วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รัฐสภายุโรปเชิญ "ยิ่งลักษณ์" แสดงวิสัยทัศน์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นสถานการณ์ไทย


#TV24 23 พฤศจิกายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐสภายุโรป ได้ส่งหนังสือเชิญถึง นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ หรือเมืองสตราสบูร์ก

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จดหมายเชิญดังกล่าว มีเนื้อหาสรุปเป็นภาษาไทยได้ดังนี้


ทางรัฐสภายุโรประลึกถึงการเยือนสหภาพยุโรปที่ประสบความสำเร็จของท่านในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ช่วงเดือนมีนาคม ปี 2556 ในระหว่างการเยือนประเทศไทยและสหภาพยุโรปสามารถสรุปการเจรจาความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน ระหว่างประเทศไทยกับประชาคมยุโรป (EU-Thailand Partnership and Cooperation Agreement)

นอกจากนี้ เรายังรู้สึกประทับใจต่อการที่ท่านให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับรัฐสภายุโรปในการพบปะกับ มาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป ในวันที่ 6 มีนาคม 2556

รัฐสภายุโรปได้มีการติดตามพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยด้วยความกังวลอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมาน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ประเทศของท่านในขณะนี้ก็ยังคงไม่มีฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง และ คงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึง กลางปี 2560 เป็นอย่างน้อย ดังนั้น เราเห็นว่าช่วงเวลาของความขาดเสถียรภาพ  ก็คงมีจะอยู่ต่อไป แผนการดำเนินงานของรัฐบาลปัจจุบันในการร่างรัฐธรรมนูญก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเพราะร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งเป็นสภาที่ทางทหารได้เป็นผู้แต่งตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งนั่นหมายความว่าประเทศไทยจะต้องมีการเริ่มกระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ เราเห็นว่ากระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ทุกๆ ภาคส่วนจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เรายังมีความกังวลต่อกรณีที่ท่านได้ถูกถอดถอนออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีย้อนหลัง และการที่ท่านถูกดำเนินคดีในศาลฎีกา

ทางรัฐสภายุโรปยืนหยัดอย่างหนักแน่นในระบอบประชาธิปไตยและการส่งเสริมคุณค่าของประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ เรามีความยินดีหากท่านจะรับคำเชิญของเราเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ หรือ   เมืองสตราสบูร์ก ตามที่ท่านสะดวก หากเป็นเช่นนั้น ทางเรามั่นใจว่า ผู้ดำเนินการของทั้งสองฝ่ายจะสามารถร่วมมือกันจัดการให้การพบปะหารือดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป

เอลมาร์ บรอก, ประธานคณะกรรมการด่านการต่างประเทศของสภายุโรป
Elmar Brok, Chairman of the European Parliament Committee on Foreign Affairs

เวินเนอร์ แลงเกิน, ประธานคณะผู้แทนความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Werner Langen, Chair of Delegation for relations with the countries of Southeast Asia and the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น