วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
“วรวัจน์” แจง10ประเด็น ยืนยัน “รับจำนำข้าว” ไม่เสียหาย
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ สังกัดพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
จำนำข้าว เรื่องนี้มันเป็นไฉน :
ผมเชื่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา คงมีหลายท่านที่ได้ติดตามประเด็นเรื่องของจำนำข้าวก็คงมีความสงสัยว่า จริงๆแล้ว เรื่องของ จำนำข้าว นั้น มันเป็นยังไงกันแน่ ซึ่งก็คงต้องแบ่งข้อสงสัยเป็นประเด็นๆไป แล้วแยกแยะออกมา ซึ่งก็คงจะพอ แยกออกมาได้เป็น 2 ประเด็นใหญ่และ 8 ประเด็นย่อย ก็คือ
1. การรับจำนำข้าวก่อให้เกิดความเสียหายกับรัฐหรือไม่? และ
2. อดีตนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตหรือไม่?
และประเด็นย่อยอีก 8 ประเด็นก็คือ
1. ประเด็น การรับจำนำข้าว
2. ประเด็นการเก็บรักษาข้าว
3. ประเด็นสัญญารับฝากข้าว
4. ประเด็นข้าวเสื่อม
5. ประเด็นสัญญาประกันภัย
6. ประเด็นขั้นตอนการระบายข้าว
7. ประเด็นการส่งมอบข้าว และ
8. ประเด็นการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ
ในเรื่องที่ 1 คือการรับจำนำข้าวนั้นทำให้รัฐเสียหายหรือไม่นั้น ก็คงมีความชัดเจนในวงสื่อต่างๆแล้วว่า โครงการรับจำนำข้าวนั้นเป็นโครงการสาธารณะที่ดำเนินการตามหลักการเป็นไปตามพระราชกฤษฏีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 เป็นการอัดฉีดเม็ดเงิน จำนวน 878,209 ล้านบาท ผ่านธนาคารธกส. เข้าสู่มือของชาวนาโดยตรง โดยไม่เกิดการรั่วไหล ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสเงินในระบบเศรษฐกิจ ประชาชนทุกคนมีอะไรรายได้เพิ่มมากขึ้น และรัฐบาลก็จัดเก็บภาษีได้มากขึ้น เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป จึงน่าจะสรุปลงไปได้แล้วว่าการรับจำนำข้าวนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐแต่อย่างใด แต่เป็นรูปแบบหนึ่ง ของการบริหารการเงินภาครัฐเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจและรัฐบาลก็สามารถจัดเก็บภาษีกลับคืนมาได้ภายหลัง
สำหรับเรื่องที่ 2 คือเรื่องการปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตนั้น ก็พบว่าในมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในโครงการรับจำนำข้าวนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริต โดยมีรองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุงเป็นประธานคณะกรรมการและสามารถจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดได้ถึง 276 คดี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานควบคุมตรวจสอบทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีก 14 คณะ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอย่างรัดกุมและพัฒนาระบบงานและขั้นตอนรวมถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆมาช่วยควบคุมกำกับป้องกันการทุจริต และให้มีการโอนเงินเข้าบัญชีของชาวนาผ่านธนาคารธกส.โดยตรง อีกด้วยดังนั้นเงินจึงไม่หายไปไหน นอกจากนั้นยังมีสัญญาให้เจ้าของโกดังหรือคลังสินค้าต่างๆต้องรับผิดชอบในกรณีที่ข้าวเสียหาย หรือข้าวเน่า อย่างชัดเจนรวมถึงมีสัญญาประกันภัยของบริษัททิพยประกันภัยกำกับความเสียหายไว้ อีกด้วย
ดังนั้นประเด็นก็จะมาอยู่ที่ 8 ประเด็นย่อยก็คือ
1. การรับจำนำข้าวเข้า ซึ่งดูแล้วไม่มีปัญหาการจ่ายเงินจำนวน 878,209 ล้านบาทผ่านธนาคารธกส. ถึงมือเกษตรกรตรงทุกราย อาจจะมีปัญหาบ้างก็ตอนที่มีการประท้วงทำให้มีการจ่ายเงินให้ชาวนาล่าช้าแต่ก็ดูแล้วความผิดพลาด ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลในตอนนั้น
2. การเก็บรักษาข้าว ก็มีเจ้าของโกดังหรือคลังสินค้า เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การคลังสินค้า(อคส.) หรือองค์การ ตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)และเซอเวเยอร์เป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแล
3. สัญญารับฝากข้าวมีสัญญาการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของข้าวและรับผิดชอบส่งข้าวคืน
4. ประเด็นข้าวเสื่อมตามอายุข้าว ซึ่งข้าวที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปียังถือว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพ
5. ประเด็น การเก็บรักษา ไม่ดีทำให้เกิดข้าวเน่าก็มีสัญญา ประกันภัยคุ้มครองทั้งไฟไหม้ ฟ้าผ่า น้ำท่วม ลมพายุ ซึ่งก็สามารถเรียกค่าชดเชยได้อยู่แล้ว
6. ส่วนขั้นตอนการระบายข้าวนั้น อธิบดีกรมการค้า ต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการตามมติ ครม. อยู่แล้วโดยมี รัฐมนตรีพาณิชย์ ในฐานะกรรมการ นโยบายข้าวแห่งชาติ เป็นประธานคณะอนุกรรมการระบายข้าวซึ่งมีขั้นตอน และวิธีการระบายหลายวิธีตามที่มีการกำหนดโดยกรมการค้าต่างประเทศ
7. การส่งมอบข้าวก็เป็นเรื่องของกรมการค้าต่างประเทศ อคส. อตก. เจ้าของโกดังหรือคลังสินค้ากับ ผู้ซื้อเป็นคนดำเนินการ
ดังนั้นเรื่องที่ดูยังมีปัญหาอยู่ก็คงเป็น ประเด็นที่ 8. ก็คือการซื้อแบบจีทูจีหรือ แบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งก็ต้องมาดูว่าบริษัทที่รับซื้อข้าวนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ ของรัฐบาลหรือไม่ คราวนี้ก็ต้องมาดูว่าความหมายของคำว่าจีทูจี คืออะไร ทำไมถึงเป็นปัญหา???
