วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

คำแนะนำ: สำหรับสถานศึกษา การป้องกันไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่


คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับสถานศึกษา สถานการณ์การะบาดในวงกว้าง ระยะเริ่มต้น โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

• กรณีที่มีนักเรียน/นักศึกษา/ครู/อาจารย์/จนท. ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด
1. แจ้งคุณครู/อาจารย์ เพื่อให้ทราบข้อมูลประวัติการเดินทางและประวัติเสี่ยง ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานการณ์
และพื้นที่การระบาดได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมโรค
2. สถานศึกษาแจ้งให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ทราบ เพื่อติดตามอาการ
3. ให้พิจารณาหยุดเรียน 1 - 2 สัปดาห์ นับจากวันที่เดินทางออกจากพื้นที่ที่มีการระบาด โดยในระหว่าง
ที่พักอยู่บ้าน ควรงดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะงดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
ช้อนส้อม
4. หลังเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ภายใน 14 วัน และมีอาการไข้ร่วมกับไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ
หอบเหนื่อย ให้ใส่หน้ากากอนามัย ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง

• คำแนะนำเมื่อยังไม่มีการระบาด
1. ให้ความรู้หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ไว้ในสถานศึกษา เช่น โปสเตอร์ สอนอบรมการล้างมือที่ถูกวิธี
และการสวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น
2. กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่หรือครูอนามัย เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และให้บริการ
ในห้องพยาบาล พร้อมทั้งจัดทำบันทึกข้อมูลการป่วยของนักเรียน/นักศึกษา
3. หากพบว่ามีนักเรียน/นักศึกษาป่วยหรือขาดเรียนจำนวนมากผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
ที่รับผิดชอบ เพื่อสอบสวนหาสาเหตุ
4. ส่งเสริมให้นักเรียน/นักศึกษามีของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น แก้วน้ำ อุปกรณ์รับประทานอาหาร
ผ้าเช็ดหน้า อื่นๆ
5. จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการล้างมือ หรือจัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ เช่น ในห้องเรียน ในโรงอาหาร
ในโรงยิม เป็นต้น
6. จัดเตรียมห้องพยาบาลสำหรับแยกนักเรียนที่มีการทางเดินหายใจออกจากนักเรียนที่มีอาการป่วยอื่นๆ

• คำแนะนำเมื่อมีการระบาด
1. จัดให้มีการคัดกรองอาการไข้ไอ น้ำมูก บริเวณทางเข้าประตูสถานศึกษาทุกเช้า เพื่อแยกผู้มีอาการไปยัง
สถานที่ที่จัดเตรียมไว้
2. ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนักเรียน/นักศึกษาในเรื่องการดูแลผู้ป่วยขณะป่วยที่บ้าน และที่สถานศึกษา
3. การพิจารณาปิดสถานศึกษา หากพบผู้ป่วยจำนวนมาก เช่น หลายห้องเรียน หลายชั้นเรียน กรณีเป็น
โรงเรียนประจำ ให้นักเรียน/นักศึกษาอยู่แต่บริเวณหอพัก หากเป็นโรงเรียนไปกลับ ให้เน้นย้ำการอยู่
กับบ้าน ไม่ออกไปในที่ชุมนุมชน
4. ควรมีการทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียน/นักศึกษาใช้ร่วมกัน เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ลิฟต์
อุปกรณ์กีฬา ของเด็กเล่น ด้วยน้ำหรือเช็ดด้วย 70% แอลกอฮอล์ สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้อย่างน้อย
วันละ 1 ครั้ง
5. จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการล้างมือ หรือจัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ เช่น ภายในห้องเรียน
ในโรงอาหาร ในโรงยิม เป็นต้น
6. จัดเตรียมห้องพยาบาลสำหรับแยกนักเรียน/นักศึกษาที่มีการทางเดินหายใจออกจากนักเรียน/
นักศึกษาที่มีอาการป่วยอื่นๆ
7. จัดระบบสื่อสาร ทำความเข้าใจ การดำเนินงาน ควบคุมการระบาดกับผู้ปกครอง
8. กรณีสถานศึกษาที่มีรถรับ-ส่ง ให้ดำเนินการทำความสะอาดยานพาหนะบริเวณที่สัมผัสกับผู้โดยสาร
เช่น ราวจับ กลอนประตู เบาะนั่ง ที่เท้าแขน ด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด และ
70% แอลกอฮอล์ สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น