว่าจะทำมาหากินอะไรนะครับ จะทำมาหากินอะไร ต้องเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการ อย่าง      ผมมานั่งดูที่ฮ่องกงนะครับ ร้านเล็กร้านน้อยเต็มไปหมดทุกมุม แสดงให้เห็นว่าคนฮ่องกงเนี่ยมาเป็นเถ้าแก่เสียเอง เยอะกว่าที่เป็นลูกจ้าง เพราะฉะนั้นลูกจ้างเนี่ยก็จะมาจากฟิลิปปินส์บ้าง จากตรงนู้นตรงนี้บ้าง จากเมืองจีนบ้าง แต่คนฮ่องกงเนี่ยมาทำธุรกิจหมด เล็กๆ น้อยๆ ร้านห้องแถว บางทีไม่มีห้องแถวก็เป็นแผงไปวางตรงนู้นตรงนี้ คือเขาชอบทำมาหากิน ชอบค้าขาย เพราะฉะนั้นประเทศไทยเราเนี่ยต้องสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้มาก ถ้าสร้างผู้ประกอบการใหม่น้อยเนี่ย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้โตกว่านี้มันก็ยากนะครับ มันก็จะโตเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ แต่คนข้างล่างก็ไม่มีแรง เพราะฉะนั้นต้องสร้างคนข้างล่างให้เป็นผู้ประกอบการให้มากขึ้นเรื่อยๆ เปิดช่องทางให้เขา โดยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งทุนสำคัญที่สุด เพราะว่าถ้าแหล่งทุน ถ้าเราไม่ช่วยตัวเองเนี่ย รัฐบาลไม่ช่วยตัวเองในการหาแหล่งทุนได้ให้นักธุรกิจ ไปอาศัยแบงค์คงยาก เพราะว่าแบงค์ระยะหลังเนี่ยก็จะปล่อยให้เฉพาะรายใหญ่ รายเล็ก รายกลางจะน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะว่าซื้อบอร์ดรัฐบาลง่ายกว่า   นะครับ ก็ต้องคิดให้ดีตรงนี้
คำถามต่อไปก็ถามว่า แนวทางในการใช้ชีวิตและพัฒนาตัวเองเป็นยังไงบ้าง ก็ถามผมมานะครับ       ผมก็บอกว่าผมเป็นคนพุทธ แต่จริงๆ แล้วหลักการทุกศาสนาเหมือนกันนะครับ สอนให้เป็นคนมีหลักมีเกณฑ์ เป็นคนดีนะครับ ก็ผมจะยึดหลักธรรมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนสมัยก่อนที่ผมจะเป็นนายกเนี่ย คณะลูกศิษย์พระพุทธทาสก็มาขอให้ผมไปพูดเรื่องพระพุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จัก ตอนนั้นผมก็ได้ยินแต่ชื่อท่าน แต่ไม่รู้จักหลักธรรมที่ท่านสอน คณะลูกศิษย์ก็เลยเอาหนังสือพระพุทธทาสมาเป็นสิบๆ เล่มเลย ผมไปอยู่เมืองนอกช่วงนั้นก็ไปอ่าน ก็ต้องยอมรับว่าตอนแรกๆ อ่านยากไม่เข้าใจ ตอนหลังได้ความรู้เยอะมาก ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีปรัชญา ถ้าเราเข้าใจปรัชญา เราปรับใช้ในชีวิตได้เลย เพราะฉะนั้นหลักธรรมที่เป็นปรัชญาจะเป็นหัวใจสำคัญในการไกด์ใช้ชีวิตเราควบคุมชีวิตเรา ให้เรามีหลักมีเกณฑ์นะครับ