ซึ่งเมื่อศึกษาข้อมูลลงไปในรายละเอียดแล้วพบว่า แต่เดิมนั้น ประเทศไทย ก็เคยมีการซื้อขายกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมณฑลของประเทศจีนอยู่แล้ว เพราะประเทศจีนมีขนาดใหญ่ บางมณฑลของประเทศจีน มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยเสียอีก และถ้ารัฐบาลท้องถิ่นหรือมณฑลของประเทศจีนมีความจำเป็นที่จะซื้อสินค้า เขาก็สามารถซื้อได้เองโดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลกลางแต่อย่างใด ก็เป็นลักษณะปฏิบัติทั่วๆไปของประเทศที่มีขนาดใหญ่หรือประเทศที่มีลักษณะของ หลายหลายรัฐ หรือหลายหลายมณฑล มารวมกัน
และเรื่องของเรื่องก็ปรากฏว่ามีคนไปตีความว่ารัฐบาลต้องหมายความว่ารัฐบาลกลางแบบประเทศที่มีลักษณะรัฐเดี่ยว แบบประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งถ้าตีความแบบนั้น ในอนาคตประเทศไทยจะไม่สามารถซื้อขายในลักษณะจีทูจี กับประเทศที่มีลักษณะเป็นรัฐรวมได้เลย และจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศในรูปแบบนี้จะทำอีกไม่ได้เลย มันก็เลยกลายเป็นความผิด แบบจีทูจี และผิดเฉพาะ รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตรเท่านั้น เพราะการซื้อขายในลักษณะนี้ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะก็ ซื้อขายแบบจีทูจีในลักษณะเดียวกันแต่ก็ทำได้โดยไม่ผิด
สำหรับประเด็นข้อสงสัย ในขั้นตอนว่า โรงสี เจ้าของโกดัง คลังสินค้า วิสากิจหรือเอกชนรายใดดำเนินการ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข สัญญา หรือมีการทุจริตณ.จุดใด ก็ควรที่รัฐบาลจะดำเนินการตรวจสอบ จับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดเป็นเรื่องๆไป ไม่ควรจะมาเหมารวมกันทั้งฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติดังเช่นเรื่องของอุทยานราชภักดิ์ ที่มีข้อมูลเรื่องของการทุจริตโผล่ออกมา ก็เห็นทางรัฐบาลก็ยังออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล จะให้รัฐบาลรับผิดชอบได้อย่างไร มันก็คงเหมือนกันล่ะครับ การทุจริตถ้าเกิดที่จุดใดก็ควรจะแก้ที่จุดนั้น ถ้าฝ่าย นโยบายต้องรับผิดในเรื่องของฝ่ายปฏิบัติทุกเรื่องประเทศมันคงไปต่อไม่ได้ล่ะครับ เรื่องของเรื่องมันก็เป็นด้วยประการละฉะนี้ ต่อจากนี้ การตัดสินใจก็จะเป็นของทุกๆท่านละครับ ว่าก็กรณีจำนำข้าวมันก็จะเป็นยังไงต่อไป
ขอขอบคุณครับ:
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
.
ตอบลบโครงการรับจำนำข้าว
.
2 ประเด็นใหญ่และ 8 ประเด็นย่อย
.
1. การรับจำนำข้าวก่อให้เกิดความเสียหายกับรัฐหรือไม่? และ
2. อดีตนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตหรือไม่?
.
การส่งมอบข้าว
.
เป็นเรื่องของกรมการค้าต่างประเทศ อคส. อตก. เจ้าของโกดังหรือคลังสินค้ากับ ผู้ซื้อ
.
ควรที่รัฐบาลจะดำเนินการตรวจสอบ จับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดเป็นเรื่องๆไป ไม่ควรจะมาเหมารวมกันทั้งฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติ
.
เรื่องของอุทยานราชภักดิ์
.
รัฐบาลก็ยังออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล จะให้รัฐบาลรับผิดชอบได้อย่างไร
.
samunchon bloggang
“วรวัจน์” แจง10ประเด็น ยืนยัน “รับจำนำข้าว” ไม่เสียหาย
http://goo.gl/XE2jTf