วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย-คอนราดฯ เสวนา: ระบบการเลือกตั้งใหม่กับนโยบายสาธารณะ


มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (KAS) มูลนิธิจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ร่วมกับ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย (iDS) จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ”The news electoral system & public policy for policymakers” มีเนื้อหาการอภิปรายและวิเคราะห์ระบบการเลือกตั้งใหม่กับนโยบายสาธารณะ โดยมีนักวิชาการ นำโดย มี ผศ. ... ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า และ รศ.ดร. รงค์ บุญสวยขวัญ อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักวิชาการ นิสิต นักศึกษา โรงแรม เดอะเซส บางแสน จังหวัดชลบุรี


ดร.ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ในฐานะ ตัวแทนสถาบันฯและมูลนิธิฯ กล่าวว่าการจัดงานในวันนี้เป็นเวทีวิชาการที่แลกเปลี่ยนความรู้ระบบการเลือกตั้งใหม่ ในมิติพัฒนาการระบบการเลือกตั้งเชิงปรัชญา และ โครงสร้าง เพื่อให้คนรุ่นใหม่ตระหนักในความสำคัญของการเลือกตั้ง ตลอดจนโครงสร้างทางกติกาที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะขณะที่ รศ.ดร.รงค์ ให้มุมมองต่อการเลือกตั้งครั้งหน้าว่า Trend คนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญแก่นโยบาย การเลือกตั้งที่อยู่บนฐานของนโยบาย



ทางด้าน ดร.สติธร ธนานิธิโชติ กล่าวระหว่างการเสวนา ระบุว่า ประเด็นอยู่ที่ว่ากฎหมายพรรคการเมืองใหม่ เขียนในเรื่องที่เป็นเงื่อนไขสำคัญไว้นะครับ แต่ไม่รู้จะได้ใช้หรือเปล่านะครับ พวกเราเคยได้ยินการเลือกตั้งขั้นต้นภาษาอังกฤษ Primary Vote คนที่ส่งไปลงได้ 350 เขต ต้องผ่านสิ่งที่เรียกว่า Primary Vote ก่อน ไม่ใช่ว่าไปจิ้มน้องคนนี้ไปลงให้หน่อยบ้านอยู่ไหน อะไรอย่างนี้ไม่ได้นะ คนนี้ต้องมีคนมาเลือกซึ่งเรียกว่า Primary Vote 

“Primary Vote ในโลกนี้มีหลายรูปแบบประเทศไทยเลือกใช้ระบบที่พรรคการเมืองจัดเอง ภาระทั้งหมดให้พรรคการเมืองเป็นคนจัด พรรคการเมืองจะจัดได้เฉยๆไหม มีเงื่อนไขเยอะแยะมากมาย เงื่อนไขประการที่ 1 คือว่าพรรคการเมืองต้องมีสมาชิกเพียงพอสำหรับเขตเลือกตั้งนั้นๆ สำหรับการจัดการเลือกตั้ง Primary Vote สำหรับพรรคตัวเอง เพื่อได้ผู้สมัคร เงื่อนไขขั้นต่ำอันดับที่ 1 ก็คือว่า ถ้าคุณยังไม่สามารถตั้งสิ่งที่เรียกว่าสาขาพรรคการเมืองได้ เขาให้คุณมีผู้แทนพรรคประจำจังหวัดได้ นี่กฎหมายใหม่ คำนี้ไม่เคยมีมาก่อนนะ ชั่วชีวิตเพิ่งมีเนี่ย กฎหมายบัญญัติเป็นครั้งแรกเลยผู้แทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดเนี่ย ผู้แทนพรรคประจำจังหวัด เขาบอกว่าคุณจะมีผู้แทนพรรคประจำจังหวัดได้ คุณต้องมีสมาชิกในเขตเลือกตั้งนั้น ตอนนี้ใช้บทเฉพาะกาลอยู่ ในจังหวัดนั้น 100 คนขึ้นไป คุณต้องหาสมาชิกเข้าพรรคให้ได้ก่อน 100 คน แล้วคุณจะทำให้คนเหล่านี้เรียกว่ากลายเป็นผู้แทนพรรคประจำจังหวัดของคุณได้ เพื่อเอามาประชุมรวมกัน ในการเลือกที่เรียกว่า Primary Vote แล้วจะได้ผู้สมัครในนามพรรคนะครับ ความซับซ้อนมันอยู่ตรงนี้หาสมาชิกอีก 100 คนต่อจังหวัด 77 จังหวัดใช่มั้ยครับ 7,700 คนนะครับ หาให้ได้นะ แล้วหาสมาชิกสมัยนี้ไม่ง่ายเหมือนสมัยก่อนแบบว่าเอ้ยพี่ช่วยกรอกใบสมัครหน่อย สมัยนี้พี่กรอกใบสมัครเสร็จแล้วขอค่าบำรุงพรรค 100 บาทด้วยนะครับ เพราะว่ากฎหมายบังคับว่าสมาชิกพรรคต้องจ่ายเงินบำรุงพรรค เพราะฉะนั้นมันจะยากขึ้นดร.สติธร กล่าว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น