แล้วก็ผมเนี่ยเจอลีกวนยู ลีกวนยูมาเยี่ยมผมตอนผมเป็นนายก ผมก็ถามท่านว่าทำไมท่านถึงมีความรู้มากมายขนาดนี้ ท่านอ่านหนังสือเยอะเหรอ ท่านก็บอกว่าหนังสือก็อ่านอยู่หรอก แต่หนังสือมันเยอะเหลือเกิน อ่านไม่ทันหรอก มั้นต้องอาศัยว่าได้พบปะพูดคุยกับผู้คน ผู้คนแต่ละคนที่มาพบผมเนี่ยนะ ก็มีประสบการณ์ในชีวิตเป็นสิบๆ ปีมา บางทีบางครั้งเนี่ยมีประเด็นอะไรต่างๆ เราถามเขา ดูวิธีการที่เค้าตอบ เขารีแอคขึ้นมาเนี่ย มันทำให้เราเข้าใจอะไรเยอะขึ้น แล้วเราเรียนรู้จากคนอื่นที่เขามีประสบการณ์ทั้งชีวิตมาเนี่ย เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะฉะนั้น    ผมก็ หลักในการใช้ชีวิตผมก็คือ มีหลักปรัชญาตามคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ ซึ่งศาสนาอื่นก็เหมือนกันนะครับมีปรัชญาหมดนะครับ แต่บังเอิญผมเป็นคนศาสนาพุทธผมก็เลยบอกว่าหลักปรัชญาศาสนาพุทธเนี่ยสำคัญ  อันที่สองเนี่ยก็คือ ต้องอ่านหนังสือ อย่าให้ตัวเองไม่ทันการพัฒนาของโลก เศรษฐกิจเอย อะไรเอย เราจะเข้าใจ เมื่อก่อนนี้ตอนทำธุรกิจผมอ่านหนังสือการตลาด     ผมก็อ่านมาถึงจุดหนึ่ง ผมเห็นและวิธีการตลาดมันเริ่มเปลี่ยน จากการที่เราคิดเอาเองว่าสินค้าเราเนี่ยเราจะขายอย่างนี้ เราจะขายราคาเท่านี้ เปลี่ยนใหม่เป็นว่า เราต้องถามลูกค้าก่อน เค้าเรียกว่าจาก Inside-out เปลี่ยนมาเป็น Outside-in ผมอ่านปุ๊บผมรู้เลยว่าวิธีคิดมันเปลี่ยนแล้ว พอดีตอนนั้นผมตั้งพรรคไทยรักไทย ผมเลย Outside-in เลย ผมก็ไปถามชาวบ้าน เดือดร้อนเรื่องอะไร ต้องการความช่วยเหลืออย่างไร และวิธีคิดอย่างนี้ถูกไหม ชอบไหม อะไรไหม ก็เป็นที่มาของการกำหนดนโยบายในช่วงนั้น ก็คือให้เห็นว่าเราจะต้องตอบสนองกับลูกค้าของเรา การเมืองก็ต้องตอบสนองกับประชาชน นักธุรกิจก็ต้องตอบสนองกับคนที่เป็นลูกค้าเรา เป็นคู่ค้ากับเรา ทำยังไงถึงจะให้เขา  พึงพอใจที่จะมีความซื่อสัตย์ต่อสินค้าเรา แบรนด์ของเรา Brand loyalty  คือเราจะต้องคอยถามกันตลอดเวลา ไม่ใช่คิดเอาเองตอบเอาเอง อันนี้หลักการมันก็เห็นชัดว่า เออ โอเคเราเข้าใจแล้ว       คือสรุปแล้วต้องอ่านหนังสือ และต้องพูดคุยกับคน อย่าเก็บตัว พบปะผู้คนพูดคุยกัน เพื่อเราจะได้เรียนรู้ แม้กระทั่งว่าคนนั้นเขาจะด้อยกว่าเรา เราก็ยังต้องเรียนรู้เขา คือทุกคนมีดี มีมากมีน้อยแล้วแต่อยู่ที่เราจะไปดูว่าจะเจียรไนเอาส่วนไหนมาใช้ประโยชน์ เพราะฉะนั้นหลักของผมในชีวิตก็คือ        1.ยึดปรัชญาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันที่ 2.ก็คืออ่านหนังสือพูดคุยกับคน  และอันที่ 3.ก็คือว่าเราจะต้องเข้าใจอดีต แต่ไม่อยู่กับอดีต อย่าหลงอดีต ถ้าคนหลงอดีตเนี่ยโตยากนะครับ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจอดีตเพื่อเป็นบทเรียน แต่ว่าวันนี้เราอยู่กับวันนี้กับอยู่อนาคต เพราะฉะนั้นต้องคิดตลอดเวลาอนาคตเราต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดถึงอนาคตตลอดเวลาเนี่ย 1.เราทันสมัย     2.