วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ไม่เป็นธรรม! “ชูศักดิ์” ค้านรัฐมุ่งเอาผิด-ละเมิดสิทธิ์ทักษิณ


นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ระบุว่ากรณีที่สำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีที่อัยการสูงสุดได้มีความเห็นให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อให้พิจารณาคดีของนายทักษิณ ชินวัตร ที่ศาลได้รับฟ้องไว้แล้วต่อไป ได้แก่ คดีการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับกลุ่มกฤษดามหานคร และคดีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตนั้น เห็นว่า แม้การดำเนินการของอัยการสูงสุดจะเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ..2560 ที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาหลักการที่เปลี่ยนไปของกฎหมายฉบับดังกล่าวและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคดีทั้งสองเรื่องจะเห็นได้ว่ามีความไม่ชอบธรรมและขัดต่อหลักการสากลในหลายเรื่อง ดังนี้

เรื่องการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย การกำหนดให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้เป็นการยกเว้นหลักการสำคัญในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ใช้กับคดีอาญาทั่วไป นั้นเป็นการขัดต่อหลักการสากลที่การพิจารณาคดีอาญาจะต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ซึ่งการพิจารณาคดีและพิพากษาไปฝ่ายเดียวนั้นโดยหลักจะนำไปใช้ในเฉพาะคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้ในคดีอาญาด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวตนเองได้คัดค้านมาตั้งแต่ในชั้นการยกร่างกฎหมายแล้ว กฎหมายในลักษณะนี้ นอกจากไม่ได้สร้างความเป็นธรรมให้แก่จำเลยในคดีอาญาแล้ว กลับเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยด้วย

การเริ่มต้นของคดีนี้ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ามาจากผลจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จะเห็นได้ว่า คดีนี้เริ่มจากการที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมาดำเนินการเพื่อเอาผิด ซึ่ง คตส. ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องความไม่ชอบธรรม ทั้งในแง่ตัวบุคคลและกระบวนการ และเมื่อส่งเรื่องต่อมายังคณะกรรมการ ... หลายคนในคณะกรรมการ ... ก็ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องความไม่เป็นกลางและอคติทางการเมือง คดีทั้งสองเรื่องนี้จึงมีมูลเหตุมาจากเหตุผลทางการเมือง

นอกจากนี้ ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 69 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ ก็มิได้บัญญัติไว้ชัดเจน  ในกฎหมายดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปใช้กับคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับด้วย โดยหลักจึงไม่อาจนำกฎหมายไปใช้บังคับกับบุคคลที่การกระทำเกิดขึ้นก่อนที่กฎหมาย ใช้บังคับได้ 


ด้วยเหตุนี้ ที่สุดแล้วศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษา กรณีจึงเป็นว่า ศาลได้พิจารณาและพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียว โดยที่จำเลยไม่ได้เข้ามาในคดี แม้โดยระบบไต่สวนให้อำนาจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี แต่การที่จะได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายจำเลยนั้นคงเป็นไปได้ยาก จึงเห็นว่ากฎหมายที่ออกมาในลักษณะนี้ ย่อมขัดต่อหลักนิติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น