วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"ปาล์ม-พชร" ประเมินสถานการณ์เลวร้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "ปาล์ม-พชร นริพทะพันธุ์" บุตรชาย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ปล่อยเวลาผ่านไป 

มกรา - มีนา : รู้ว่ามีการระบาด ไม่ได้เตรียมตัวอะไร 

เมษา - ตุลา : ปิดประเทศ ป้องกันการระบาด

เป็นเวลา 10 เดือนที่อภิสิทธิ์ของอำนาจรัฐทั้งด้านข้อมูลและอำนาจการบริหารมีอยู่กับ รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ ..... ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันให้สังคมและประชาชนเลย นอกจาก

1. เอาเงินทุนสำรองประกันสังคมมาใช้สำรองจ่ายให้กับผู้ออม 

2. ขอให้ธนาคาร พัก หนี้ พัก ดอก (ไม่ใช่ตัดหนี้ตัดดอก) 

3. เอาเงินภาษีประชาชน มาให้ประชาชนเที่ยว 

4. ใช้เงินงบประมาณ ประจำปี 63 เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น และ ตั้งงบประมาณปี 64 เหมือนจะไม่เกิดอะไรขึ้น 

สิ่งที่ควรจะทำ ไม่ได้ทำเลย ทั้ง มิติ การเงิน เศรษฐกิจ และ สังคม หรือแม้ กระทั่ง พัฒนาระบบ สาธารณสุข ทั้งๆมีสิ่งที่ควรทำมากมาย ในสภาวะที่ประเทศเป็นอยู่อย่างนี่ ไม่ว่าจะ

1. ใส่เงินทำ skill retraining ทั้งด้าน ภาษา ด้าน IT ทั้ง พัฒนาศักยภาพ ท้องถิ่น และ รองรับ เศษฐกิจ 4.0 แทนที่จะกระตุ้นให้เที่ยวเพียงอย่างเดียว 

2. ลดค่าเงิน บาท เพื่อ เพิ่มความสามารถในการ ส่งออก สินค้า ทั้ง ด้านอุตสาหกรรม และ เกษตรกรรม ในขณะที่ แต่ละประเทศทยอยกักตุนอาหาร เรากลับ ไม่สามารถขายได้เพิ่มขึ้นเหมือน วิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 

3. ลดรายจ่าย งบประมาณแผ่นดินปี 63 โละ แผนการลงทุนที่ไม่สอดคล้องกับ สภาพการณ์ปัจจุบัน เช่น เจรจาต่อรองราคาหรือการผ่อนจ่ายเรือดำน้ำใหม่ ยกเลิกรถไฟความเร็วสูงบางเส้นทาง เพื่อสำรองเงินงบประมาณ เพราะจำเป็นที่จะลดภาระจากภาษีประชาชน

4. ปรับแผนการใช้งบประมาณปี 64 - ลดรายจ่ายการลงทุนของรัฐที่ไม่จำเป็น การสร้างอาคาร การดูงาน ต่างประเทศ การซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ยืดอายุของที่ใช่อยู่ เช่น รถ และ ยานพาหนะต่างๆ อะไรที่ประหยัดได้ประหยัด ใช้เท่าที่มี 

5. เพิ่มประสิทธิภาพ ของกฎหมาย ลด การทับซ้อน และ ยกเลิกสิ่งที่ไม่เอื้ออำนวย การลงทุนและการพัฒนาของเศรษฐกิจ 

6. ดูแลผู้ลงทุนจากต่างประเทศที่ยังเหลืออยู่ ไม่ใช่ผลักไสไล่ส่งเขา 

7. ยกเลิกภาระ หนี้จาก เงินต้นและดอกเบี้ย ที่เกิดจาก ผลกระทบของการตัดสินใจของรัฐ เพราะรัฐต้องช่วยประชาชนด้วยเงินงบประมาณบ้าง ไม่ใช่ใช้ เงินสำรองของประชาชนดูแลตัวเอง 

8. เพิ่มเงินสภาพคล่องเพื่อให้เอกชนไปฟื้นฟู หรือ พัฒนา สินทรัพย์ และ พยุงการจ้างงาน

10 เดือนที่ผ่านมา เราสามารถวิเคราะห์ถึงความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ แต่เรากลับไม่ทำอะไร อย่าลืมว่า 10 เดือนที่ผ่านมา ข้าราชการ ทั้งประจำ ทหาร และ การเมือง ไม่ได้รับผลกระทบทางรายได้ แถมบางคนได้เบี้ยเพิ่มจากการทำงานป้องกัน โควิด-19 แต่ ประชาชน เดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส มันแสดงถึงความล้มเหลวของประสิทธิภาพของทั้งระบบ บริหาร และ นิติบัญญัติ คือทั้ง ข้าราชการประจำ และนักการเมือง ทั้งในสภาและในทำเนียบนะแหละ 

ในขณะที่ ผู้นำ คิม แห่งเกาหลีเหนือ ประกาศชัยชนะเหนือโควิด-19 ในวันกีฬา แต่ก็ยังต้องเสียน้ำตาขอโทษถึงความล้มเหลวที่ไม่สามารถ ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้ดีพอ แต่ผู้นำ เราดูเหมือนไม่สะทกสะท้านอันใดเลย ... เห้ออออออ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น