เราไม่แก่ ถ้าคิดจะอดีตตลอดเนี่ย จะแก่จะโทรมเลย จะหลงอยู่กับอดีต เพราะฉะนั้นก็ต้องพยายามมองไปข้างหน้า แล้วอีกอันนึงที่ผมยึดก็คือ บังเอิญมันตรงกับผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดที่วิจัยมา 75 ปี เป็นมหาวิทยาลัยที่ยาวนานที่สุด ก็คือว่าความสุขคืออะไร ความสุขที่แท้จริงก็คือการที่เราให้คนที่อยู่ใกล้ชิดเรา ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัวก็ดี เพื่อนฝูงที่ไปมาหาสู่กันตลอดก็ดีคนทำงานรอบตัวเราก็ดี อย่าให้เกิดการอิจฉาริษยากัน ไม่ใช่พูดให้ตีกัน อย่าให้อิจฉาริษยากัน       ให้เขามีน้ำใจต่อกัน เกื้อกูลต่อกัน เราให้ความรักกับเขาหมด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีความสุข เพราะจริงๆ แล้ว Happiness is at home นะ สิ่งที่ออกไปข้างนอกเป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น ความสุขคือกลับมาที่บ้านแล้วเราเห็นว่าทุกคนที่อยู่ร่วมกันนั้นมีความสุข ไม่มีความทุกข์ ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้    ซึ่งกันและกัน มันก็จะทำให้เราอยู่กันอย่างมีความสุข มีความสุขก็คือ สุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็จะดีสุขภาพจิตดี ร่างกายก็ไม่ทรุดโทรมนะครับ แล้วก็แน่นอนครับก็ต้องมีการออกกำลังเพื่อให้ร่างกายดีการออกกำลัง การกินอาหารที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเราแข็งแรงมีอายุยืนนานได้ เพราะฉะนั้นก็ยึดปรัชญาของพระพุทธเจ้าไว้ อย่าโลภอย่าโกรธอย่าหลงเวลาจะตัดสินใจอะไร แล้วก็สิ่งสุดท้ายคือผมต้องการมากที่สุดคือเวลามีคำถามอะไรต้องการคำตอบทางวิทยาศาสตร์ หรือ  scientific answer ก็คือต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูล มีการวิเคราะห์วิจัย ไม่ใช่ฟังเขามาเรื่อยเปื่อย หรือไม่ใช่เชื่อแบบนิยายปรัมปรา คือพระพุทธเจ้าก็สอนไว้ว่าหลักธรรม ท่านไม่ค่อยเล่นเรื่องของเครื่องราง       ของขลัง ท่านไม่ได้เล่น ท่านว่าแต่เรื่องของหลักธรรมเป็นปรัชญาอย่างเดียว ปรัชญาของท่านเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นก็หลักการการดำเนินชีวิตที่ดีก็คือ ยึดปรัชญาคำสั่งสอนของพระศาสดา     ที่คุณนับถือนะครับ แต่ไม่ใช่เป็นความงมงายลุ่มหลงสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้นะครับ แล้วก็ยึดหลักความสุขที่ถูกต้องก็คือให้คนรอบตัวเรามีความสุขกับเรานะครับ แล้วก็หมั่นเรียนรู้ เป็นโลกของ Lifelong Learning เพราะฉะนั้นก็หยุดเรียนรู้ไม่ได้ ถึงแม้จะจบปริญญาเอกมาก็ยังต้องอ่านหนังสือนะครับหยุดเรียนรู้ไม่ได้ เป็นโลกของ Lifelong Learning ไม่งั้นก็ต้องขยันอ่าน ขยันพบกับผู้คน เพื่อที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน ขยันไปดูนิทรรศการต่างๆ เพื่ออัพเดทตัวเอง แล้วเมื่อมีข้อสงสัยต้องหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จินตนาการนะครับ อันนี้ก็จะทำให้เราชีวิตเรามีความสุขได้นะครับ
วันนี้ก็พูดซะยาว วันนี้ก็ขอลาไปก่อน แค่นี้ครับ ขอให้มีความสุขความสำเร็จในชีวิตทุกๆ คนครับสวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น