ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยกล่าวถึง ข้อเสนอต่อ การแสวงหาทางออกให้ประเทศ ว่า
กรณีที่ประธานรัฐสภาเสนอมีการเสนอจัดตั้ง "คณะกรรมการสมานฉันท์" โดยให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการนั้น ดิฉันเห็นว่า "หาก" จะมีการจัดตั้งกรรมการชุดนี้จริง พลเอกประยุทธ์ต้องแสดงความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหา และ ต้องการแสวงหาทางออกให้กับประเทศอย่างแท้จริงก่อน โดยต้องออกเป็น "พระราชกำหนด" ในการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ และกำหนดระยะเวลาในการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ให้สั้นที่สุด เช่นไม่เกิน 5 เดือน
โดยนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justic) และความยุติธรรมในเชิงสมานฉันท์ (Retroactive Justice) ที่ทั่วโลกใช้มาใช้เป็นหลักการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีความไว้วางใจที่จะเข้ามาร่วมพูดคุยแสวงหาทางออกให้ประเทศร่วมกัน โดยให้ผู้พูดคุยมั่นใจว่าจะสามารถพูดคุยได้อย่างปลอดภัย และนำข้อเสนอที่เห็นพ้องกันแล้วไปสู่การปฏิบัติจริง
โดยเสนอให้รัฐบาลออกกฎหมายที่มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย
(1) ให้พนักงานสอบสวน อัยการ และผู้พิพากษา พักการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมทางการเมืองไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพูดคุย หากผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัวให้ปล่อยตัว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าสู่เวทีเจรจาโดยไม่ต้องพะวงกับการถูกตามจับ หรือถูกออกหมายจับเรื่อยๆ เหมือนเป็นการกลั่นแกล้ง
(2) ให้ผู้ที่พูดคุยเจรจาในเวทีที่รัฐสภาตั้งขึ้นได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองในอันที่จะไม่ถูกฟ้องทั้งในทางแพ่งหรือทางอาญา เพื่อให้เป็นเวทีปลอดภัยที่ทุกฝ่ายจะสามารถพูดคุย และเสนอข้อเรียกร้องอันจะทำให้ทุกเรื่องได้คุยกันในคณะกรรมการ แทนการพูดในที่สาธารณะ ที่ไม่ปลอดภัย และอาจผิดกฎหมาย
(3) เพื่อให้ข้อเสนอของที่ประชุมนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกลั่นกรอง ให้นำข้อเสนอของที่ประชุมเข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา หากที่ประชุมเห็นด้วยในประเด็นใดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติให้เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
แบบนี้ดิฉันเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเข้าสู่เวทีพูดคุยโดยไม่มีข้อรังเกียจ
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ”
ที่พลเอกประยุทธ์และสมาชิกวุฒิสภาต้องแสดงความจริงใจ และรับผิดชอบต่อปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ ที่ฝ่ายพล.อ.ประยุทธ์ สร้างขึ้น ด้วยการ นำมาร่างแก้ไขทั้ง 7 ร่าง ที่เสนอโดยพรรคฝ่ายค้าน พรรครัฐบาล และร่างของภาคประชาชน ที่ผ่าน ILaw มาพิจารณาในรัฐสภาให้แล้วเสร็จ ทั้ง 3 วาระภายในต้นเดือน”ธันวาคม”
โดยเฉพาะสองมาตราสำคัญ คือ
ม. 256 เพื่อให้มีการเลือกสสร.จากประชาชน และ ม. 272 เพื่อตัดอำนาจ สว. ไม่ให้มีสิทธิ์ในการเลือกนายกรัฐมนตรี อีกต่อไป
ซึ่งหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระที่ 3 ในต้นเดือนธันวาคม พลเอกประยุทธ์ ควร “เสียสละ”
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้วิกฤติความขัดแย้งของชาติที่มีตัวพลเอกประยุทธ์เป็นศูนย์กลาง
ได้ยุติลง
จากนั้นให้เร่งดำเนินการเลือก สสร.
เพื่อให้เป็นตัวแทนประชาชน มาร่างรัฐธรรมนูน “ฉบับของประชาชน”ให้แล้วเสร็จภายใน 8 เดือน เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตั้งใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
สังคมที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยย่อมจะมีความแตกต่างทางความคิดเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ความเป็นอารยะของสังคมสามารถพิสูจน์ได้จากวิธีจัดการกับความขัดแย้งทางความคิดนั้น
หลายประเทศเคยมีความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่การเข่นฆ่ากลางเมืองแล้ว เช่น ตายนับล้านคนในประเทศรวัลดา หรือตายนับแสนคนในประเทศเซียร่า ลีโอน เป็นต้น ประเทศเหล่านั้นใช้กระบวนการสร้างความปรองดอง (Reconciliation Process) โดยนำหลักในการแสวงหาทางงออกให้กับประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น