เมื่อวันที่ 4 มีนาคม รายงานข่าวถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอต่ออายุตัวเองว่า เป็นแนวคิดที่มีการหยิบยกขึ้นมาหารือร่วมกันระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับ ป.ป.ช. เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากในปี 2558 ป.ป.ช.จะต้องพ้นวาระถึง 5 คน ด้วยกัน คือ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช.ที่ต้องพ้นวาระเนื่องจากมีอายุครบ 70 ปีในเดือนพฤษภาคม ส่วนนายวิชา มหาคุณ นายวิชัย วิวิตเสวี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช.ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี ในเดือนกันยายน
ขณะที่ภารกิจของ ป.ป.ช.ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมืองยังค้างเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่ต้องการความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนต่อไปอาทิคดีความเรื่องแก้กฎหมายป.ป.ช. ให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาสหประชาชาติ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับ ล่าสุดถึงปี 2560 นอกจากนี้ ในยุทธศาสตร์ ประเทศยังได้กำหนดนโยบายเพื่อให้ดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น จึงต้องผลักดันไปตามยุทธศาสตร์
"ที่สำคัญรัฐธรรมนูญยังไม่มีความชัดเจนเรื่องกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการป.ป.ช.ซึ่งในรัฐธรรมนูญเดิมกำหนดว่ากรรมการสรรหาต้องประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นช่วงรอยต่อนี้จึงมีความคิดว่าถ้ายังทำงานขับเคลื่อนไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ คือประมาณ 1 ปี จากนั้นกรรมการที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งก็หมด วาระไป ก่อนจะดำเนินการสรรหาเข้ามาใหม่ ส่วนกรรมการ ป.ป.ช.อีก 4 คนคือ นายปรีชา เลิศกมลมาศ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง นายณรงค์ รัฐอมฤต น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ยังคงดำรงตำแหน่งตามวาระไปตามปกติ อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนใดๆ จาก คสช."
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ล่าสุด ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยที่ ป.ป.ช. จะต่ออายุตัวเอง รวมทั้งระบุว่า เหตุผลที่ ป.ป.ช. อ้างเรื่องการดำรงตำแหน่งเป็นเพียงข้ออ้างที่อิงกับผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น