วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ทวี สอดส่อง" เสวนาสภาที่สาม สร้างอนาคตชาติได้ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ

"ทวี สอดส่อง" เสวนาสภาที่สาม เผย "สภาผู้แทนราษฎร" ต่างจาก "สภาของคณะรัฐมนตรี" แนะสภาฯแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้ แต่สร้างอนาคตชาติได้ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ

เครือข่ายภาคประชาชน ครป. และ 30 องค์กรประชาธิปไตย จัดการประชุมทางการเมือง เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและความขัดแย้งทางการเมือง เรียกร้องให้รัฐสภาทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญและความขัดแย้งเพื่อเป็นทางออกให้ประเทศไทยในหัวข้อ "บทบาทรัฐสภาในการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ 7 ญัตติ กับจุดเปลี่ยนประเทศไทย" ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.พรรคประชาชาติ และ เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวในงานเสวนาว่า “ผมอยากจะสรุปให้เร็วๆ กว่าจะแก้รัฐธรรมนูญกับอนาคตของชาติบ้านเมือง ประเด็นชื่อเรื่องผมเห็นด้วยว่า อนาคตของชาติบ้านเมือง จะต้องขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ ซึ่งอนาคตของชาติบ้านเมืองจะมีหลักอยู่ 3 หลักใหญ่ๆ หลักที่ 1 ทำอย่างไรจะให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีความเจริญรุ่งเรือง มีคุณภาพชีวิตดีมีความสุข ประการที่ 2 ต้องมีกติกาคือกฎหมาย คือรัฐธรรมนูญที่ดี ที่ประชาชนศรัทธาและตอบสนองความต้องการของประชาชน ประการที่ 3 โยงมา คือ ต้องมีผู้นำไม่ดี ผู้นำก็มีความสำคัญที่ทำเพื่อประชาชน มีความยุติธรรม ความรู้ความสามารถ

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในครั้งนี้ต้องแยกออกจากความขัดแย้ง แต่ความขัดแย้งอาจจะลดลงหรือเพิ่มมากขึ้น จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้ เพราะวันนี้ เราต้องยอมรับว่า ‘พลเมือง โดยเฉพาะ เด็กและเยาวชนมีการตื่นรู้’ แต่รัฐสภาบางส่วนไม่ตื่นตัว บางส่วนต่อต้านด้วยซ้ำถ้าเกิดเป็นอย่างนี้ ความขัดแย้งคงไม่ได้อยู่ที่รัฐสภา” 

เราต้องยอมรับว่าประเทศไทย เราเป็นระบบรัฐธรรมนูญนิยม คำว่ารัฐธรรมนูญนิยมหมายถึงว่า รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ และก็อีกส่วนหนึ่งต้องมีการแบ่งแยกอำนาจ เป็นอำนาจบริหาร คือนายกฯ อำนาจนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา และอำนาจตุลาการ ต้องยอมรับว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญปี 60 คนฉีกรัฐธรรมนูญ หรือคนไม่ศรัทธาต่อระบบการปกครองประชาธิปไตยมาร่างรัฐธรรมนูญ “ชนชั้นใดร่างกฎหมายผลกฏหมายจะรับใช้ชนชั้นนั้น” เราจึงเป็นว่ารัฐธรรมนูญ ปี 60 เต็มไปด้วยระบบคณาธิปไตย หรือระบบพวกพ้อง” 

“ปัญหาของ รัฐสภา ต้องยอมรับว่า รัฐสภาอาจจะไม่เป็นสภาผู้แทนราษฎร ผมเพิ่งพูดไปเมื่อตอนการพิจารณาผลการศึกษาปัญหาการก่อสร้างอาคารรัฐสภา ผู้มาสร้างรัฐสภาเป็นคนของคณะรัฐมนตรี ที่การสร้างล่าช้ามาถึง 5 ปี แล้วที่สำคัญรัฐสภาเรามีหน้าที่บัญญัติจะทำกฎหมายให้มีความยุติธรรมเกิดประโยชน์ต่อปวงชนอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทุกวันนี้วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เวลาบรรจุวาระ กฎหมายที่มาโดยประชาชนหรือราษฎรร่วมกันลงชื่อเมื่อสมัยประชุมครั้งที่แล้ว มีกฎหมายของประชาชนอยู่ 2 คณะ คือ ร่าง พรบ สหกรณ์ไปอยู่เกือบอันดับร้อย และร่างกฎหมายของอาจารย์จอนกับคณะที่ยกเลิกมรดกของ คสช. ไปอยู่ที่อันดับร้อยเช่นกัน แต่กฎหมายของรัฐบาล เข้าเพียงอาทิตย์หนึ่ง มีวาระด่วนแซงขึ้นมาทันที จึงทำให้สภาผู้แทนราษฎรอาจถูกมองว่าไม่ใช่สภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นสภาผู้แทนของคณะรัฐมนตรีไป” 

