วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

กรุงไทยใครโกง? นักวิชาการด้านกฎหมาย เตือน DSI ดำเนินคดีเฉพาะพานทองแท้ เสี่ยงขัด ม.157

นายวันชัย บุนนาค นักวิชาการด้านกฎหมาย โพสต์ข้อความแสดงความเห็นตั้งข้อสังเกตต่อการทำหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (Department of Special Investigation: DSI) ในคดีกรุงไทย ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังนี้


ผมทนายวันชัย บุนนาค ซึ่งได้ติดตามคดีทางการเงินที่สร้างความเสียหายต่อชาติมาหลายคดี อาทิ คดีฟอกเงินกรุงไทย ที่ตั้งข้อสังเกตในการดำเนินคดีดังกล่าว คือ โดยก่อนที่จะไปตามจากบุคคลอื่นๆที่ไปรับเงินโอนจากกลุ่มกฤษดานครหลังจากวันที่ 18 ธันวาคม 2546 แต่ คำพิพากษาของศาลฎีกานั้น วินิจฉัยไว้ทำนองว่า ไม่มีพยานปากไหนหรือพยานใดๆยืนยันให้เห็นว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ เกี่ยวข้องกับการสั่งการหรือการอนุมัติสินชื่อธนาคารกรุงไทยคดีนี้

และ ต่อไปนี้เป็นข้อสังเกตถึงความผิดปกติ เป็นเรื่องแปลกให้ฉงนใจสงสัยว่า DSI ไม่ต้องทำหน้าที่ตาม ป.วิอาญา-ได้ด้วยหรือ ทำอย่างนี้ผิด ม.157 ได้หรือไม่?

ผมทนายวันชัย บุนนาค ยิ่งเห็นว่าแปลกประหลาดจริงๆกับการทำหน้าที่ของ DSI จะถึงขั้นผิด ม.157 หรือไม่? น่าคิดน่าติดตามและน่าจะต้องไปดำเนินคดีต่อ DSI ตามช่องทาง รัฐธรรมนูญ 2560 เพราะว่า มติกรรมกรรมการคดีพิเศษ ลงมติรับคดีที่ คตส.ส่งมาให้ดำเนินคดีฟอกเงิน 3,554,870,000.- บาท กับ ผู้บริหาร ธนาคารกรุงไทย เอาชัดๆ 5 คนที่ลงนามอนุมัติสินเชื่อ คือ ผู้สนับสนุนให้มีการเอาเงินกรุงไทยไปฟอก แต่ DSI กลับ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิอาญา ม.131 และ ม.141

โดยเฉพาะ ม.141 ที่พนักงานสอบสวนต้องเรียก 5 คน ที่ลงนามอนุมัติสินเขื่อที่ผิดกฎหมายมาสอบสวนก่อน จะได้ตัวมาหรือไม่ได้ตัวมาสอบสวนก็ตาม และ DSI จะต้องทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง และส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาตามหน้าที่ว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้อง หรือสั่งให้ยุติการสอบสวน หรือหากอัยการเห็นควรสั่งฟ้องก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลไป แต่แปลกประหลาด คำถามคือ DSI ไม่ทำหน้าที่ตาม ป.วิอาญา ม.141 ตรงนี้ให้ครบถ้วน ได้ด้วยหรือ?

DSI ตัดสินใจไม่สอบสวนบุคคลที่คณะกรรมการคดีพิเศษลงมติรับเป็นคดีพิเศษ กล่าวหาชัดๆว่าผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ทำผิดกฎหมาย DSI ยุติการสอบสวนกรรมการอนุมัติสินเชื่อ 5 คนของธนาคารกรุงไทยโดยพนักงานอัยการไม่ได้มีคำสั่งยุติการสอบสวนได้ด้วยหรือ?

ไม่ทำแล้ว ยังเที่ยวดำเนินคดีกับคนไม่กี่คน เช่นคุณพานทองแท้ กับพวก ที่ไม่ได้รับเงินโดยตรงจาก เช็คของ ธนาคารกรุงไทย แล้วก็รับในช่วงปี 2547 และต่อมาก็คืน ถ้าเจตนาฟอกจะคืนไปทำไม? ทั้งๆที่มี คนรับเช็คที่กระจายจากเช็ค ธนาคารกรุงไทยตั้งหลายคนหลายบริษัทฯ DSI ทำตาม ม.141 หรือยังครับ? แต่ DSI และ ปปง. ก็ไม่สนใจจะทำจะดำเนินคดี น่าจะเข้าข่ายจริงๆกับความผิด ม.157 จริงๆไหมใช่หรือเปล่า?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น