วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

"สุรพงษ์" แนะรัฐฟังเสียงประชาชน-ทบทวนพ.ร.บ.คอมฯ


นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า "นี่ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน และถ้าสภาฯจะออกกฎหมายใดขึ้นมาและถัาปรากฎว่ามีประชาชนเข้าชื่อคัดค้านกฎหมายกว่า 3 แสนคน ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากๆ ยิ่งกว่าเหมือนจิ้งจกทักเสียอีก ในฐานะที่ผมเคยมีส่วนร่วมยกร่างพรบ. คอมพิวเตอร์มาในอดีตในสมัยรัฐบาลชุดก่อนๆ ก็ต้องขอบอกว่าวิวัฒนาการ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านไอทีหรือในยุคดิจิตอลนั้นมันเป็นไปอย่างรวดเร็วมากๆและมีความหลากหลาย คนที่คิดจะยกร่างกฎหมายคอมพิวเตอร์จะต้องมีวิสัยทัศน์และควรตามทันกับพัฒนาการด้าน ซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นให้ทัน และต้องเปิดใจกว้างที่จะต้องยอมรับในหลักการแห่งสิทธิมนุษยชนและเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน และคำนึงถึงการใช้แอพฯของผู้ใช้จากทั่วโลกด้วยเพราะทุกวันนี้เราอาศัยอยู่ในโลกที่ไร้พรมแดน เป็นโลกที่เปิดกว้างจึงอยากขอให้สนช. รับฟังข้อเรียกร้องของประชาชนที่เข้าชื่อกันให้สนช. ทบทวน พรบ. คอมพิวเตอร์ ในครั้งนี้เอาไว้ก่อนด้วย ไม่ควรรีบเร่งที่จะต้องผ่านกฎหมายฉบับนี้ไปให้ได้ และการเปิดรับฟังข้อท้วงติงและชี้แจงประเด็นที่ประชาชนมีข้อกังขา ข้อสงสัยให้เกิดความกระจ่างชัดเจนก่อน ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด และสนช. ก็จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ก็น่าจะดี ไม่ควรใช้วิธีการเช่นเดียวกันกับการผ่านร่างพรบ. พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพรบ. อื่นๆที่นั่งพิจารณาทำๆกันไปโดยไม่มีฝ่ายค้าน 3 วาระรวดวันเดียวจบ อะไรทำนองนั้น จนเป็นความเคยชินไปแล้ว ควรให้ประชาชนที่เข้าชื่อกันได้มีส่วนร่วม และได้มีโอกาสเสนอแนวคิดหรือมุมมองของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เข้าใจในเนื้อหาสาระของตัวบทกฎหมายไดัดีกว่าและเป็นผู้ที่จะได้รับผลจากกฎหมายที่สนช. ยกร่างกันขึ้นมาโดยตรง และก็ควรเชิญตัวแทนกลุ่มประชาชนมาร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณายกร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วย ก็น่าจะเป็นประโยชน์ ก็อยากขอให้รัฐบาลคสช. สั่งให้สนช. ชะลอพรบ. ฉบับนี้เอาไว้ก่อนก็จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อให้กฎหมายเป็นที่ยอมรับได้ของประชาชนในอนาคต ไม่เห็นว่าจะต้องรีบเร่งกันไปถึงไหน ต้องรู้จักฟังคนอื่นเขาเอาไว้บ้าง อย่าคิดว่าพวกตนเองมา จากรัฐฏาธิปัตย์ คิดจะทำอะไรก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น