“แต่ผมก็เข้าใจท่านประธานสภา อาจจะสมัยที่แล้ว อาจจะมีกฎหมายน้อย แต่ถ้ามาวันนี้ ต้องมาพิจารณา ถ้าไม่เอากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน สภาผู้แทนราษฎรจะหมดวาระโดยไม่บัญญัติกฏหมายของสมาชิกและของประชาชนเลย จะเสื่อมไปชื่อจะเหลือ สภาผู้แทน ต้องตัดว่าราษฎรออก เพรากฎหมายของราษฎร กฎหมายของประชาชนไม่ได้เอาเข้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญผลกระทบกับตัว ส.ว. ซึ่ง พี่คำนูณก็บอกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่อดีตหรือพฤติกรรมมาจนถึงวันนี้ เราพอทำนายได้ว่า ส.ว.จะปฏิบัตตามนายกรัฐมนตรี  ถ้าเกิดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ไม่เป็นไปตามต้องการของรัฐบาล ไม่เป็นตามความต้องการของผู้มีอำนาจมองภาพว่าจะไม่รัฐร่าง ทำให้ตกไป

การแก้รัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นกฏหมายจำนวน 7 ฉบับ เรื่องใหญ่อยู่ที่การตัดสินใจของ ส.ว. เราต้องอ่านใจ เพราะกฎหมายที่แก้กระทบกับตัว ส.ว.แต่เมื่อย้อนอดีตของรัฐสภาชุดนี่จนถึงวันนี้เราพอทำนายได้ว่า หาก ร่างทั้ง7 ฉบับไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ หรือไม่เป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจต้องการ ก็คงไม่รับจะทำให้ความขัดแยกเพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้” 

ขอเสนอแนะ 2 ประการ คือ

“ผมจึงอยากเสนอแนะสั้นๆ คือ 1. ประชาชนพลเมืองที่ตื่นรู้ ก็ต้องหนีไม่พ้นว่าท่านต้องมีพื้นที่ให้นักศึกษาและประชาชนได้แสดงความคิดเห็น เพราะขาดความหวังจากรัฐบาล และรัฐสภา การออกมาเรียกร้องหรือการมาชุมนุม เป็นเรื่องเสรีภาพที่เป็นหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ผมตรวจสอบไปที่เกาหลีใต้ ชุมนุมกันทุกวัน เพราะเป็นเรื่องการใช้เสรีภาพ เสียงที่ประชาชนมาชุมนุมเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เช่นเรียกร้องการกระจายอำนาจ ต้องการที่จะแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต การศึกษา รัฐสวัสดิการ ปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หรือปฏิรูปให้ประชาชนมีอนาคตที่ดีขึ้น หน้าที่ของการแก้ปัญหาความขัดแย้งเป็นรัฐบาลที่อาสาบริหารประเทศ  ต้องลงไปพูดคุยกับผู้ชุมนุมมีความจริงใจในการแก้ปัญหา

2.กรณีร่างรัฐธรรมนูญของ iLaw ความจริงคือนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 กลับมาใช้ สิ่งที่เสนอแก้เช่นยกเลิกปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือข้อเสนอทั่ง 10 ประเด็นที่รัฐธรรมนูญ 60 เพิ่มมาไม่มีในรัฐธรรมนูญ 40 สิ่งที่เสนอแก้ไม่มีอะไรที่ทำร้ายประเทศเลย เพียงขอเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนกลับมาใช้ (ปี 40) ไม่อยากให้รัฐบาลและ ส.ว. ด่วนไม่รับร่าง จะเพิ่มความขัดแย้งจนทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองไปต่อไม่ได้ จึงขอฝากว่ารัฐสภาพิจารณา และท้ายที่สุดการทำรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยถือเป็นโอกาสและสิ่งท้าย ให้การจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดเกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น